“ยินดีออกแบบ” ธุรกิจรับสร้างแบรนด์ เพื่อนคู่คิดชาว SMEs

“ ยินดีออกแบบ” เป็นชื่อบริษัทรับ “สร้างแบรนด์”ด้วยการออกแบบ โดย เริ่มต้นจากการวางรากฐานของ  แบรนด์ที่มั่นคง เพื่อสร้างจุดยืนให้ชัดเจน สร้างภาพลักษณ์ของสินค้าให้เป็นที่ชื่นชอบเพื่อยึดครองพื้นที่ในใจกลุ่มเป้าหมายได้  ซึ่งท้ายที่สุดแล้วสิ่งเหล่านี้ คือ หนทางนำไปสู่การสร้างยอดขายอย่างที่เจ้าของสินค้านั้นๆคิดหมายมั่นกันไว้

อะไรก็ตามที่ใช้ในการสื่อสารความเป็นตัวตนของแบรนด์ ที่จะออกไปสู่สายตากลุ่มเป้าหมาย   ในรูปแบบโดดเด่น ดึงดูดใจ เพื่อสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้า เรามีหน้าที่ดูแล” เจ้าของกิจการ “ยินดีออกแบบ” เคยนิยามตัวเองไว้อย่างนั้น

คุณเอ-อนุชิต ปัญญาวัชระ เจ้าของกิจการ “ยินดีออกแบบ” เปิดบทสนทนาด้วยการแนะแนะนำตัวให้รู้จักมากขึ้นว่าตัวเขาและ คุณฝน ภรรยา เคยเป็นครีเอทีฟในบริษัทโฆษณา กระทั่งปี 2542 ออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง รับสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าทุกประเภทแบบครบวงจร  โดยมีแนวคิดในการทำธุรกิจว่า การที่สินค้าใดๆจะแจ้งเกิดจะแจ้งเกิดในตลาดและยึดครองใจกลุ่มเป้าหมายได้ สิ่งสำคัญที่สุด นอกเหนือจากสินค้าจะมีดีอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันนั้นคือ แบรนด์ของคุณคือใคร

“ทำงานเป็นครีเอทีฟโฆษณาได้ระยะหนึ่ง จึงเกิดความคิดว่า โฆษณาเป็นการขายของที่พูดแบบครึ่งเดียว ขณะที่ยังมีประกอบการจำนวนไม่น้อยข้าใจผิดว่าการโฆษณา คือ การสร้างแบรนด์อย่างหนึ่ง ทั้งที่การสร้างแบรนด์สินค้าใดก็ตาม มันต้องมีการวางรากฐานในทุกมิติ บริษัทยินดีออกแบบ จึงวางตำแหน่งตัวเองไปอยู่ต้นน้ำของการทำธุรกิจ คือ การสร้างและวางรากฐานของแบรนด์”คุณเอ อธิบายแนวคิดการทำธุรกิจในแบบของเขา

เจ้าของ “ยินดีออกแบบ” บริษัทรับสร้างแบรนด์ เล่าให้ฟังต่อ หลังจากเปิดกิจการมา มีลูกค้าเข้ามาปรึกษาไม่ขาด โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs  และช่วง 4-5 ปีหลังมานี้ มีผู้ประกอบการด้านอาหารเข้ามาเป็นลูกค้ากันมาก ซึ่งประเด็นนี้คุณเอ บอกติดตลก อาจเพราะเขาเป็นคนชอบทานก็เป็นได้

“เมืองไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีของดี  ทรัพยากรมีคุณค่ามาก เป็นครัวโลกได้สบาย แต่อาหารที่นำมาแปรรูปออกมาแล้ว มักไม่มีมูลค่าสมกับวัตถุดิบที่ดี เป็นเพราะขาดการสร้างหรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ดูอย่าง ประเทศญี่ปุ่น ขนมโมจิไส้ถั่วแดงของเขา  ผมไปชิมมาเจ้าไหนรสชาติเหมือนกันหมด ในขณะที่ขนมไทย แบบเดียวกันสามารถทำให้ต่างกันได้  แต่ทำไมถึงขายไม่ได้มูลค่าแบบเขา ฉะนั้นหน้าที่ของบริษัทสร้าง    แบรนด์แบบเรา อย่าหนึ่งก็คือ การสร้างความชัดเจน ให้สินค้า เช่น เฉาก๊วยเจ้านี้ ต่างจากเฉาก๊วยทั่วไปอย่างไร”คุณเอ ยกตัวอย่างขยายภาพให้เข้าใจมากขึ้น

ก่อนอธิบายหลักการทำงานของ “ยินดีออกแบบ”ให้ฟังเพิ่มเติมว่า การสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าใดนั้น เริ่มจากการพูดคุยกับเจ้าของสินค้า เพื่อค้นหาความ”หลงใหล” ในตัวพวกเขา ว่ามีอยู่มากน้อยแค่ไหน เพราะเชื่อว่าถ้าคนๆหนึ่งหลงใหลในอะไรก็ตาม เขาจะทำงานด้วยความสนุก ตั้งใจ และทุ่มเทถึงที่สุด

“การสร้างแบรนด์  ไม่ใช่แค่ออกแบบแพคเกจสวยๆ หรือคิดคำพูดโฆณาเก๋ๆ แต่สินค้า รายไหนที่ดูแล้วสามารถพัฒนาได้ ผมจะเข้าไปไปดูแลในทุกขั้นตอน  เพราะกว่าจะออกมาสินค้าเป็นแบรนด์หนึ่ง ที่เห็นในท้องตลาดมีรายละเอียดเยอะ ไม่ใช่แค่ทำดีไซน์สวย  ถ้าอย่างนั้นมันคงไม่ยั่งยืน”คุณเอ บอกจริงจัง

