ยูเอ็นเผยช่องว่างการพัฒนายังเพียบ คนรวย1%ครองทรัพย์สินโลก46% ชี้ชนกลุ่มน้อย-ผู้อพยพ-สตรี”ยังถูกทอดทิ้ง

Syrian families, fleeing from various eastern districts of Aleppo, queue to get onto governmental buses on November 29, 2016 in the government-held eastern neighbourhood of Jabal Badro, before heading to government-controlled western Aleppo, as the Syrian government offensive to recapture rebel-held Aleppo has prompted an exodus of civilians. The Syrian government offensive to recapture rebel-held Aleppo sparked international alarm, with the UN saying nearly 16,000 people had fled the assault and more could follow. The fighting has prompted an exodus of terrified civilians, many fleeing empty-handed into remaining rebel-held territory, or crossing into government-controlled western Aleppo or Kurdish districts. / AFP PHOTO / George OURFALIAN

รายงานที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นดีพีเผยว่า แม้ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา การพัฒนามนุษย์จะมีความก้าวหน้าอย่างน่าประทับใจในหลายๆ ด้าน แต่ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพย ผู้ลี้ภัย และสตรี ยังคงเป็นกลุ่มที่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง

ยูเอ็นดีพีระบุว่า ปัจจุบันผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น มีเด็กมากขึ้นที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน และผู้คนจำนวนมาก็สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมขั้นพื้นฐาน แต่ยังคงมีความไม่เสมอภาคในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ ทั้งนี้พลเมืองโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 พันล้านคนนับจากปี 2533-2558 แต่คนมากกว่า 1 พันล้านยังต้องกระเสือกกระสนเพื่อหาทางให้หลุดพ้นจากการใช้ชีวิตอย่างยากจนสุดขีด คนราว 2.1 พันล้านเพิ่งจะได้รับการพัฒนาด้านสุขอนามัย และอีกกว่า 2.6 พันล้านเพิ่งจะได้รับการพัฒนาให้สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำน้ำดื่ม

ในปี 2559 คน 1 ใน 9 ยังคงอดอยากหิวโหย และ 1 ใน 3 ประสบปัญหาทุพโภชนาการ ราว 18,000 คนล้มตายลงทุกวันเนื่องจากมลภาวะทางอากาศ และทุกๆ นาทีจะมีคน 24 คนที่ต้องถูกบังคับให้กลายเป็นคนพลัดถิ่น โดยกลุ่มที่การขาดโอกาสพื้นฐานถือเป็นเรื่องธรรมดาคือสตรี ชนกลุ่มน้อย ชนเผ่า คนพิการ และผู้อพยพ

ผู้อพยพจำนวนมาก โดยเฉพาะคนกว่า 65 ล้านที่ถูกบังคับให้กลายเป็นคนไร้บ้าน ต้องเผชิญกับสภาพปัญหาอันหนักหน่วง ทั้งจากการไม่มีงานทำ ปราศจากรายได้ ไม่สามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน และการให้บริการทางสังคมใดๆ ซึ่งเกินกว่าที่การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจะไปถึง ทั้งยังต้องเผชิญกับการคุกคาม ความเกลียดชัง และความรุนแรงจากประเทศผู้รับ

ความไม่เท่าเทียมทางเพศและการให้อำนาจกับสตรียังคงเป็นประเด็นหลักที่มีการถกเถียงกันในด้านการพัฒนา ขณะที่สตรียังคงถูกเลือกปฏิบัติทั้งด้านสิทธิและโอกาส โดยในประเทศพัฒนาแล้ว เจ้าของที่ดินเพียง 10-20% เท่านั้นที่เป็นผู้หญิง เช่นเดียวกับความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ก็ยังคงเป็นปัญหาเช่นกัน โดยคนร่ำรวยเพียง 1% ในโลกครอบครองทรัพย์สินมากถึง 46% ในโลกนี้

 

ที่มา มติชนออนไลน์