ธุรกิจค้าปลีก ไตรมาสสุดท้ายปี 64 ส่อแววฟื้นตัว หลังรัฐคลายล็อกดาวน์ 

ธุรกิจค้าปลีก ไตรมาสสุดท้ายปี 64 ส่อแววฟื้นตัว หลังรัฐคลายล็อกดาวน์ 
ธุรกิจค้าปลีก ไตรมาสสุดท้ายปี 64 ส่อแววฟื้นตัว หลังรัฐคลายล็อกดาวน์ 

ธุรกิจค้าปลีก ไตรมาสสุดท้ายปี 64 ส่อแววฟื้นตัว หลังรัฐคลายล็อกดาวน์ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจค้าปลีกน่าจะฟื้นตัวเป็นบวกได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 64 จากสถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศ และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่เริ่มมีสัญญาณบวก จนทำให้ภาครัฐทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์

ไม่ว่าจะเป็นแผนการเปิดประเทศเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว รวมถึงสัญญาณความเป็นไปได้ในการกลับมาเปิดดำเนินกิจการของธุรกิจอย่างสถานบันเทิง สะท้อนโอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะผ่านจุดต่ำสุดจากการระบาดของโควิดมาแล้ว

โดยคาดว่า ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ น่าจะกลับมาฟื้นตัวที่ประมาณ 1.4% (คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อเพิ่มเติม) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปี 63 ที่หดตัว 1.2%

ซึ่งการคลายมาตรการล็อกดาวน์น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ประกอบกับเป็นจังหวะที่ธุรกิจต่างๆ น่าจะมีการออกแคมเปญทำตลาดเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือน ธ.ค. ที่มีเทศกาลเฉลิมฉลองสำคัญอย่างเทศกาลปีใหม่

แม้สถานการณ์การระบาดในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ยังคงกังวลกับความปลอดภัยและกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้เลือกใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่ยังมีความจำเป็นอย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงของใช้ส่วนตัว

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นอย่างเสื้อผ้า รองเท้า น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ยอดขายอาจจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกเล็กน้อยในไตรมาส 4 ปี 64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 63 แต่ยอดขายทั้งปี 64 น่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าในช่วงที่เหลือของปี 64 ต่อเนื่องถึงปี 65 ธุรกิจค้าปลีกยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายอีกหลายประการ ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจยากลำบากต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำท่วม ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความไม่แน่นอนของการระบาดของโควิดในประเทศในระยะข้างหน้า รวมถึงภาวะการแข่งขันของธุรกิจที่เข้มข้นขึ้น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อ หรือมีศักยภาพในการใช้จ่ายยังคงมีจำนวนจำกัดในขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย