ภัยแล้ง จากเอลนีโญ ความท้าทายเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2566 กระทบหลายอุตสาหกรรม 

ภัยแล้ง จากเอลนีโญ ความท้าทายเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2566 กระทบหลายอุตสาหกรรม 
ภัยแล้ง จากเอลนีโญ ความท้าทายเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2566 กระทบหลายอุตสาหกรรม 

ภัยแล้ง จากเอลนีโญ ความท้าทายเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง 2566 กระทบหลายอุตสาหกรรม 

หนึ่งความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คือ การที่ประเทศไทยและทั่วโลก กำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนีโญแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา

ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญในอนาคตอันใกล้ คือ เรื่องของภัยแล้ง ที่อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูล ณ ขณะนี้ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ประสบกับสถานการณ์น้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้อย หรือน้อยจนเข้าขั้น ได้แก่ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินผลกระทบในขั้นแรก คาดว่าจะกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรอาจคิดเป็นมูลค่าราว 4.8 หมื่นล้านบาทในปี 2566 ส่วนผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม หลักๆ จะกระทบกับอุตสาหกรรมอโลหะ เช่น แก้ว กระเบื้อง และซีเมนต์

ขณะที่อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอีก 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรหรืออาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถ้าหากประเทศไทย เผชิญภาวะขาดแคลนน้ำรุนแรง รัฐบาลอาจจะต้องพิจารณาให้มีการลดกำลังการผลิตลง

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบด้วย ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ เช่น กลุ่มโรงแรม และโรงพยาบาล เนื่องจากมีการใช้น้ำค่อนข้างมากในอุตสาหกรรมเหล่านี้ แต่อาจจะยังไม่ได้เป็น Baseline ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เพราะการประเมินความเสียหายส่วนใหญ่จะประเมินจากความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก และสำหรับปี 2567 ก็ยังต้องติดตามปริมาณการเก็บกักน้ำฝนในปีนี้ เพื่อใช้ประเมินเพิ่มเติมต่อไป