คนไข้ต่างชาติทยอยกลับมาใช้บริการ ดันรายได้ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ปี 66 กลับสู่ฐานเดิมก่อนโควิด

คนไข้ต่างชาติทยอยกลับมาใช้บริการ ดันรายได้ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ปี 66 กลับสู่ฐานเดิมก่อนโควิด
คนไข้ต่างชาติทยอยกลับมาใช้บริการ ดันรายได้ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ปี 66 กลับสู่ฐานเดิมก่อนโควิด

คนไข้ต่างชาติทยอยกลับมาใช้บริการ ดันรายได้ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ปี 66 กลับสู่ฐานเดิมก่อนโควิด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปี 66 รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ  น่าจะขยายตัว 3.7% (YoY) ซึ่งเป็นทิศทางที่ชะลอลงจากปี 65 จากกลุ่มคนไข้โควิดที่ลดลง

โดยคาดว่าหลังจากนี้ รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนน่าจะทยอยปรับเข้าสู่ฐานเดิมก่อนโควิด เนื่องจากคนไข้ต่างชาติทยอยกลับมาตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะตลาดคนไข้หลักอย่างตะวันออกกลาง ที่คาดว่าจะเข้ามาใช้บริการจำนวนมากในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนไข้ต่างชาติ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) รวมถึงคนไข้ไทย ทั้งกลุ่มประกันสังคมและกลุ่มคนไข้ทั่วไป ที่คาดว่าจะกลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปี 66 รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนจะยังคงเติบโต แต่กำไรของธุรกิจยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัย ซึ่งนอกจากฐานที่สูงในปีก่อน สะท้อนได้จากไตรมาสแรกของปี 66 ธุรกิจมีกำไรลดลง 42% (YoY) จากกลุ่มคนไข้โควิดที่ลดลง

ในช่วงที่เหลือของปีนี้ กำไรของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังถูกกดดันจากต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่ยังสูง ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ยังยืนสูง

ตลอดจนการลงทุนในเครื่องมือหรืออุปกรณ์การแพทย์ใหม่ๆ นอกเหนือจากการแข่งขันทางธุรกิจที่อาจรุนแรงขึ้น จากผู้เล่นรายเดิมและผู้เล่นรายใหม่ที่จะเข้ามาขยายการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน สวนทางกับกำลังซื้อที่มีศักยภาพของคนไข้ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่หรือมีจำกัด ส่งผลให้คาดว่ากำไรของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนทั้งปี 66 น่าจะลดลงราว 8.5% (YoY)

ในระยะข้างหน้า ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังเผชิญโจทย์ท้าทายอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะทาง หรือบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลหรือรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญในอนาคต รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ หรือการเตรียมความพร้อมในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อดูแลหรือให้บริการรักษาคนไข้ได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามประเด็นต่างๆ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมราคายา เวชภัณฑ์และค่าบริการ นโยบายกองทุนด้านสุขภาพต่างๆ เช่น ระบบประกันสังคมที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง การเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี สวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานและผลประกอบการของธุรกิจในระยะถัดไป