ผู้ประกอบการรู้ไว้! 5 กลยุทธ์ ปรับตัวรับมือ New Normal สู่ เจ้าตลาด อีคอมเมิร์ซ

5 กลยุทธ์ ปรับตัวรับมือ New Normal สู่ เจ้าตลาด อีคอมเมิร์ซ
5 กลยุทธ์ ปรับตัวรับมือ New Normal สู่ เจ้าตลาด อีคอมเมิร์ซ

ผู้ประกอบการรู้ไว้! 5 กลยุทธ์ ปรับตัวรับมือ New Normal สู่การเป็น เจ้าตลาด อีคอมเมิร์ซ

เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เผยข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ค้าปลีก เร่งดำเนินการวางแผน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อหาวิธีรักษาธุรกิจในยุค New Normal โดยธุรกิจค้าปลีกของไทย มีแนวโน้มการปรับตัวเพื่อจูงใจหรือรักษาฐานลูกค้ากลับมา ดังนี้

1. การปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

มาตรฐานด้านสุขอนามัยและความสะอาด กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของลูกค้าในยุคนิว นอร์มอลแบบนี้ ซึ่งปัจจัยนี้เอง ทำให้ปริมาณขยะพลาสติกจากการสั่งสินค้าเพิ่มขึ้นกว่า 6,300 ตันต่อวัน โดยเฉพาะร้านค้าในแพลตฟอร์ม Food Delivery ต่างๆ ที่นอกจากต้องหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคแล้ว บางรายอาจลดการใช้พลาสติกโดยออกแบบให้บรรจุภัณฑ์นั้นๆ สามารถรีไซเคิลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

2. ธุรกิจเร่งการใช้การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) และการขายผ่านทาง Social Media

เพื่อจำกัดการแพร่เชื้อของโควิดและชดเชยยอดขายที่หายไปจากการบังคับปิดร้านค้า ผู้ค้าปลีกส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนช่องทางการขายจากออฟไลน์เป็นออนไลน์ และนำแนวทางการตลาดดิจิทัลใหม่ๆ มาใช้ เช่น การใช้ประโยชน์จากการ Live Streaming แพลตฟอร์ม Social Media และกลุ่มแชตส่วนตัว ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมและสนใจในผลิตภัณฑ์และบริการของตน

อีกทั้งยังได้สร้างประสบการณ์ใหม่ในการซื้อสินค้าให้กับผู้บริโภค โดยสินค้าในหมวดสุขภาพและความงามเป็นหมวดสินค้ายอดนิยมที่ขายผ่าน Live Streaming ในแพลตฟอร์ม E-Commerce และ Social Media มากที่สุด ในประเทศไทย
3. ผู้ประกอบการเร่งการนำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพิ่มขึ้น
โควิด-19 กลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ตลาดค้าปลีก เกิดการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวโดยการรับเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาปรับใช้ เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
ซึ่งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะต่างๆ มาใช้นั้น จะแพร่หลายมากขึ้นในหมู่ผู้ค้าปลีกแม้ผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปแล้ว เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีและใหม่ให้แก่ผู้บริโภค นอกเหนือจากการยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภคแล้ว ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกยังใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ปกป้องสุขภาพและสร้างความปลอดภัยให้กับลูกค้าและพนักงานอีกด้วย
4. ทำความร่วมมือกับ Fulfillment Partners เพื่อเพิ่มตัวเลือกการจัดส่ง E-Commerce

หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าออนไลน์ต่อไป เพราะฉะนั้น ผู้ค้าปลีกควรปรับกลยุทธ์โดยการทำความร่วมมือกับ Fulfillment Partners เพื่อเพิ่มตัวเลือกการจัดส่ง E-Commerce พร้อมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่า ข้อเสนอการจัดส่งของพวกเขาครอบคลุมและยืดหยุ่นเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค และรับมือกับความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นได้

5. ให้การสนับสนุนลูกค้ากลุ่มเปราะบาง

 

ในช่วงเวลาที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกเหนือจากการทำงานอย่างไม่ลดละเพื่อนำสินค้าออกจำหน่ายในตลาด และสร้างความเชื่อมั่นไม่ให้ลูกค้าตื่นตระหนกแล้ว ร้านค้าปลีกบางแห่งยังใช้มาตรการพิเศษเพื่อสนับสนุนและดูแลกลุ่มลูกค้าที่มีความเปราะบาง
เช่น Pomelo แบรนด์แฟชั่นออนไลน์ของไทยได้เปิดตัว Pomelo Cares ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มเพื่อสนับสนุนองค์กรการกุศลและองค์กรชั้นนำในการบรรเทาทุกข์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสิงคโปร์ ไทย และอินโดนีเซีย ตลอดจนให้ความรู้และสนับสนุนให้ผู้คนเว้นระยะห่างทางสังคม อีกทั้งยังให้คำมั่นว่าจะบริจาคหน้ากากอนามัยกว่า 40,000 ชิ้น ให้กับสภากาชาดประเทศไทย พร้อมทั้งนำผลกำไรทั้งหมดจากผลิตภัณฑ์หน้ากากผ้าต้านเชื้อแบคทีเรียให้กับองค์กรด้านสุขภาพที่เป็นพันธมิตร