สนทนามาถึงตรงนี้  คุณเอ มีกรณีตัวอย่างการสร้างแบรนด์สินค้ารายหนึ่งมาถ่ายทอดให้ฟังว่าเจ้าของสินค้า “กล้วยตาก”รายหนึ่ง ซึ่งมีความตั้งใจสูงมาก  เข้ามาหารือ บอกที่ผ่านมาตัวเขาพยายามทุ่มเทพัฒนาสินค้าให้อยู่ในระดับชั้นเยี่ยม  แต่จนแล้วจนรอด ทำอย่างไรก็ขายไม่ออก

“กล้วยตากเจ้านี้ น่าสนใจมาก เขาทุ่มทุนทำวิจัยเรื่องโดมตากกล้วย กระทั่งสามารถนำกล้วยไปตากในโดมที่ควบคุมอุณหภูมิให้สีของกล้วยสวย ฝุ่นแมลงไม่เกาะต่างจากการผลิตแบบดั้งเดิม  เห็นได้ชัดว่าเจ้าของสินค้ารายนี้ มีความตั้งใจสูงมาก แต่ทำยังไงก็ขายไม่ออก นำไปเสนอฝ่ายจัดซื้อตามห้างฯก็ไม่เคยมีการติดต่อกลับ”คุณเอ ว่าให้ฟังอย่างนั้น

ก่อนเล่าต่อ กระทั่งเจ้าของสินค้ารายนั้นเหลือทุนก้อนสุดท้าย เขาจึงกำลังชั่งใจว่าจะนำเงินนั้นไปซื้อเครื่องตรวจโลหะหรือนำไปลงทุนสร้างแบรนด์อีกรอบ กระทั่งได้มาพบกับ “ยินดีออกแบบ”

คุณเอ เล่า หน้าที่ของเขาที่เข้าไปทำงานร่วมกับเจ้าของสินค้ากล้วยตากรายนี้ คือ การสร้างแบรนด์ใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างบุคลิกใหม่ให้กับสินค้า จากเดิม “ลุค”เหมือนกับสินค้าโอท็อปทั่วไป ปรับใหม่เป็น “บานาน่า โซไซตี้”

ครั้นเปิดตัวสินค้า ด้วย “ลุคใหม่” ที่ “บุคลิกชัด-แบรนด์ชัด” ปรากฎผลเกินคาด เจ้าของสินค้าได้รับออเดอร์เข้ามาแบบ ถล่มทลาย ทั้งจากในและนอกประเทศ ปัจจุบัน แทบทุกห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ต้องมีสินค้าแบรนด์นี้อวดโฉมอยู่ บนเชลฟ์ และล่าสุดกำลังจะชยายโดมตากกล้วยจาก 3 โดมเป็น 7 โดม เพื่อผลิตสินค้าให้ทันกับคำสั่งซื้อ

“เคสนี้ถือเป็นโจทย์ง่ายสำหรับผม เพราะในตลาดไม่มีใครมีกล้วยตากด้วยวิธีการแบบนี้ อย่างที่สอง กล้วยตากไม่มีการสร้างแบรนด์ที่ดูดีเลยซักอันเดียว เมื่อผลิตภัณฑ์ดีอยู่แล้ว แถมคู่แข่งในตลาดยังไม่มีใครสร้างแบรนด์ที่ชัดเจน ได้ก่อน ย่อมเข้าเส้นชัยก่อน” จากกล้วยตากที่ไม่มีใครรู้จัก  แต่ตอนนี้เขาเป็นเบอร์หนึ่งของจังหวัด ในจังหวัดพิษณุโลก   ทุกโรงแรมต้องมีโปรดักท์ของเขาไปวางขาย  นี่แหละครับ พลังของ แบรนด์”คุณเอ บอกจริงจัง

 ฟังกรณีตัวอย่าง”ขั้นง่าย”สำหรับเจ้าของธุรกิจยินดีออกแบบแล้ว นึกสงสัยกรณีแบบไหนจึงจะจัดอยู่ในระดับค่อนข้างยากสำหรับเขา คุณเอ ยิ้มน้อยก่อนแผยเปิดอก การสร้างแบรนด์ให้กับบรรดาร้านเบเกอรี่ จัดว่าเป็นงานยาก เพราะเท่าที่สำรวจตลาดแทบทุกแห่ง ออกแบบตกแต่งกันได้สวยงามไม่แพ้กัน ความแตกต่างของสินค้าก็มีน้อย ฉะนั้นการสร้างเอกลักษณ์ให้โดดเด่นกว่าใครจึงค่อนข้างลำบาก

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา มีลูกค้ากลุ่มร้านเบเกอรี่เข้ามาหารือหลายราย แต่เมื่อเขาอธิบายให้เห็นถึงอุปสรรคปัญหาว่าคืออะไร ความยากง่ายมากน้อยแค่ไหน รวมถึงงบประมาณที่ต้องใช้ในการนั้น ส่วนใหญ่จะถอยไปเอง

“การทำงานของยินดีออกแบบ จะเริ่มต้นด้วยการพูดตรงๆ ว่าปัญหาอุปสรรคในการสร้างแบรนด์สินค้าของคุณนั้น มีอะไรบ้าง  ถ้ารับได้  ค่อยทำงานด้วยกัน ไม่งั้นรับเงินเขามาแล้ว ย่อมเกิดความคาดหวัง แต่เราทำไม่ได้ จะเกิดความขัดแย้งกันได้ในภายหลัง”คุณเอ ย้ำทิ้งท้าย

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีน้อยใหญ่ สนใจอยากสร้างแบรนด์ให้กับสินค้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-742-6407 หรือ Facebook/yindeedesign