จับคู่ทำธุรกิจต่างวัย สไตล์หลานม่า ทำแบบครอบครัว ปังทั้งครัวเรือน 

จับคู่ทำธุรกิจต่างวัยสไตล์หลานม่า ทำแบบครอบครัว ปังทั้งครัวเรือน 
จับคู่ทำธุรกิจต่างวัยสไตล์หลานม่า ทำแบบครอบครัว ปังทั้งครัวเรือน 

จับคู่ทำธุรกิจต่างวัย สไตล์หลานม่า ทำแบบครอบครัว ปังทั้งครัวเรือน    

กำลังเป็นกระแสมาแรงสำหรับภาพยนตร์ “หลานม่า” ที่เข้าฉายเมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมานี้ ไม่ว่าใครที่เข้าไปดู ก็จะต้องเดินออกมาพร้อมกับน้ำตากันถ้วนหน้า เพราะเป็นเรื่องราวของสิ่งที่มีค่าที่สุดที่เรียกว่า ครอบครัว 

และวันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะมามัดรวมธุรกิจต่างวัย แต่มีหัวใจที่ตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่ยายหลาน แม่ลูก พ่อลูก ต่างร่วมกันทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังส่งต่อเรื่องราวของความอบอุ่นในครอบครัวเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คน จะมีใครบ้าง ไปดูกัน

เริ่มกันที่ คุณไบรท์-พิชญุตม์ กุศลสิทธิรัตน์ และ อาม่า-รัตนา อภิเดชากุล เจ้าของข้าวกล่องอาม่า

อาม่า-รัตนา อภิเดชากุล และ คุณไบรท์-พิชญุตม์ กุศลสิทธิรัตน์

“ข้าวกล่องอาม่า” ธุรกิจต่างวัยของหลานกับอาม่า ที่ทั้งคู่ช่วยกันคิดช่วยกันทำ โดยมีหลานชายเป็นผู้ดูแลภาพรวมของธุรกิจทั้งหมดให้เติบโต ส่วนอาม่าเป็นเชฟฝีมือเยี่ยมรับหน้าที่ปรุงอาหาร และครีเอตเมนูใหม่ๆ ไม่ว่ากระแสไหนมาอาม่าทำได้หมด

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติม คลิก

ตามด้วย คุณนัท-พัชริดา มะลา เจ้าของยายทำให้หลานขาย

“ยายทำให้หลานขาย” ร้านขนมไทย ที่อัดแน่นไปด้วยขนมหวานไทย จากฝีมือคุณยาย กว่า 40 เมนู หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปแต่ละวัน วันละ 20 เมนู ได้หลานคนเก่ง คนรุ่นใหม่มาช่วยทำการตลาด ทุกวันนี้ขายดิบขายดี หากขายหมดแผงจะสร้างรายได้ วันละ 20,000-30,000 บาท โดยประมาณ

จุดเริ่มต้นของร้านนี้มาจาก คุณนัท-พัชริดา มะลา วัย 28 ปี ก่อนหน้านี้ เธอและแฟน (คุณอนงค์นาฎ สุหาลา หรือ ปู) เคยทำงานประจำ แถมรับงานฟรีแลนซ์เป็นตากล้อง และคอนเทนต์ครีเอทีฟ แต่เมื่อโควิดมา ทั้งคู่จึงไม่มีงาน ประจวบเหมาะ คุณยายซึ่งยึดอาชีพขายขนมไทยมานานกว่า 50 ปี อยากมีรูปขนมสวยๆ ไว้ดู จึงวานให้เธอและแฟนช่วยถ่ายรูปให้

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติม คลิก

 ไปกันต่อ คุณท็อป-กิตติศักดิ์ ไกรบำรุง เจ้าของกิจการ กุยช่ายสะพานหัน

คุณท็อป-กิตติศักดิ์ ไกรบำรุง

“เริ่มต้นจากรถเข็นคันเล็กๆ ขายน้ำลำไย เหล่าม่า เข็นขายกับอาม่าไปขายแถวสะพานหัน-สำเพ็ง ส่วนขนมกุยช่ายมาเสริมทีหลัง ทำแค่ไส้เดียว แต่ลูกค้าชอบ อยากกินไส้อื่น เลยทำ หน่อไม่ มันแกว มาเสริม” คุณท็อป เล่าอดีต

คุณท็อป เล่าคร่าวๆ มาทำกุยช่ายตั้งแต่เรียนปี 2 ปั้นเอง ขายเอง ครอบครัวก็สนับสนุน ที่ไม่รอให้เรียนจบค่อยเริ่มทำจะโตช้าไป เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ ถ้าทำโดยไม่มีความรู้ โอกาสเจ๊งสูงเลยลองทำเล็กๆ ดูก่อน

“กว่าผมจะได้สูตรทำกุยช่าย ทะเลาะกับอาม่าไม่รู้กี่รอบ และพอจะทำจริงๆ ท่านบอกว่าอย่ามาทำเลยมันลำบาก ไม่อยากให้ทำ อยากให้ไปทำงานบริษัทมากกว่า แต่ผมมั่นใจว่าไปได้ เลยไปเช่าที่ในตลาดก่อนเลย เป็นล็อกเล็กๆ 2×2 เมตร ทำป้ายร้าน แต่ยังไม่บอกอาม่านะ ทำสัญญาเรียบร้อย ค่อยไปบอก เป็นกุยช่ายสะพานหันสาขาสอง มัดมือชก สูตรต้องให้เรา” คุณท็อป เล่าก่อนหัวเราะอารมณ์ดี

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติม คลิก

และ 3 Co-Founder ผู้ก่อตั้งน้ำญาใจ ตัวคุณนก ลูกสาว และคุณแม่  

3 Co-Founder ผู้ก่อตั้งน้ำญาใจ ตัวคุณนก ลูกสาว และคุณแม่

ถ้าใครสักคนในบ้านของเราเจ็บป่วย ความกระวนกระวายใจเป็นสิ่งที่ทรมานเกินกว่าจะรับไหว เช่นเดียวกับ คุณนก-ผศ.ณิชยา ศรีสุชาติ CEO และ Co-Founder น้ำญาใจ ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกสำหรับครอบครัว เห็นถึงความทุกข์ทรมานของแม่ที่มือลอกจากการแพ้สารเคมีในน้ำยาล้างจาน

นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวการให้ แบ่งปัน บอกต่อ และกลับมาเป็นธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมให้กับโลกใบนี้

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติม คลิก

และนี่คือธุรกิจต่างวัย แต่มีหัวใจที่ตรงกัน เรื่องราวของเขาเหล่านี้ต่างผลักดัน ส่งเสริม และเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลายๆ คน เพราะไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ครอบครัว คือสถานที่ที่มีความสุข และอบอุ่นเสมอ