จีนฉลองวาเลนไทน์วันนี้ เทศกาลตำนานรักสองพันปี แต่เหล่าคนโสดขอบาย

This photo taken on August 25, 2017 shows a florist preparing a heart-shaped bouquet of roses ahead of China's Valentine's Day, at a flower market in Beijing. While Valentine's Day is on February 14 in other parts of the world, China celebrates its version during the Qixi Festival on August 28, which falls on the seventh day of the seventh month of the lunar calendar. / AFP PHOTO / GREG BAKER / TO GO WITH China-economy-culture,FOCUS

 เอเอฟพีรายงานว่า ชาวจีนเฉลิมฉลองเทศกาลชิซี หรือวันวาเลนไทน์จีน ตรงกับคืน 7 ค่ำ เดือน 7 ตามปฎิทินของจีน เป็นเทศกาลที่มีประวัติยาวนานกว่า 2,000 ปี ปีนี้ตรงกับวันที่ 28 ส.ค. ท่ามกลางแนวโน้มคนรุ่นใหม่ที่นิยมแต่งงานมีครอบครัวลดลง

ชนเผ่าเฉียงแต่งงานหมู่ในเทศกาลนี้ / (Xinhua/Li Dehua)

ตัวเลขคนโสดรุ่นใหม่ล่าสุดอยู่ที่กว่า 200 ล้านคน ส่วนใหญ่ต่อต้านความคาดหวังของตระกูล และวัฒนธรรมการออกไปตั้งรกรากของจีนจากประชากรทั้งหมด 1,400 ล้านคน

คนโสดเหล่านี้ถูกเรียกว่า “สุนัขโดดเดี่ยว” ส่งผลให้บรรดาธุรกิจห้างร้านต้องใช้ยุทธศาสตร์การตลาดแบบควบคู่กันระหว่างการตอบสนองความต้องการของทั้งคู่รักและบรรดากลุ่มคนไร้คู่

พ่อค้าเตรียมดอกไม้ไว้ขายวันที่ 28 ส.ค. / AFP PHOTO

กลุยุทธ์การตลาดหนึ่งที่เป็นที่นิยมสำหรับบุคคลที่เดินทางมารับประทานอาหารตามภัตตาคารเพียงลำพังในวันดังกล่าว คือ การนำตุ๊กตาหมีตัวยักษ์มานั่งไว้ฝั่งตรงข้ามเป็นเพื่อน เพื่อไม่ให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้รู้สึกเหงา หรือแปลกแยกไปจากสังคม

เมืองจี้หนาน มณฑลชานตง จัดเทศกาลจับคู่ ให้ทั้งผู้ปกครองและหนุ่มสาวมาตรวจรายชื่อคนโสด / Xinhua/Xu Suhui)

ไม่เว้นแม้แต่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดชื่อดังจากสหรัฐอย่าง เบอร์เกอร์ คิง ก็มีโปรโมชั่นเป็นอาหารราคาพิเศษสำหรับผู้ทีเดินทางมาซื้ออาหารเพียงลำพังด้วย ขณะที่ตามร้านดอกไม้นั้นมีโปรโมชั่นส่งช่อดอกไม้ให้ตัวเองด้วย

ปัญหาดังกล่าวสร้างความกังวลให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน เนื่องจากทำให้ประชากรหนุ่มสาวที่เป็นวัยทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากนโยบายลูกหนึ่งคนต่อหนึ่งครอบครัว ที่ต่อมาทางการจีนผ่อนผันให้มีบุตรได้ 2 คนต่อครอบครัว

สินค้าที่หวังโกยรายได้ในวันชิฉี / AFP PHOTO / GREG BAKER

ขณะที่สมาคมคนหนุ่มสาวจีนเริ่มจัดกิจกรรมนัดบอดให้กับหนุ่มสาวชาวจีนเพื่อส่งเสริมการมีคู่รักให้ชาติ

ด้านสำนักข่าวของทางการอย่างซินหัว รายงานนำเสนอเรื่องราวความรักน่าประทับใจของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง ฝ่ายชายชื่อ หลิว เฝยเฉิง อายุ 24 ปี เป็นโปรแกรมเมอร์อยู่ในเสินเจิ้น ภาคใต้ ส่วนฝ่ายหญิงชื่อ เหมา หยูซิน อยู่บริษัทพีอาร์ในกรุงปักกิ่ง ทางเหนือ ทั้งสองใช้ชีวิตอยู่ห่างกันถึง 2,000 ก.ม. กระทั่งถึงเทศกาลนี้จึงได้มาพบหน้ากัน

วิวาห์ใต้น้ำที่เมืองเยี่ยนไท่ มณฑลชานตง (Xinhua/Tang Ke)

การสานต่อความรักของทั้งสองจากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกันที่กวางโจวตั้งแต่ปี 2555 และหลังเรียนจบเมื่อปีก่อน ทั้งสองต่างก็ต้องหางานทำในต่างสถานที่กัน และพบกันแค่เดือนละครั้ง แต่ก็ยังมองให้แง่ดีว่า การอยู่ห่างไกลทำให้คิดถึง รักกันและเชื่อใจกันมากขึ้น ทั้งยังวางแผนว่า อีกสองปีจะไปอยู่เมืองเดียวกัน

โซเชียลมีเดียยังมีอิทธิพลช่วยเหลือในการสานสัมพันธ์คู่รักที่ต้องอยู่ไกลกันด้วย เช่นคู่ของหวัง หลิน ที่ประจำกองทัพอากาศในมณฑลกานซู ต้องห่างกับภรรยา ผัง หรัน ทำอาชีพล่ามในกรุงปักกิ่ง 1,500 ก.ม. ทั้งสองอาศัยโซเชียลวีแช็ตในการพูดคุยติดต่อกัน วันละ 2-3 ครั้ง และพบหน้ากันทุกๆ สองสัปดาห์

ภาพหนุ่มเลี้ยงวัวพาลูกสองคนมารอพบสาวทอผ้าที่นกกระเรียนเรียงตัวเป็นสะพานให้ ปรากฏในงานศิลปะ พระราชวังฤดูร้อน กรุงปักกิ่ง / wikipedia

สำหรับเทศกาลชิซีเป็นที่รู้จักผ่านตำนานเจ็ดนางฟ้า หรือตำนานรักหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้าที่ถูกทำให้พรากจากกัน มีเพียงวันเดียวในรอบปีที่เหล่านกกระเรียนจะมาเรียงตัวเป็นสะพานข้ามแม่น้ำให้คู่รักพบกัน เทศกาลนี้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น หรือราว 2,000 ปีมาแล้ว