รับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า! อยากทำธุรกิจ ตั้งสถานีชาร์จรถ EV ต้องรู้อะไรบ้าง?

รับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า! อยากทำธุรกิจ ตั้งสถานีชาร์จรถ EV ต้องรู้อะไรบ้าง?
รับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า! อยากทำธุรกิจ ตั้งสถานีชาร์จรถ EV ต้องรู้อะไรบ้าง?

รับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า ! อยากทำธุรกิจ ตั้งสถานีชาร์จรถ EV ต้องรู้อะไรบ้าง?

ความแพร่หลายของการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะ รถยนต์อีวี หรือ รถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในบ้านเราในปัจจุบัน ซึ่งหลังจากที่รัฐบาลประกาศเป้าหมาย นโยบายส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ (EV)

นอกจากจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แหล่งชาร์จพลังงานไฟฟ้า หรือ สถานีตั้งชาร์จ ก็ถือเป็นธุรกิจควบคู่เพื่อรองรับความต้องการ ที่เนื้อหอมตามๆ กันมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ต่างเร่งมือเพื่อโอกาสและช่องทางการให้บริการ ทั้งในรูปแบบสาธารณะ รวมทั้งการขยายธุรกิจ การจัดจำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าไปยังที่พักอาศัย เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

ซึ่งหนึ่งในแบรนด์ที่มีสถานีชาร์จค่อนข้างมาก อย่าง EA Anywhere ถือเป็นแบรนด์ที่คนที่อยากทำธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จรถไฟฟ้าให้ความสนใจไม่น้อย โดย EA Anywhere คือ ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าที่เสียบชาร์จไฟได้ เริ่มให้บริการปี 2560 จากการติดตั้งในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และจุดสำคัญๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อตอบโจทย์รถยนต์ไฟฟ้ากลุ่ม Plug-in Hybrid ที่ในช่วงนั้นรถยนต์ไฟฟ้าแทบจะยังไม่มี

โดยสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EA Anywhere สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การชาร์จแบบธรรมดา (AC Normal Charge) และการชาร์จแบบเร็ว (DC Fast Charge)

1. การชาร์จแบบธรรมดา (AC Normal Charge)

เป็นการชาร์จในที่พักอาศัยด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC (Alternative Current) ผ่านระบบชาร์จไฟ On-Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถ ซึ่ง On-Board Charger จะทำหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current) และคอยควบคุมไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเกินค่าที่สายชาร์จกำหนด ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะอยู่ที่ประมาณ 4-16 ชม. ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ รุ่นของรถยนต์ และขนาดของ On-Board Charger

โดย สถานีชาร์จ AC (Normal Charge) จะเปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชม. (หรือขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ เช่น เวลาเปิด-ปิดของห้างสรรพสินค้าที่มีสถานี)

อัตราค่าบริการอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 50 บาท / 2 ชั่วโมง 80 บาท / 3 ชั่วโมง 110 บาท และ 4 ชั่วโมง 150 บาท และหากชาร์จเกินเวลา จะถูกปรับเป็น 100 บาทต่อชั่วโมง หลังครบเวลาชาร์จ 15 นาที

2. การชาร์จแบบเร็ว (DC Fast Charge)

จะเป็นการชาร์จในสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งติดตั้งตู้ EV Charger สำหรับจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง DC เข้าแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการชาร์จน้อยกว่าการชาร์จแบบธรรมดามาก โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 30 นาที – 2 ชม. หรือถ้าเป็นแบบ DC High Power ก็สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ในเวลาเพียง 15-30 นาทีเท่านั้น โดยอัตราค่าบริการคิดเป็น หน่วยละ 6.50 บาท นั่นเอง

โดยสถานีชาร์จ DC (Fast Charge) สามารถค้นหาและใช้บริการสถานีชาร์จ DC ได้ตามวันและเวลาที่เปิดบริการ ดังนี้ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00-08.00 น. และ วันเสาร์ อาทิตย์ และ วันหยุดราชการ (ไม่รวมวันหยุดชดเชย) ตลอด 24 ชม.

