กราบรถเหลือง : รถเหลืองในขบวนหลวง

Thias wave as the car driving King Bhumibol Adulyadej arrives at the Royal Grand Palace to celebrate his 60th Coronation Day in Bangkok on May 5, 2010. Thailand celebrated the 60th anniversary of the coronation of their beloved monarch King Bhumibol Adulyadej as Thailand's anti-government protesters hinted their weeks-long rally in the heart of Bangkok could soon end pending more details on the government's reconciliation roadmap. AFP PHOTO/PEDRO UGARTE / AFP PHOTO / PEDRO UGARTE

ประเด็นการ “กราบรถ” ยังคงได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางในสังคมไทย กรณีที่มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปประสบ อุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถยนต์หรูขนาดเล็กราคาแพง แล้วผู้ขับขี่จักรยานยนต์มีท่าทีว่าจะหลบหนีทําให้เจ้าของรถยนต์หรูคันนั้น ต้องเดินไปกระชากคอเสื้อของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ข้ามมาจากอีกฝั่งถนนหนึ่ง ก่อนจะเริ่มบทสนทนาแล้วตามด้วยบทบู๊กระหน่ำ เข้าที่ใบหน้าหลายครั้ง เพราะเขาไม่รู้ว่ารถยนต์ที่ชนเข้าไปนั้นมีราคาค่างวดเท่าใด ก่อนเจ้าของรถยนต์จะสั่งให้ชายผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์ “กราบรถกู” พร้อมชี้ไปที่รถยนต์หรูสีเหลืองคันเล็กคันนั้น

หากเราพูดถึงการ “กราบรถ” เราคงนึกถึงภาพของขบวนเสด็จพระราชดําเนินเท่านั้น เพราะเราไม่ค่อยได้กราบรถ ใครอยู่แล้ว ลําพังจะประคองตัวหรือประคองรถฝ่าการจราจรก็ลําบากมากแล้ว และส่วนใหญ่จะเป็น “อจร” เสียมากกว่า “จร” (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชอรรถาธิบายเป็น “พระราชอารมณ์ขัน” ไว้ว่า “จราจร” มาจาก “จร” กับ “อจร” แปลว่า รวมกันแปลว่า “แล่นบ้าง-ไม่แล่นบ้าง”) จะให้ไปกราบรถใครก็คงไม่มีเวลา แล้วก็ไม่รู้จะกราบทําไม ถ้าอยากจะกราบจริงๆ ก็คงได้แต่รอกราบรถในขบวนเสด็จพระราชดําเนินเท่านั้น ทุกครั้งก่อนขบวนเสด็จฯจะมาถึงหรือผ่านไป ที่ใดที่หนึ่ง จะต้องมีการปิดเส้นทางหรือเรียกเข้าใจง่ายๆว่า “ปิดถนน” เพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุก ฝ่ายได้ถวายอารักขา และพสกนิกรได้เตรียมตัวนั่งลงกับพื้นเพื่อรอขบวนเสด็จฯที่มาถึง และผ่านไปชั่วขณะเดียว ในโอกาสอัน พิเศษนี้ใครใคร่จะโบกธง ส่งเสียงถวายพระพร หรือก้มกราบ ก็แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคน ไม่ได้มีใครมาบังคับถ้าหากเป็น ประชาชนทั่วไป แต่ถ้าเป็นข้าราชการก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะกระทรวงมหาดไทยมีระเบียบการรับเสด็จฯเป็นคู่มือไว้พร้อม

ในบรรดาขบวนรถพระที่นั่ง เรามักเห็นรถอยู่ในขบวนมีสีอยู่สองสีหลัก คือสีเหลืองนวล หรือที่เรียกกันไปต่างๆชื่อได้ อีกเช่น สีไข่ไก่สีครีม ฯลฯ ซึ่งเป็นสีของรถยนต์พระที่นั่ง ที่ถูกวางระเบียบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ว่าต้องไม่เหลืองจัด กับอีกสี หนึ่งคือ สีแดง เป็นสีเฉพาะของรถตามขบวนในขบวนเสด็จฯ หรือขบวนหลวง รถสีอื่นๆนอกเหนือจากนี้ก็เป็นไปตามหน้าที่ของ รถ หรือผู้ตามเสด็จฯในขบวน เช่นรถตํารวจ รถพยาบาล ในขบวนเสด็จฯอาจมีสีบรอนซ์เงิน หรือ ดํา ก็แล้วแต่กรณี

รถอีกสีหนึ่งที่จัดอยู่ในรถขบวนหลวงแต่ไม่ค่อยพบเห็นได้บ่อยนัก ก็คือรถสีเหลือง (ที่เหลืองกว่ารถยนต์พระที่นั่ง) มี ชื่อเรียกว่า “รถพระประเทียบ” เป็นรถประจําตําแหน่งสําหรับสมเด็จพระสังฆราช หรือรถที่ใช้สําหรับผู้แทนพระองค์ซึ่งไม่ได้ ทรงรถยนต์พระที่นั่ง (เช่นองคมนตรีหรือผู้อื่นที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์) ซึ่งรถเหลืองมักปรากฏโฉม เฉพาะในงานพระราชพิธีสําคัญๆเท่านั้น เช่นในตอนท้ายการพระบรมศพหรือพระศพ รถพระประเทียบจะใช้อัญเชิญพระบรมอัฐิไปยังพระศรีรัตนเจดีย์หรือในบางโอกาสใช้อัญเชิญพระพุทธรูปสําคัญ และใช้รับราชทูตที่ถือพระราชสาสน์ตราตั้งมาจาก ต่างประเทศด้วย

เพราะรถเหลือง ในขบวนหลวงเห็นได้ยาก ทําให้ไม่ค่อยได้กราบ เราจึงไม่คุ้นเคยกับการกราบรถเหลือง นอกขบวนหลวงสักเท่าไหร่

 

ที่มา ศิลปวัฒนธรรม