ธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ ครึ่งแรกปี 65 เจอโจทย์ยาก จากผลพวงเศรษฐกิจ

ธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ ครึ่งแรกปี 65 เจอโจทย์ยาก จากผลพวงเศรษฐกิจ
ธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ ครึ่งแรกปี 65 เจอโจทย์ยาก จากผลพวงเศรษฐกิจ

ธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ ครึ่งแรกปี 65 เจอโจทย์ยาก จากผลพวงเศรษฐกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดจำนวนการสั่งซื้อในธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ ครึ่งแรกปี 2565 ขยายตัวราว 19% (YoY) จากปัจจัยเรื่องฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2564 จำนวนการสั่งซื้อในครึ่งแรกปี 2565 อาจไม่เร่งตัวขึ้น

โดยธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ มีแนวโน้มเผชิญโจทย์ท้าทายมากขึ้น หลังจากที่ในช่วงต้นปี 2565 เริ่มมีสัญญาณปรับตัวของพฤติกรรมผู้บริโภคในด้านความถี่ ราคา และประเภทอาหารที่สั่ง และหากมองไปข้างหน้ายังมีผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนเข้ามาเพิ่มเติมด้วย

อย่างไรก็ดี ธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ น่าจะยังได้รับแรงหนุนจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ในช่วงที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดยังสูง และสถานประกอบการยังให้ทำงานแบบ Hybrid Work กอปรกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มและร้านอาหารยังคงทำการตลาดและอัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นการสั่งอาหารควบคู่ไปกับการขยายการใช้งานไปยังผู้ใช้ใหม่ๆ

โดยจากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 80% จะยังคงใช้งานแอพพลิเคชั่นจัดส่งอาหารเท่าเดิมถึงเพิ่มขึ้น และจากข้อมูล LINE MAN Wongnai พบว่า ดัชนีร้านอาหารที่เข้าสู่แพลตฟอร์มในเดือน ม.ค. 65 ยังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ดัชนีชี้วัดปริมาณการจัดส่งอาหารไปยังที่พักชะลอลงจากช่วงปลายปีก่อนแต่ยังสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ทั้งนี้ ภายใต้สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผู้ประกอบการต้องเผชิญโจทย์ท้าทายมากขึ้น ได้แก่ 1. การปรับขึ้นราคาอาหารและค่าจัดส่งทำได้อย่างจำกัด ขณะที่ต้นทุนกลับเร่งตัวขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่พบว่า หากร้านอาหารขึ้นราคาอาหารหรือค่าจัดส่ง กลุ่มตัวอย่างราว 53% มีแนวโน้มจะลดค่าใช้จ่ายในด้านอาหารลง และบางส่วนจะทำอาหารทานเองมากขึ้น

2. ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและการใช้บริการแอพพลิเคชั่นจัดส่งอาหาร ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี เพื่อรับมือกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น อันอาจทำให้จำนวนคำสั่งซื้อชะลอตัวลงของ โดยเฉพาะร้านอาหารประเภทเครื่องดื่ม ขนมหวานและเบเกอรี่ ร้านอาหารบนแพลตฟอร์มที่เน้นการให้บริการนั่งทานในร้าน และกลุ่มอาหารที่มีราคาระดับกลาง-สูง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้บริโภคกลับไปใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น

3. การแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต้องทำการตลาดเพื่อจูงใจผู้บริโภค และดึงดูดร้านอาหารที่มีชื่อเสียงให้เข้ามาอยู่บนระบบตนอย่างต่อเนื่อง