กรุงศรี ประกาศผลกำไรสุทธิ ปี 2566 จำนวน 32.93 พันล้านบาท

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

กรุงศรี ประกาศผลกำไรสุทธิ ปี 2566 จำนวน 32.93 พันล้านบาท ได้รับแรงสนับสนุนจากธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศ และกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่แข็งแกร่ง

กรุงเทพฯ (18 มกราคม 2567) – กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผลประกอบการสำหรับปี 2566 มีกำไรสุทธิจำนวน 32.93 พันล้านบาท เติบโต 7.2% จากปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิของธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศ ผนวกกับการตั้งสำรองตามนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดระมัดระวังเพื่อความแข็งแกร่งของคุณภาพสินทรัพย์

เงินให้สินเชื่อรวมของธนาคารเติบโต 3.5% ในปี 2566 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจในประเทศ และสินเชื่อเพื่อรายย่อยโดยเฉพาะในส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศ โดยสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 11.3% สะท้อนการสนับสนุนความต้องการเงินทุนระยะยาวและเงินทุนหมุนเวียนของลูกค้า สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

สรุปผลประกอบการและฐานะการเงินที่สำคัญสำหรับปี 2566

  • กำไรสุทธิในปี 2566 จำนวน 32,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% หรือ 2,216 ล้านบาท จากปี 2565 โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิของพอร์ตสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศที่ควบรวมแล้วเสร็จในปี 2566
  • เงินให้สินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 3.5% หรือจำนวน 67,795 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจในประเทศ และสินเชื่อเพื่อรายย่อยโดยเฉพาะในส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศ หากไม่รวมธุรกิจในต่างประเทศที่เพิ่งควบรวม เงินให้สินเชื่อรวมเติบโต 16,611 ล้านบาท หรือ 9%
  • เงินรับฝาก เพิ่มขึ้น 9% หรือจำนวน 34,909 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากประจำ สุทธิกับการลดลงของเงินฝากออมทรัพย์
  • ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) เพิ่มขึ้นมาที่ 91% จาก 3.45% ในปี 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการควบรวมธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศ แม้ต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
  • รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 2% หรือ 6,920 ล้านบาท จากปี 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิโดยเฉพาะส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศ รายได้จากการดำเนินงานอื่น และหนี้สูญรับคืน
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ อยู่ที่ 5% เทียบกับ 43.8% ในปี 2565
  • อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่ 53% เทียบกับ 2.32% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 โดยการตั้งสำรองสำหรับบริษัทลูกในต่างประเทศ ตามนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดระมัดระวัง ส่งผลให้สัดส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 175 เบสิสพอยท์
  • อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 1%
  • อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคาร) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 24% เทียบกับ 17.97% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปี 2566 สภาวะเศรษฐกิจไทยโดยภาพรวมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเป็นการเติบโตที่ช้ากว่าคาดการณ์จากอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนแอและการฟื้นตัวในประเทศที่ไม่ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นในด้านการเงินที่มีความทั่วถึงทุกภาคส่วนและการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงสินเชื่อเพื่อรายย่อยโดยเฉพาะส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศที่เพิ่งควบรวมเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่ส่งผลให้กำไรสุทธิมีความแข็งแกร่งและเงินให้สินเชื่อรวมเติบโตได้ถึง 3.5% ในปีที่ผ่านมา”

“อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นถึง 3.4% ในปี 2567 แต่จากความท้าทายด้านสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้บริโภครายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง กรุงศรีจึงกำหนดพันธกิจสำหรับปีนี้ โดยเร่งดำเนินการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองได้ต่อไป และช่วยบรรเทาปัญหาหนี้เรื้อรังของประเทศอย่างจริงจัง ตอกย้ำหลักการธนาคารพาณิชย์ที่มีจุดยืนเพื่อความยั่งยืนของกรุงศรี รวมทั้งการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย”

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 กรุงศรี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ในระบบเศรษฐกิจไทยจากมูลค่าสินทรัพย์ สินเชื่อและเงินรับฝาก และเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) มีสินเชื่อรวม 2.02 ล้านล้านบาท เงินรับฝาก 1.84 ล้านล้านบาท และสินทรัพย์รวม 2.77 ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนของธนาคารอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 309.12 พันล้านบาท หรือเทียบเท่า 18.24% ของสินทรัพย์เสี่ยง โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของคิดเป็น 13.56%

 

เกี่ยวกับกรุงศรี

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) เป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของไทยด้านสินทรัพย์ สินเชื่อ และเงินฝาก และเป็น 1 ใน 6 สถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) โดยดำเนินธุรกิจมานานถึง 78 ปี กรุงศรีเป็นบริษัทในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก

กลุ่มกรุงศรีให้บริการทางการเงินการธนาคารอย่างครบวงจร ทั้งในด้านสินเชื่อเพื่อรายย่อย การลงทุน การบริหารจัดการกองทุน รวมทั้งผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอันหลากหลายแก่กลุ่มลูกค้าบุคคล ลูกค้า SMEs และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ผ่านสาขาของธนาคารกว่า 590 สาขา (เป็นสาขาที่ให้บริการทางการเงินในรูปแบบปกติ 550 สาขา และสาขาที่ให้บริการเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 40 สาขา) และช่องทางการขายกว่า 32,379 แห่งทั่วประเทศ

นอกจากนี้ กรุงศรียังเป็นผู้ออกบัตรเครดิตรายใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีจำนวนบัญชีบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อการผ่อนชำระ/สินเชื่อส่วนบุคคลมากกว่า 10.2 ล้านบัญชี และเป็นผู้ให้บริการด้านสินเชื่อรถยนต์ชั้นนำ (กรุงศรี ออโต้) พร้อมทั้งมีบริษัทบริหารจัดการกองทุนที่มีอัตราเติบโตสูงที่สุดแห่งหนึ่ง (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี จำกัด) ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้มีรายได้น้อย (บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)) อีกด้วย

กรุงศรีมีพันธสัญญาในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสูงสุด ธนาคารและบริษัทในเครือได้ผ่านการรับรองการเป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์ของ “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต” โดยมุ่งร่วมมือกับองค์กรชั้นนำในไทยและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคาร เพื่อให้การดำเนินธุรกิจปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่น

 

เกี่ยวกับมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG)

มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) เป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันทางการเงินชั้นนำระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานในการดำเนินธุรกิจกว่า 360 ปี MUFG มีเครือข่ายสำนักงานราว 2,400 แห่ง ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานกว่า 170,000 คน

MUFG นำเสนอบริการทางการเงินที่หลากหลายครอบคลุมทั้งธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ทรัสต์แบงกิ้ง ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อย ธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธุรกิจเช่าซื้อ

MUFG มีเป้าหมายที่จะเป็น “กลุ่มสถาบันทางการเงินที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดในโลก” ด้วยการผสานศักยภาพในการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองทุกความต้องการทางการเงินของลูกค้าโดยคำนึงถึงสังคมและการแบ่งปันสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืน MUFG จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ตลาดหลักทรัพย์นาโกยา และตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MUFG กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ https://www.mufg.jp/english