เผยแพร่ |
---|
วันนี้ (7 ก.ค.) นาวาเอก อนันต์ สุราวรรณ์ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ เป็นหัวหน้าทีมซีลในปฎิบัติการช่วยเหลือ กล่าวเปิดใจเล่าเรื่องปฎิบัติการช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มจนจบปฎิบัติการ โดยระบุว่า
“พวกเราเป็นชาวทะเล เมื่อฟังบรรยายสรุป ก็คือว่าถ้ำน่าจะมีแสงสว่างบ้าง ภารกิจไม่น่ายาก แต่ก้าวแรกที่ก้าวไปในถ้ำก็รู้เลยว่าไม่ใช่งานง่าย ในถ้ำมืดสนิท เส้นทางจากปากถ้ำถึง 3 แยก ประมาณ 3 กิโลเมตร ต้องปืนโขดหิน วันแรกไปถึง 05.30 น. พยายามตามรอยเด็กเข้าไป โดยตลอดเส้นทางแคบๆ ผนังถ้ำเป็นโคลนหนา แสดงให้เห็นว่า ที่นี่เคยมีน้ำท่วมสูง เราทำงานตั้งแต่ ตีห้า จนถึงเย็น”
เล่าต่อว่า “ต่อมาประมาณ 16.30 น. จึงรีบถอนตัว เพราะน้ำสูงขึ้น จึงเสนอแนะผู้ว่าฯว่าหากจะทำงานได้ต้องสูบน้ำ ต่อมามีการระดมกำลังจำนวนมากในการสูบ แต่ทีมช่วยก็รอไม่ได้ เพราะน้ำลดช้า ทีมช่วยจึงวางเส้นนำไปเรื่อยๆ จนถึงโถง3 และ สามแยก โดยนักดำน้ำประเทศอังกฤษ ก็ดำไปจนพบเด็ก ไป-กลับโถงสาม ใช้เวลา 5 ชั่วโมงครึ่ง หน่วยซีลจึงเตรียมเสบียง ขนม แผ่นฟอยล์ที่ทำร่างกายอบอุ่น และส่งทีมซีลไปใหม่ โดยการทำงานทุกคนดูตามเวลา เพราะไม่มีแสง เช้าต่อมาจึงส่งซีลที่เก่งที่สุดไป ตามด้วยอีกทีมที่มีหมอภาคย์ ตามไปด้วย แต่ก็ต้องกังวล เพราะขาดการติดต่อทั้งสองทีมถึง 23 ชม. หน่วยซีล 3 คนจึงกลับมาที่ โถง 3 เพื่อมารายงานข่าว เพราะคนอื่นอากาศหมด”
ระบว่า “ทั้งนี้การดำน้ำในภารกิจนี้ยากมาก มีความเสี่ยงสูง จากความเสี่ยงต่างๆทั้งความมืด การไม่มีประสบการณ์แบบนี้มาก่อน อากาศที่เหลือน้อย และความกังวลเรื่องระดับน้ำที่อาจจะเพิ่มขึ้นมา โดยไม่รู้จะเพิ่มมาอีกเมื่อไหร่ แต่ก็ไม่สามารถทิ้ง 13 ชีวิตได้ โดย 3 คนที่กลับมาก็ต้องเข้า รพ.ทั้งหมดเพราะสภาพร่างกายแย่มาก ยิ่งรับรู้ว่า แผนอื่นๆไม่น่าจะช่วยเด็กได้ ทีมดำน้ำก็ยิ่งเครียด และทุกครั้งที่ส่งทีมซีลเข้าไป กว่าจะกลับมาให้รู้ว่ายังมีชีวิตอยู่นานมาก นี่คือความเครียด กระทั่งเกิดเหตุ จ่าแซม ที่ออกไปร่วมกับทีมจากต่างชาติ เพื่อไปวางขวดอากาศ ซึ่งทีมนักดำน้ำต่างชาติ ใช้เวลากลับมา 3 ชม. ทางเราคาดว่าจ่าแซมกับเพื่อนน่าจะกลับมา แต่ 6 ชม.ผ่านไปแล้ว ทีมจ่าแซมก็ยังไม่กลับ ตอนแรกคิดว่าลูกน้องเราน่าจะเหนื่อยและพัก กระทั่งคู่บัดดี้กลับมา แจ้งว่าจ่าแซมเสียชีวิต ยืนยันทุกคนยอมรับความเสี่ยง เรื่องการสูญเสียทุกคนเตรียมใจอยู่แล้ว ทั้งนี้ภารกิจนี้ ทำให้หน่วยได้เห็นวิธีการดำน้ำจากทีมงานระดับโลก เพื่อพัฒนาความสามารถในการรองรับภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
ที่มา มติชนออนไลน์