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า จะเลือกใช้ EV Charger แบบไหน?

– เช็กขนาด On-Board Charger ของคุณ

– เลือกขนาดเครื่องชาร์จที่ใกล้เคียงกับ On-Board Charger

– เครื่องชาร์จต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน

นอกจากนั้น สถานีชาร์จของ EA Anywhere สามารถรองรับรถได้หลายรุ่น AUDI, BENTLEY, BMW, BYD, FOMM, FORD, GWM, HYUNDAI, JAGUAR, KIA, LAND ROVER, LEXUS, MERCEDES-BENZ, MG, MINI COOPER, MITSUBISHI, NEX, NISSAN, PORSCHE, STROM, TESLA และ VOLVO เป็นต้น

ผู้ร่วมธุรกิจของ EA Anywhere ที่ร่วมพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน มีกว่า 100+ แบรนด์ธุรกิจด้วยกัน ทั้งห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก โรงพยาบาล ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจประกัน ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน รวมถึง ร้านอาหาร เป็นต้น

แล้วหากจะติดตั้ง EV Charger ต้องดูอะไรบ้าง? ก่อนที่จะทำการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่ว่าจะทำเป็นธุรกิจหรือติดตั้งสำหรับชาร์จส่วนตัว ควรเตรียมความพร้อมในเรื่อง

1. ตรวจสอบประเภทหัวชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้า โดยที่นิยมใช้ทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ

Type 1 : หัวชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แบบ 5 Pin ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (Phase) 32 แอมป์ 250 โวลต์ (32A 250V) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เช่น Nissan Leaf และ Tesla เป็นต้น

Type 2 : แพร่หลายในไทย เป็นหัวชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แบบ 7 Pin ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (Phase) 70 แอมป์ 250 โวลต์ (70A 250V) และแบบ 3 เฟส (Phase) 63 แอมป์ 480 โวลต์ (63A 480V) นิยมใช้กับรถยนต์ไฟฟ้ายุโรป เกาหลีใต้ และจีน เช่น Mercedes-Benz, BMW, Volvo, Porsche และ Tesla เป็นต้น

2. ตรวจสอบขนาด On Board Charger ของรถ หรือขนาดกำลังของอุปกรณ์ชาร์จไฟที่ติดตั้งอยู่ภายในรถให้ตรงกันกับ EV Charger ซึ่งจะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จ โดยทั่วไปมีตั้งแต่ 3.6-22 กิโลวัตต์

3. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าของบ้าน เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีพิกัดกระแสไฟฟ้าที่สูง จึงจำเป็นต้องคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าเดิมรวมกับภาระการชาร์จรถที่เข้ามาเพิ่ม หากเกินพิกัดก็ต้องขอเพิ่มขนาดมิเตอร์และเดินระบบใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับ EV Charger ของการไฟฟ้าฯ ดังนี้

– ขนาดมิเตอร์บ้านควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30 แอมป์ หรือ 30 (100) A

– หากต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์ ต้องเพิ่มขนาดสายเมนและ Main Circuit Breaker (MCB) ให้สอดคล้องกัน เพื่อรองรับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้เพิ่มขึ้น

– ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ต้องมีช่องว่างเหลือสำหรับติดตั้ง Main Circuit Breaker ที่ใช้ควบคุมวงจรชาร์จรถไฟฟ้าอีก 1 ช่อง ถ้ามีไม่พอต้องเพิ่มตู้ย่อย

4. เตรียมพื้นที่ติดตั้งเครื่อง EV Charger ควรอยู่ในรัศมี 5-7 เมตร จากจุดจอดรถ ใกล้กับตู้เมนไฟฟ้าในบ้าน (Main Distribution Board หรือ ตู้ MDB) และมีหลังคาบังแดดและฝน

5. เลือกเครื่องชาร์จที่ได้มาตรฐาน มอก. 61851 หรือ IEC 61851

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก EAANYWHERE