เผยแพร่ |
---|
เปิด 3 กลยุทธ์ ขายของบน TikTok แค่ทิชชูธรรมดาๆ ให้มียอดขายกว่า 2 แสนบาทต่อเดือน
ตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 สืบเนื่องจากจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีมากขึ้นจาก 360 ล้านคนในปี 2019 และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 460 ล้านคนในปี 2022 จากจำนวนประชากรทั่วทั้งภูมิภาค 600 ล้านคน
ซึ่งผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ นอกจากการใช้งานเพื่อความบันเทิงแล้ว ยังมีการใช้งานอีคอมเมิร์ซถึงแม้ว่าจะมีการใช้จ่ายต่อครั้งเป็นจำนวนเงินไม่มาก โดยเฉลี่ยต่อครั้งอยู่ที่ 10-15 เหรียญสหรัฐฯ แต่ด้วยขนาดของผู้บริโภคที่มีจำนวนมาก ก็ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลในกลุ่มอีคอมเมิร์ซเป็นอย่างดี
และจะผลักดันให้คนกว่า 20 ล้านคนเข้าสู่การทำงานในธุรกิจอีคอมเมิร์ซการซื้อขายรายย่อยจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้ค้าจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะเพื่อส่งเสริมการขายในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น เรียนรู้การทำคอนเทนต์วิดีโอ การพูดคุยผ่านการไลฟ์ เพื่อให้ทันต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัล
นอกจากการเติบโตในระดับภูมิภาคแล้ว ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยก็นับว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่าตลาด 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2019 เติบโตขึ้นเป็น 21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2021 และ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2022 และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตรายปีแบบผสมเพิ่มมากขึ้น 13% เป็นมูลค่า 32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2025
โดย TikTok แพลตฟอร์มที่ควบรวมคอนเทนต์และคอมเมิร์ซเข้าไว้ด้วยกัน ยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเทรนด์ Shoppertainment ที่การตัดสินใจซื้อสินค้าได้รับอิทธิพลจากการรับชมคอนเทนต์ความบันเทิง
และอีกปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้ TikTok Shop เติบโตต่อเนื่อง คือความง่ายในการใช้งานที่เอื้อให้ผู้ค้าสามารถสร้างร้านค้าได้ด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และมีการให้คำแนะนำอย่างเป็นระบบ เมื่อเปิดร้านค้าอย่างเป็นทางการแล้วยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการขายให้กับร้านค้าตามเทรนด์การรับชมสื่อของผู้ใช้ โดยผู้ค้าสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับสินค้าและลักษณะธุรกิจของตัวเองได้
อย่างไรก็ตาม TikTok ได้ถอดรหัสความสำเร็จของธุรกิจที่เปิดหน้าร้านบน TikTok Shop ผ่านการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางสร้างความสำเร็จให้กับเหล่าผู้ค้าได้นำไปปรับใช้ ดังนี้
Dr.Pong กับความสำเร็จในการสร้างสรรค์วิดีโอสั้นบนแพลตฟอร์ม TikTok
Short video – Dr. Pong เป็นแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์การสื่อสารด้วยวิดีโอขนาดสั้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสร้างสรรค์วิดีโอสู่สาธารณะเป็นจำนวน 2-3 วิดีโอต่อวัน วิดีโอสั้นเป็นเครื่องมือที่สามารถส่งเสริมการเข้าถึงผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีเนื่องจาก Dr. Pong ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าที่มีผลิตภัณฑ์ด้านความงามที่หลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเป็นรายการสินค้าที่ต้องมีการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้
ปัจจุบันผู้ใช้นิยมดูวิดีโอขนาดสั้นมากกว่าการอ่านหรือการชมโฆษณาขนาดยาว จึงทำให้การสร้างวิดีโอขนาดสั้นได้รับความสนใจและสามารถสื่อสารข้อมูลได้รวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีรายละเอียดมาก
