ไทยเบฟ ครองตลาดผู้นำธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหาร ในภูมิภาคอาเซียน

ไทยเบฟ ครองตลาดผู้นำธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหาร ในภูมิภาคอาเซียน
ไทยเบฟ ครองตลาดผู้นำธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหาร ในภูมิภาคอาเซียน

ไทยเบฟ  ครองตลาดผู้นำธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหาร ในภูมิภาคอาเซียน

วันที่ 30 ก.ย. 2564 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานแถลงข่าวทิศทางธุรกิจประจำปี 2564 ว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เกือบ 2 ปี ไทยเบฟได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มและอาหารครบวงจร เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ แม้ว่าบริษัทจะได้รับผล กระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสที่มีการปิดช่องทางการจัดจำหน่ายที่สำคัญ

แต่จากการปรับแผนการดำเนินงาน และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทำให้บริษัทมีกำไรเติบโต โดยมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 36,638 ล้านบาท สำหรับงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 และยังคงเป็นบริษัทเครื่องดื่มและอาหารที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน รวมทั้งเป็นบริษัทในอาเซียนบริษัทเดียวที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของเอเชียในด้านรายได้และมูลค่าทางการตลาด

นอกจากนี้ บริษัทยังวางกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ PASSION 2025 ได้แก่ BUILD สร้างความสามารถและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วยการต่อยอดจากพื้นฐานธุรกิจที่มีอยู่ สอดคล้องกับเทรนด์ตลาดโลกที่ให้ความใส่ใจด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี STRENGTHEN เสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก เพื่อรักษาและก้าวสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยเน้นการทำงานร่วมกัน UNLOCK นำศักยภาพของไทยเบฟที่มีอยู่มาก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุด รวมถึงการนำทรัพยากรต่างๆ เช่น ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่มาพัฒนาศักยภาพ และขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

ไทยเบฟ ครองตลาดผู้นำธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหาร ในภูมิภาคอาเซียน
ไทยเบฟ ครองตลาดผู้นำธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหาร ในภูมิภาคอาเซียน

นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา รองผู้บริหารสูงสุด การเงินและบัญชีกลุ่ม และผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินและบัญชี ธุรกิจต่างประเทศ เผยว่า กลุ่มธุรกิจสุรายังมีความแข็งแกร่ง เนื่องมาจากความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ซึ่งตอบรับกับการบริโภคที่บ้าน มาจากสินค้าหลักของไทยเบฟ คือ รวงข้าว สุราขาวอันดับ 1 ในประเทศไทย

และเพื่อตอกย้ำการเป็นสุราสีอันดับ 1 ในปีนี้สุราสีหงส์ทอง ได้ปรับบรรจุภัณฑ์ขนาด 350 มล. และ 700 มล. ให้มีภาพลักษณ์หรูหราทันสมัยมากขึ้น หากดูจากผลวิจัยการตลาดในรอบ 12 เดือนย้อนหลัง แสงโสมสามารถเติบโตกว่า 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ในส่วนของ เบลนด์ 285 ซิกเนเจอร์ สามารถเพิ่มการเติบโตได้ถึง 26% สำหรับเมอริเดียนบรั่นดี ยังสามารถเพิ่มการเติบโตได้ถึง 39% นอกไปจากนั้น คูลอฟ วอดก้า สามารถเติบโตและมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 32% ในส่วนของแกรนด์รอยัลกรุ๊ปซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดของตลาดวิสกี้ในประเทศเมียนมา ยังคงมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งประกอบกับมีเสถียรภาพของกระแสเงินสด

นายเลสเตอร์ ตัน ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเบียร์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปี 2564 เป็นอีกหนึ่งปีที่เบียร์ช้างต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านการตลาด แต่กลุ่มธุรกิจเบียร์ ยังคงเดินหน้าธุรกิจตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ 

โดยได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถดำเนินงานในโรงงานผลิตเบียร์ได้อย่างราบรื่น ซึ่งรวมถึงการรองรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่บ้านเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเพิ่มบริการจัดส่งถึงบ้าน และริเริ่มนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้ผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ ธุรกิจการส่งออกและกลุ่มตลาดต่างประเทศของกลุ่มธุรกิจเบียร์ ได้มีการยกระดับการขาย โดยตั้งเป้าไปที่การขายและการกระจายสินค้าที่แข็งแกร่งพร้อมการบริหารเรื่องต้นทุนอย่างเข้มงวด

นายโฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ประเทศไทย) ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มบริหารช่องทางการจำหน่าย ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง และรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายพัฒนาความเป็นเลิศ เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางบริหารจัดการ รวมถึงการให้บริการกับร้านค้า โดยมุ่งเน้นร้านค้าปลีก ร้านค้าในชุมชนมากยิ่งขึ้น นำเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพการขาย SERMSUK CAMP ช่วยให้พนักงานขายสามารถทำงานผ่านแท็บเล็ต นำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อสุขภาพ และเสริมแกร่งทีมงาน เตรียมพร้อมรับมือโลกใหม่ยุค New Normal

ในงวด 9 เดือนของปีงบประมาณ 2564 ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มีรายได้จากการขายจำนวน 11,688 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปริมาณขายลดลงร้อยละ 8.6 ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ยังคงบริหารต้นทุนอย่างระมัดระวังด้วยการลดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้ช่วยให้ธุรกิจมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชีจำนวน 1,629 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดบัญชีที่ไม่รวมค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้สายการผลิตเครื่องดื่มของบริษัทโออิชิในปีก่อน

นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาได้ปรับรูปแบบธุรกิจด้วยการขยายสาขานอกห้างเพิ่มขึ้น 24 สาขา (สาขาทั้งหมดรวม 673 สาขา ณ 30 ก.ย. 2564) รวมทั้งเปิดรถ Food Truck จำนวน 10 คันเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และพัฒนาแพลตฟอร์มดีลิเวอรี่ ประกอบกับขยายช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านพันธมิตรทั้ง Food Aggregator และ E-Marketplace ส่งผลให้ช่องทางดีลิเวอรี่เติบโตขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

สำหรับปี 2565 กลุ่มธุรกิจอาหารจะขับเคลื่อนภายใต้กลยุทธ์หลัก คือขยายสาขาในรูปแบบที่เหมาะกับสถานการณ์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึง Food Truck และร้านแบบ To go เสริมแกร่งและขยายช่องทางการขายนอกสถานที่ สร้างความผูกพันกับลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล นำนวัตกรรมมาสร้างประสบการณ์ใหม่เพิ่มความสะดวกสบาย ความปลอดภัยให้กับลูกค้า และดำเนินธุรกิจตามแนวคิดด้านความยั่งยืนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม