ไม่หวั่นวิกฤต! เปิด 7 กลยุทธ์ ช่วยธุรกิจเติบโตทุกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

ไม่หวั่นวิกฤต! เปิด 8 กลยุทธ์ ช่วยธุรกิจเติบโตทุกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

ไม่หวั่นวิกฤต! เปิด 7 กลยุทธ์ ช่วยธุรกิจเติบโตทุกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

ภาวะเศรษฐกิจ มักทำให้ธุรกิจอยู่บนความไม่แน่นอน หากต้องพบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ จนขายของไม่ได้ ธุรกิจไม่มีรายรับ จะรับมืออย่างไร? มีกลยุทธ์อะไรบ้าง ที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ? มาดู 8 กลยุทธ์ดังต่อไปนี้กัน

กลยุทธ์ที่ 1 : ลงทุนน้อย ให้ได้กำไรมาก

การลงทุนน้อยๆ ให้ได้กำไรมากๆ เป็นวิธีการที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะเวลาที่ เมืองสองเมืองรบกัน ก็มักจะใช้หลักการ ชนะศัตรูโดยเสียเสบียงไพร่พลให้น้อยที่สุด เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันการทำตลาดด้วยการลงทุนน้อยๆ แต่ให้ได้ผลมากๆ อย่าง การทำตลาดผ่าน Social Network ก็เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

เพราะตัวเลขของลูกค้าที่หันมาใช้โทรศัพท์มือถือ Smart Phone หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีมากขึ้นทำให้การทำตลาดที่มีต้นทุนสูง ในระบบเดิมๆ อาจไม่ตอบโจทย์แล้ว ถ้าหากผู้ประกอบการทำได้ ถูกจุด ถูกทาง ก็จะทำให้สามารถเพิ่มยอดสินค้าและบริการได้ แม้ในยามที่เศรษฐกิจฝืดเคือง

กลยุทธ์ที่ 2 : ปรับปรุงคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเสมอ

ยามเศรษฐกิจดี ค้าขายคล่องมือ ผู้ประกอบการอาจต้องใช้เวลาแทบจะทั้งหมดไปกับการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการของลูกค้า แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ เวลาที่ใช้ในการผลิตลดลง ก็ถือเป็นอีกโอกาสหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการได้หันมาพัฒนาและปรับปรุงระบบ คุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น

เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจะมาถึงไม่วันใดก็วันหนึ่ง ผู้ประกอบการควรใช้เวลานี้ หันมาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีอย่างสม่ำเสมอ ดีกว่ามานั่งเครียดกับยอดขายที่ลดลง เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับมาดีดังเดิม ผู้ที่พร้อมกว่าจึงจะได้รับชัยชนะนั่นเอง

กลยุทธ์ที่ 3 : ขายให้ถูกช่วงเวลา

บางครั้งการขายสินค้าที่ไม่เหมาะกับเวลาหรือสภาวะเศรษฐกิจ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจสะดุดได้ อาทิ หากเกิดสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ผู้ประกอบการอาจจะหันมาทำสินค้าประเภท ประหยัดเงินในกระเป๋าของลูกค้ามากขึ้น และลดสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยลง เพื่อให้เข้ากับภาวะโดยภาพรวม และหากเศรษฐกิจกลับมาดีอีกครั้ง จึงค่อยปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับช่วงเวลานั้นๆ

กลยุทธ์ที่ 4 : สงบ สยบความเคลื่อนไหว

ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่มีมาอย่างช้านานเช่นกันกับกลยุทธ์ที่ 1 เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์สภาวะตลาดฝืดเคือง การขยับขยายกิจการเกินตัว ก็อาจทำให้กิจการถึงขั้นหายนะได้ การอยู่นิ่งๆ ใช้ความอดทน หรือการสงบ สยบความเคลื่อนไหว เพื่อให้พายุผ่านพ้นไป ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่ดี ที่ไม่ควรมองข้ามยามจำเป็นนะ

กลยุทธ์ที่ 5 : สะสมกำลังเสบียงให้พร้อม

บางทีผู้ประกอบการก็ไม่มีทางรู้ได้ว่า เศรษฐกิจฝืดเคือง จะกลับมาซื้อง่ายขายคล่องได้เมื่อไร แต่การเตรียมพร้อม เก็บเสบียงคลัง อย่าง กำไรสะสม เครดิตการค้า หรือแม้แต่ทรัพยากรมนุษย์ ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

กลยุทธ์ที่ 6 : การวิจัย และพัฒนา

ผู้ประกอบการที่ดีไม่ควรหยุดนิ่ง ควรหมั่นทำการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อธุรกิจใดที่หยุดนิ่ง เท่ากับธุรกิจนั้นเริ่มนับถอยหลัง การวิจัยและพัฒนาจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่องทั้งในช่วงเวลาปกติ และช่วงเวลาที่มีวิกฤตเศรษฐกิจนั่นเอง

กลยุทธ์ที่ 7 : กระชับความสัมพันธ์กับลูกค้า

ยิ่งเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ยิ่งต้องใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น หรือที่หลายๆ คนอาจคุ้นหูกับคำว่าว่า คีพ คอนเน็กชั่น แม้ในยามที่ลูกค้าไม่มีกำลังจับจ่ายสินค้า แต่หากผู้ประกอบการหมั่นคอยดูแลและกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เมื่อใดที่เศรษฐกิจกลับมาดี ลูกค้าก็จะนึกถึงเราก่อนคู่แข่งนั่นเอง

ข้อมูลจาก เว็บไซต์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม