ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เทรนด์มาแรงปี 67 ที่องค์กรใช้ดึงตัวคนหางาน

ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เทรนด์มาแรงปี 67 ที่องค์กรใช้ดึงตัวคนหางาน
ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เทรนด์มาแรงปี 67 ที่องค์กรใช้ดึงตัวคนหางาน

ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เทรนด์มาแรงปี 67 ที่องค์กรใช้ดึงตัวคนหางาน

การจัดทำดัชนีการทำงานแบบยืดหยุ่น (The Flexible Working Index) ล่าสุดโดย Flexa แพลตฟอร์มหางานระดับโลก ที่ทำการศึกษาการหางาน 2.7 ล้านตำแหน่งของคน 30,000 คนทั่วโลก เพื่อทำนายแนวโน้มด้านการทำงานสำหรับปี 2567 พบว่า 400% ของจำนวนงานที่เพิ่มในแพลตฟอร์มประกาศรับสมัครงาน เป็นตำแหน่งงานที่มีข้อเสนอการทำงานแบบ 4 วันต่อสัปดาห์, 9 วันต่อปักษ์, หรือแม้แต่ทำงานครึ่งวันในวันศุกร์ และ Flexa ยังคาดการณ์ว่า ปี 2567 เป็นปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับรูปแบบ Work From Anywhere (ทำงานที่ไหนก็ได้)

สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่นำร่องการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ มาตั้งแต่ปี 2565 และได้ผลลัพธ์ว่า รายได้และประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทเพิ่มขึ้น รายงาน The Flexible Working Index ยังเสริมด้วยว่า บริษัทที่เสนอวันหยุดสุดสัปดาห์ 3 วันสามารถสร้าง “ความไว้วางใจ และความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพนักงาน ทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะติดอยู่กับองค์กรในระยะยาว”

อย่างไรก็ตาม Flexa ได้เห็นการเติบโตของความนิยมการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ โดยถูกใช้เป็นคีย์เวิร์ดค้นหาเพิ่มขึ้น +68% นับตั้งแต่เปิดตัวตัวกรองนี้บนแพลตฟอร์มประกาศรับสมัครงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2566

รายงานระบุด้วยว่า แม้ว่าการทำงานจากระยะไกล (Remote Working) หรือทำงานจากบ้าน (Work From Home) ไม่ได้รับความนิยมในปี 2566 ที่ผ่านมา แต่การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid) จะยังคงเป็นรูปแบบที่นายจ้างและคนทำงานตกลงร่วมกัน

ทั้งนี้ รายงานจาก Fiverr ซึ่งเป็นตลาดงานออนไลน์สำหรับฟรีแลนซ์ ได้ทำการสำรวจพนักงานทั่วโลกมากกว่า 1,000 คนในเดือนสิงหาคม 2566 พบว่า คนทำงานในสหรัฐอเมริกามากกว่า 75% กล่าวว่า พวกเขาสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้นภายในเวลาทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ แทนที่จะเป็น 5 วัน คนรุ่นมิลเลนเนียลซึ่งคิดเป็นประมาณ 35% ของคนทำงานในปัจจุบัน มีความหลงใหลในการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์มากที่สุด โดย 87% เห็นด้วยกับรูปแบบนี้

ตัวอย่างบริษัทเสนอสัปดาห์ทำงาน 4 วัน

ตัวอย่างบริษัทในฝั่งยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ที่เสนอสัปดาห์ทำงาน 4 วัน ดังนี้

  • Amazon
  • Basecamp
  • BigLaw
  • Bolt
  • Buffer
  • CARFAX
  • Ecosia
  • Forbes Advisor
  • Kickstarter
  • KRÜSS
  • Lamborghini
  • Microsoft
  • Panasonic
  • Samsung
  • thredUp
  • Toshiba
  • Unilever

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