3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์

3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์
3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์

3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์

วันที่ 7 กันยายน ในงาน Upskill Thailand 2023 “จักรวาลสร้างอาชีพ” ที่รวม 4 ปรากฏการณ์สุดยิ่งใหญ่ ครบทุกมิติของการสร้างอาชีพ จัดโดย เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ในเครือมติชน 

ภายในงานมีเวทีเสวนาติดปีกความรู้ อัปสกิลทักษะผู้ประกอบการ ในหัวข้อ UPSKILL | รีวิวยังไงให้ถูกใจชาวเน็ต เผยเคล็ดลับแบบฉบับนักรีวิว “พรุ่งนี้ค่อยลด” บาย กันย์ โดย กันย์-ศุภยศ ปุกหุต บล็อกเกอร์รีวิวอาหารที่มีผู้ติดตามเพจเฟซบุ๊กกว่า 3.9 แสนคน

ศุภยศ เล่าว่า เริ่มต้นสร้างเพจพรุ่งนี้ค่อยลด by กันย์ เมื่อปี 2561 จากผู้ติดตามศูนย์คนสู่ผู้ติดตาม 3.9 แสนคนในปัจจุบัน โดยใช้สไตล์การรีวิวที่เรียกว่า “Science Over Feeling” คือ การใช้วิทยาศาสตร์นำความรู้สึกในการรีวิวอาหาร

3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์
3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์

ยกตัวอย่างการรีวิวเมนูเบอร์เกอร์ แบบวิทยาศาสตร์ คือการอธิบายว่าแป้งเบอร์เกอร์มีความนุ่มแต่กรอบ เบคอนของร้านนี้เป็นสไตล์รีดน้ำมัน ซึ่งเป็นเทคนิคการทำของร้าน แล้วค่อยตบท้ายด้วยความรู้สึก เช่น กินแล้วอร่อย

อีกตัวอย่าง การรีวิวเมนูข้าวหมูแดงและหมูสามชั้นตุ๋น อาจจะขึ้นต้นด้วยความรู้สึกก่อน เช่น ดีมากๆ อร่อยมากๆ ราคา 200 บาทมีทอน แล้วใส่ความเป็นวิทยาศาสตร์เข้าไป คือทางร้านเอาหมูแดงไปซูวี หรือการเอาไปปรุงด้วยอุณหภูมิต่ำ ทำให้นุ่มโดยไม่เสียความชุ่มฉ่ำ หลังจากนั้นเอาไปรมควันให้มีกลิ่นหอมแล้วนำไปย่าง

“การรีวิวแบบไม่ใช้แค่ความรู้สึกส่วนตัว แต่เอาวิทยาศาสตร์เข้ามาควบคู่ด้วย ทำให้คนรับรู้ถึงสิ่งที่จะได้รับเวลากิน นอกจากคำว่าอร่อย มันมีอะไรอีกบ้าง” ศุภยศ กล่าวเสริม

3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์
3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์

ศุภยศ พูดถึงรูปแบบคอนเทนต์ในเพจของตัวเองว่า มี 3 เสาหลัก คือ Restaurant Review (Outside the Mainstream) หรือการรีวิวร้านอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้อยู่ในกระแสหลัก แต่มีคุณค่าบางอย่างที่สามารถนำเสนอได้

เสาที่สอง คือ Restaurant Review (Mainstream) การรีวิวร้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ มีโอกาสสูงมากที่คนจะค้นหาคอนเทนต์เจอ ซึ่งถ้าไม่เล่นกับกระแส ก็อยู่ไม่ได้ในโลกที่มีเป็นล้านๆ คอนเทนต์

สุดท้าย Educate Content การสร้างคอนเทนต์ให้ความรู้และให้คุณค่ากับผู้ติดตาม เพราะปัจจุบันหลายๆ แพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น TikTok Facebook หรือ YouTube พยายามให้คุณค่าและดันคอนเทนต์ในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น การให้ How-to ก็เรียกว่าเป็น Educate Content

3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์
3-3-3 ไม่ใช่สูตรปุ๋ย แต่คือกลยุทธ์ 3 ข้อ สร้างคอนเทนต์ไวรัล ฉบับ พรุ่งนี้ค่อนลด by กันย์

ศุภยศ กล่าวต่อถึงกลยุทธ์การทำคอนเทนต์ ด้วย “กฎ 3-3-3” ได้แก่ 3 Seconds เพราะคนมีเวลาแค่ 3 วินาทีเท่านั้นในโซเชียลมีเดีย ฉะนั้น ต้องทำให้ภาพน่าสนใจ 5 รูปแรกในการโพสต์จึงสำคัญมาก

3 Lines เฟซบุ๊กจะแสดงข้อความเพียงแค่ 3 พารากราฟ นอกจากรูปภาพน่ากินแล้ว 3 บรรทัดแรกต้องทำให้คนรู้สึกอยากอ่านต่อ เช่น การใช้คำว่า จองวันนี้ได้กินอีกทีปีหน้า

และ 3 Minutes จากผลการวิจัยของประเทศอังกฤษ หลังโควิดพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของคนทั่วโลกเปลี่ยนไป คนหันมาเสพติดคอนเทนต์สั้นในความยาว 1-3 นาที ถ้าเป็นไปได้ให้ทำคอนเทนต์ ให้คนอ่านจบและเข้าใจทุกอย่างได้ใน 3 นาทีแรก 

“ยูทูเบอร์เก่งๆ จะสร้างช่วงนาทีแรกให้เป็นไฮไลต์ ถ้าตรึงใจคนได้ คนจะเสพคอนเทนต์ต่อจนจบ แต่ถ้าไม่ทำให้รู้สึกว่า 3 นาทีแรกมีค่า คนจะกดออกจากแพลตฟอร์มทันที”

ทั้งหมดนี้ เป็นคำแนะนำและกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ของ กันย์-ศุภยศ ปุกหุต เจ้าของเพจพรุ่งนี้ค่อยลด by กันย์ บนเวทีเสวนา หัวข้อ UPSKILL | รีวิวยังไงให้ถูกใจชาวเน็ต เผยเคล็ดลับแบบฉบับนักรีวิว “พรุ่งนี้ค่อยลด” บาย กันย์

สามารถติดตามกิจกรรม และเวทีเสวนาที่น่าสนใจ จัดเต็มอัดแน่นความรู้แบบไม่มีกั๊กใน งาน Upskill Thailand 2023 “จักรวาลสร้างอาชีพ” ได้จนถึงวันที่ 9 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ที่ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์

เข้าฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย เดินทางสะดวกด้วยรถโดยสารสาธารณะ และรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน ทางออกที่ 2