ปั้นรายได้หลัก 100 ล้าน “น้ำพริกปลาสลิดนางงาม” ของณวัฒน์ ด้วยพลังรักแห่งแฟนนางงาม

ปั้นรายได้หลัก 100 ล้าน “น้ำพริกปลาสลิดนางงาม” ของณวัฒน์ ด้วยพลังรักแห่งแฟนนางงาม
ปั้นรายได้หลัก 100 ล้าน “น้ำพริกปลาสลิดนางงาม” ของณวัฒน์ ด้วยพลังรักแห่งแฟนนางงาม

ปั้นรายได้หลัก 100 ล้าน “น้ำพริกปลาสลิดนางงาม” ของณวัฒน์ ด้วยพลังรักแห่งแฟนนางงาม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MGI ที่ ณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นผู้ก่อตั้ง กำลังเป็นที่สนใจทั้งในแง่ของการจัดประกวดนางงาม และตัวเลขรายได้ปี 2566 ที่สามารถสร้างรายได้รวม 617 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการขาย “น้ำพริกปลาสลิด ตรานางงาม” หลัก 100 ล้านบาท 

น้ำพริกปลาสลิด ตรานางงาม มีจุดเด่นเรื่องรสชาติการคัดสรรปลา โดยเลือกใช้ปลาสลิดที่หลายคนรู้ว่ามีราคาสูง แต่ด้วยความตั้งใจของณวัฒน์ จึงสามารถนำมาทำเป็นน้ำพริกปลาสลิด ตรานางงามได้สำเร็จ โดยร่วมพัฒนาสูตรกับ “ป้าติ๋ว น้ำพริกรามอินทรา” และได้การรับรองมาตรฐาน อย. 

การตลาดที่นำมาสู่การสร้างยอดขาย 

การขายน้ำพริกปลาสลิด ตรานางงาม ที่โดดเด่นมากๆ คือการไลฟ์ขายสินค้าโดยบรรดาสาวๆ มิสแกรนด์ที่เริ่มไลฟ์ขายสินค้าผ่าน TikTok ตั้งแต่ยังเป็นผู้เข้าประกวดตัวแทนจังหวัดเพื่อสะสมยอดขายนำไปแลกตั๋วเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของมิสแกรนด์  

และเมื่อประกวดเสร็จ นางงามก็ยังสามารถไลฟ์ขายสินค้า อย่างที่เราได้เห็น อิงฟ้า วราหะ, ชาล็อต ออสติน, อุ้ม-ทวีพร พริ้งจำรัส, มีนา ริณา, เทีย ทวีพาณิชย์พันธุ์ หรือ ลูเซียนา ฟัสเตอร์ มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล 2023 และยังมีนางงามอีกหลายคนที่ไม่ได้เอ่ยถึงไลฟ์ขายสินค้าในเครือ MGI เช่นกัน  

โดยอิงฟ้าได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นทำไมนางงามต้องขายของว่า ปัจจุบัน MGI มีความก้าวหน้ามากขึ้น คนที่จะเข้ามาอยู่ในองค์กรจึงต้องสามารถทำได้ทุกอย่าง และการขายของทำให้นางงามมีรายได้จากค่าคอมมิชชัน ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดเส้นทางชีวิตของตัวเองได้ 

ซึ่งสาวๆ มิสแกรนด์ล้วนมีฐานแฟนคลับหรือแฟนด้อมเหนียวแน่น เมื่อมีการไลฟ์ขายสินค้า การจัดงานหรือจัดกิจกรรมต่างๆ เหล่าแฟนคลับก็พร้อมซัพพอร์ตอยู่เสมอ ทั้งการอุดหนุนสินค้า รวมถึงตามไปให้กำลังใจ จนได้เห็นพาดหัวข่าวห้างแตก หรือ #อิงฟ้ามหาชน #อิงล็อต ที่ติดอันดับแฮชแท็กยอดนิยมไทยปี 2023 บน X (ทวิตเตอร์) 

โดยคำว่า แฟนด้อม (Fandom) มาจากคำว่า Fanclub และ Kingdom หมายถึงอาณาจักรหรือกลุ่มของผู้มีความรู้สึกรัก ชื่นชอบ หลงใหล คลั่งไคล้ จงรักภักดีและพร้อมสนับสนุนศิลปินที่ชื่นชอบ

ซึ่งกลุ่ม Gen Z ถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มแฟนด้อม มีกำลังซื้อค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ อีกทั้งยังเป็น Brand Advocacy หรือ กระบอกเสียงในการบอกต่อสินค้า ช่วยโปรโมตสินค้าในช่องทางต่างๆ หากศิลปินหรือนางงามคนโปรดทำธุรกิจ ขายสินค้าให้กับองค์กร เป็นพรีเซนเตอร์ หรือแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้แบรนด์ต่างๆ ได้

“Fandom Marketing” จึงเป็นกลยุทธ์ที่แบรนด์ บริษัท หรือองค์กรต่างๆ นำมาใช้ เช่นเดียวกับ MGI ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่การสร้างฐานแฟนด้อมสู่การสร้างยอดขายสินค้าในเครือ 

อ้างอิงข้อมูล 

https://www.facebook.com/longtunman/posts/pfbid02y9JLugtvv3XheTQ8RYSCZxAm8brRMZ3ee4xRkSDRgQe7o1sFgyRoQofendHpLaLSl 

https://www.youtube.com/watch?v=iWP0Ox96Oag 

https://www.daradaily.com/news/135772/read

https://www.brandbuffet.in.th/2022/01/the-wall-2021-fandom-marketing/

https://talkatalka.com/blog/what-is-fandom-marketing/

https://talkatalka.com/blog/what-is-brand-advocacy/

https://www.youtube.com/watch?v=eFSs8Qn9uoM