กัญชา 6 ต้น เห็นผลสิ้นปีช้าไป อนุทิน ลั่น สำเร็จใน 3 เดือน เตรียมพร้อมเปิดประเทศ

กัญชา 6 ต้น เห็นผลสิ้นปีช้าไป อนุทิน ลั่น สำเร็จใน 3 เดือน เตรียมพร้อมเปิดประเทศ
กัญชา 6 ต้น เห็นผลสิ้นปีช้าไป อนุทิน ลั่น สำเร็จใน 3 เดือน เตรียมพร้อมเปิดประเทศ

กัญชา 6 ต้น เห็นผลสิ้นปีช้าไป อนุทิน ลั่น สำเร็จใน 3 เดือน เตรียมพร้อมเปิดประเทศ

สืบเนื่องการริเริ่มนโยบายกัญชา 6 ต้น ได้สร้างความหวังให้แก่ประชาชนทั้งในการใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและสร้างรายได้สู่ครัวเรือน ถึงแม้ส่วนของใบ กิ่งก้าน ลำต้น ราก ของกัญชา จะถูกปลดจากรายการยาเสพติดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 แต่ในความเป็นจริงต้องยอมรับว่า นโยบายกัญชา 6 ต้นที่ผ่านมา ยังไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างกว้างขวาง มีเพียงแค่พื้นที่ภาคอีสานเท่านั้นที่มีประชาชนได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชา 6 ต้นที่บ้าน

ความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว ล่าสุด ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ครั้งที่ 8 เมื่อเร็วๆ นี้ เปิดเผยว่า ทาง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ได้เห็นควรให้ผลักดันนโยบายกัญชา 6 ต้น ให้ชัดเจนภายใน 3 เดือน เพื่อเตรียมผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับกัญชาสำหรับการบริการแก่นักท่องเที่ยว ขานรับนโยบายเปิดประเทศ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ลงพื้นที่

โดยจากการพิจารณาร่วมกันของคณะกรรมการ พบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาความล่าช้า ได้แก่ งบประมาณ กระบวนการขออนุญาต และความร่วมมือของภาครัฐกับเอกชน ซึ่งนับว่าเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อน เนื่องจากที่ผ่านมานำความต้องการทางการแพทย์เป็นตัวตั้ง โดยดูว่าประเทศต้องใช้ยากัญชาเท่าไร แล้วถึงย้อนกลับไปพิจารณาว่าต้องให้เกษตรกรปลูกกัญชาเท่าไร แต่จากนี้ไปต้องตั้งต้นจากบริบทของภาพรวมด้านสุขภาพทั้งหมด ซึ่งหมายรวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ที่กฎหมายอนุญาต ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร แล้วจึงย้อนกลับมาพิจารณาว่าต้องให้เกษตรกรปลูกกัญชาเท่าไร

อีกทั้งภาครัฐ ยังต้องปรับบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก และให้เอกชนกับเกษตรกรมาร่วมทำหน้าที่ขับเคลื่อนในเรื่องนี้ เพื่อให้การซื้อ-ขายผลผลิตกัญชาระหว่างเอกชนกับเกษตรกรสามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยังได้รับความร่วมมือจากองค์การยาสูบแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ที่จะมาทำหน้าที่เป็นผู้แทนเชื่อมระหว่างต้นทาง คือ เกษตรกร และปลายทาง คือ ผู้บริโภค

“ขอย้ำว่า กระทรวงสาธารณสุข ยังให้ความสำคัญกับนโยบายกัญชาเช่นเดิม และจะลดข้อจำกัดในการดำเนินงานเพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงกัญชาได้มากขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้สถาบันกัญชาทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานโครงการนี้ เพื่อให้การขออนุญาตปลูกกัญชาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ กล่าว