นอกจากการเล่าถึงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์โดยตรงแล้ว Dr. Pong ยังได้สร้างคอนเทนต์แนะนำการใช้งานผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์การเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ที่กำลังมีปัญหาและต้องการตัวช่วยได้เป็นอย่างดี
Oshi Inter Shop เปลี่ยนผู้เข้าชมให้กลายเป็นยอดขายจริงด้วย Live บน TikTok
Live – Oshi Inter Shop เป็นหนึ่งในร้านค้าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการใช้ไลฟ์ในการสร้างชุมชนธุรกิจของตัวเอง ปัจจุบัน Oshi Inter Shop เป็นร้านค้ากระดาษทิชชูที่มียอดขายกว่า 200,000 บาทต่อเดือน มีอัตราการกลับมาซื้อซ้ำของผู้ใช้สูงถึง 95.68%
โดยแบรนด์ได้ใช้กลวิธีการไลฟ์อย่างต่อเนื่อง มากกว่า 7,000 นาทีต่อเดือน เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้อย่างต่อเนื่องและสามารถแสดงสินค้าจริง การใช้งานจริง เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับหากมีการใช้จ่ายจริง เครื่องมือไลฟ์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ และสามารถนำไปสู่การสร้างชุมชนธุรกิจจนนำพาไปสู่การซื้อซ้ำของผู้ใช้ได้
Simplus เพิ่มการเข้าถึงพร้อมผลักดันยอดขายด้วย Creator Affiliate จาก TikTok
Creator Affiliate – Simplus เป็นหนึ่งในร้านค้าที่ประสบความสำเร็จในการใช้งานเครื่องมือ Creator Affiliate และสามารถสร้างเครือข่าย Affiliate ได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากคุณภาพสินค้า รูปลักษณ์ และความสะดวกของการใช้งานได้กระตุ้นให้ผู้ใช้อยากมีส่วนร่วมในการรีวิวหรือบอกต่อผ่านคอนเทนต์วิดีโอในการรีวิวสินค้าที่มีหลากหลายรายการ
พร้อมกับสร้างคอนเทนต์สร้างสรรค์จากผลิตภัณฑ์ของ Simplus เช่น เมนูอาหารอย่างง่ายด้วยกระทะไฟฟ้าใบเดียว จึงทำให้แบรนด์เข้าถึงผู้ใช้พร้อมกับกระตุ้นความคิดริเริ่มที่ทำให้อยากทดลองทำอาหาร หรือทำเมนูใหม่ๆ ตามคอนเทนต์ที่ได้รับชม
Simplus เป็นแบรนด์ที่เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ปัจจุบันว่าการดูรีวิวสินค้าไม่ใช่แค่การอ่านรีวิวหรือการโชว์รูปภาพเพียงหนึ่งภาพอีกต่อไป แต่เป็นการได้เห็นการใช้งานในรูปแบบคอนเทนต์วิดีโอทั้งจากผู้ใช้จริงและจากครีเอเตอร์มืออาชีพ เพื่อเป็นการพัฒนาเหล่าครีเอเตอร์และเครือข่าย Creator Affiliate ทาง Simplus ยังได้มีการสนับสนุนคอมมูนิตี้ของเหล่าครีเอเตอร์ด้วยการส่งเสริมการเทรนนิ่งเพื่อการสร้างสรรค์คอนเทนต์ในยุคปัจจุบันให้กับเหล่านักสร้างสรรค์อีกด้วย
ไม่ใช่แค่สร้างการรับรู้ถึงแบรนด์และทำให้เกิดยอดขายจริงเท่านั้น TikTok Shop สนับสนุนให้เกิดชุมชนธุรกิจที่เชื่อมโยงร้านค้าและหลอมรวมความแตกต่างหลากหลายเอาไว้บนแพลตฟอร์ม เช่น Warisshop ร้านขายเสื้อผ้า ชุดโด๊ป อาบาย่า และเสื้อผ้ามุสลิมในสไตล์ต่างๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันแห่งการเฉลิมฉลองสำคัญ เช่น วันฮารีรายอ Warisshop สามารถเชื่อมโยงสินค้าที่มีความต้องการเฉพาะส่งตรงสู่ชาวมุสลิมทั่วประเทศไทย พร้อมทั้งได้เห็นสินค้าจริงผ่านไลฟ์ และวิดีโอขนาดสั้นที่ Warisshop ได้สร้างสรรค์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากการพัฒนาแพลตฟอร์มและเปิดพื้นที่ให้ธุรกิจได้สร้างชุมชนการค้าของตัวเองแล้ว TikTok ได้ประกาศลงทุนมูลค่ากว่า 12.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยคาดว่าจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMB) ในการช่วยเหลือการฝึกอบรมเสริมทักษะเชิงดิจิทัลและเครดิตโฆษณาสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงธุรกิจรายย่อย (Micro) เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจออนไลน์และนำพาโอกาสทางธุรกิจดิจิทัลสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเท่าเทียม