เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ : ร้านค้าท้องถิ่นที่ถูกหลงลืม หวังดิจิทัลวอลเล็ต เพิ่มทางรอดให้คนรากหญ้า

เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ : ร้านค้าท้องถิ่นที่ถูกหลงลืม หวังดิจิทัลวอลเล็ต เพิ่มทางรอดให้คนรากหญ้า
เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ : ร้านค้าท้องถิ่นที่ถูกหลงลืม หวังดิจิทัลวอลเล็ต เพิ่มทางรอดให้คนรากหญ้า

เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ : ร้านค้าท้องถิ่นที่ถูกหลงลืม หวังดิจิทัลวอลเล็ต เพิ่มทางรอดให้คนรากหญ้า

“อยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมาตรการกระตุ้นค่าใช้จ่าย หรือดิจิทัลวอลเล็ต อะไรต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น อยากให้สนับสนุนพวกรากหญ้าด้วย”

ทุกๆ ปี เรามักจะเห็นงานหรือเทศกาลต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานประจำปี งานประจำจังหวัด งานกาชาด หรืออะไรต่างๆ ซึ่งภายในงานก็มักจะมีร้านค้าจากหลายแห่งมาเปิดบูธขายของ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นร้านค้าที่พอมีชื่อเสียงจากโลกโซเชียล 

หากเรามองอีกมุม การที่นำร้านค้าเหล่านี้มาเพื่อช่วยโปรโมตงานก็เป็นส่วนดีที่จะดึงดูดผู้คนให้มางานมากขึ้น แต่เมื่อมองอีกมุม ร้านค้าที่เป็นร้านค้าท้องถิ่น กลับถูกลืมเลือน เงียบเหงา ซึ่งประเด็นมุมมองนี้ เป็นเสียงสะท้อนมาจากร้านปังก้อนทอง ร้านขนมปังปิ้งที่เริ่มต้นจากเงินหลักพัน ที่เรียนรู้ต่อยอดขายแฟรนไชส์จนสามารถสร้างรายได้หลักล้านต่อเดือน 

เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณกอล์ฟ-กิตติ์กวิน บุญเชย เจ้าของแบรนด์ปังก้อนทอง ที่ถือว่าเป็นอีกแบรนด์ของคนไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก วันนี้เราได้ถามถึงประเด็นเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการ โดยคุณกอล์ฟเอง ถึงแม้ธุรกิจจะเติบโตก้าวหน้า แต่เขาไม่เคยลืมร้านค้าท้องถิ่น หรือคนที่เป็นชาวรากหญ้า 

คุณกอล์ฟได้สะท้อนผ่านเราออกมาดังนี้

ร้านค้าท้องถิ่นที่ถูกหลงลืม 

“ตอนนี้อยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือว่าหน่วยงานทางสังคม ให้ความสำคัญกับร้านค้าท้องถิ่น เพราะว่าตอนนี้จะมีงานแฟร์ งานประจำปี หรืองานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัด โดยส่วนใหญ่แล้วทางจังหวัดจะบอกว่า เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัด แต่ทางจังหวัดอาจจะลืมมองไปว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้หมายความว่า เขาเอาร้านจากข้างนอกเข้ามาขายในจังหวัด คนในจังหวัดก็ดึงเงินให้กับร้านพวกนี้ออกไป กลายเป็นว่าร้านในท้องถิ่น ยอดขายไม่ได้ดี”

อย่างงานต่างๆ ที่ผ่านมา ก็จะมีการเชิญร้านเด่นร้านดังจากที่อื่นๆ ซึ่งไม่ได้เป็นร้านค้าหรือสินค้าของชาวจังหวัดอย่างแท้จริงสักเท่าไหร่ แล้วมีการโปรโมตเชิญชวนให้ประชาชนได้รับรู้ว่า งานนี้มีร้านดังๆ มาอย่างล้นหลาม จนทำให้ร้านค้าที่เป็นสินค้าชุมชน ถูกลืมเลือน และเงียบเหงา ในส่วนของรายได้ก็ไม่ได้ดีเท่าที่ควร 

เสียงสะท้อนนี้ บ่งบอกว่าร้านค้าที่เป็นร้านท้องถิ่น อาจจะถูกลืมเลือนไป โดยอยากให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่มคนเหล่านี้บ้าง อย่างน้อยก็อาจจะช่วยสร้างรายได้ให้กับพวกเขาได้ดีกว่าเดิม

ขอเพียงสนับสนุนชาวรากหญ้าอย่างแท้จริง

“อยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุน OTOP ร้านของดีประจำจังหวัด หรือว่าร้าน Local ประจำจังหวัด ให้ดีมากขึ้น มีมาตรการกระตุ้นเรื่องของเงินสนับสนุน ค่าใช้จ่าย หรือดิจิทัลวอลเล็ต อะไรต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น อยากให้สนับสนุนพวกรากหญ้าด้วย”  

คำกล่าวทิ้งท้ายของเขา ทำให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาช่วยเหลือชาวรากหญ้าที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง เพื่อทำให้พวกเขาลืมตาอ้าปากได้ หรือแม้แต่เงินสนับสนุนต่างๆ อย่าง เงินดิจิทัลวอลเล็ต เขามีความคิดว่าอยากจะให้เล็งเห็นและแก้ไขปัญหาให้ร้านค้าท้องถิ่นอยู่รอดได้ในยุคนี้