ศักราชใหม่ 2566 มี 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องเร่งเพิ่มศักยภาพจริงจัง

ศักราชใหม่ 2566 มี 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ต้องเร่งเพิ่มศักยภาพจริงจัง

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อการพัฒนาเอสเอ็มอีไทย ขานรับนโยบายรัฐบาล และพัฒนาสู่การเป็นธนาคารที่ยั่งยืนตามกรอบการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environment } Social and Governance : ESG) ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญ สร้างประโยชน์ให้เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ

สำหรับ ESG นั้น เป็นทั้งแนวความคิดและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา ที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจอุตาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ธพว. ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ จึงสร้างแนวทางปฏิบัติเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และเพิ่มศักยภาพ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิม และอุตสาหกรรมใหม่  ภายในปี 2566 ไว้ดังนี้

1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

5. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม

7. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์

8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

9. อุตสาหกรรมดิจิทัล

10. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

“ธพว. จะผลักดันให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย เข้าถึง เงินทุน คู่ การพัฒนา สามารถนำแนวทาง BCG Model ไปปรับใช้ในธุรกิจ อันจะสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอย่างสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ธพว. ระบุ