อดีตพยาบาลผันตัวสร้างอาณาจักรเมล่อน รายได้สัปดาห์ละ 6หมื่น

“พยาบาล” นับเป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของเด็กผู้หญิงหลายคนในวัยเยาว์ เพราะมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี คนยกย่อง อยู่ในสถานที่สะอาดสะอ้าน ได้ช่วยเหลือคนอื่น

แต่สำหรับ “ดุสิตา ธรรมสถิตพร” หรือ ไหม หญิงสาวในวัยเพียง 27 ปี เลือกที่จะปฏิเสธตำแหน่งพยาบาลดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งโรงพยาบาลกรุงเทพฯ เงินเดือนหลายหมื่นบาท มาสวมบทบาทเกษตรกรปลูกเมล่อนในพื้นที่ 8 ไร่ ที่ ต.เขาเพิ่ม อ.บ้านนา จ.นครนายก โดยเธอตั้งปณิธานไว้ว่า การเป็นเกษตรกรจะต้องไม่ยากจน” เสมอไป

14625342_1506422372718196_1100232586_n

และเชื่อไหมว่าอดีตนางพยาบาลคนนี้ ภายหลังเป็นเกษตรกรเพียงปีเดียว ปัจจุบันเธอมีรายได้สัปดาห์ละ 60,000 บาท มากกว่าที่เป็นพยาบาลซะอีก

คุณไหม เล่าว่า หลังจากเรียนจบพยาบาลเฉพาะทางจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 54 ก็ทำงานตามที่เรียนมา ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง แผนกผู้ป่วยมะเร็งนาน 4 ปี ทำงานวันละ 12 – 13 ชั่วโมงทุกวัน สุขภาพเริ่มแย่ ค่าเม็ดเลือดทุกตัวตกลงทุกปี ประกอบกับสามีเป็นหมอ แนะนำว่าให้ลาออกจากงาน เพื่อไปรักษาตัวเอง แต่เนื่องจากไม่อยากอยู่บ้านเฉยๆ มีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่น ไปได้ลองทานเมล่อน รสชาติดีมาก หวาน กรอบ อร่อย เลยเกิดไอเดียกลับมาปลูกเมล่อนที่เมืองไทย

14686174_1506422766051490_1548371535_n

ตอนที่คุณไหมไปกินเมล่อนที่เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เธอบอกว่า  ประทับใจมาก แต่ราคาค่อนข้างแพง ชิ้นเล็กๆ 90 บาท คิดว่าเมืองไทยก็สามารถปลูกได้ เลยมาหาข้อมูล ซึ่งพบว่า ที่เทพมงคลฟาร์มเมล็ดพันธุ์ อยู่ที่จ.มหาสารคาม เปิดโรงเรียนสอนผู้ที่สนใจอยากปลูกเมล่อน ชื่อว่า “โรงเรียนเกษตรกรไทยไม่จน จึงไปเรียน แล้วกลับมาตั้งใจปลูกอย่างจริงจัง

ก่อนตัดสินใจปลูกเมล่อน หญิงสาวเคยคิดจะทำธุรกิจบ้านพักคนชรา เธอมองว่า ต้นทุนเดิมเป็นพยาบาล ประกอบกับมีที่ดิน 60 ไร่ ที่จังหวัดนครนายก แต่เนื่องจากที่ดินอยู่ไกลจากถนนใหญ่มาก หากเกิดเหตุฉุกเฉินกลัวไปโรงพยาบาลไม่ทัน เลยล้มเลิกความคิดนี้ และคิดว่าการปลูกเมล่อนนี่ล่ะ ที่จะยึดเป็นอาชีพหลักเพราะตั้งใจไว้ว่าอยากจะทำธุรกิจขายสุขภาพดี

14686068_1506422279384872_1926990676_n

คุณไหมเริ่มทำไร่เมล่อน เมื่อเดือน กรกฎาคม 58 บนพื้นที่ 8 ไร่ จ.นครนายก ตั้งชื่อว่า พ.ฟาร์ม ซึ่งเงินลงทุนเธอขอยืมจากคุณพ่อ 2 ล้าน เพื่อสร้างโรงเรือน 16 โรงเรือน ปลูกเมลอนฉลี่ยโรงเรือนละ 400 ต้น สร้างระบบน้ำหยด ค่าแรงพนักงาน นับว่าท้าทายมาก เพราะไม่มีความรู้เลย หญิงสาวต้องคอยถามผู้รู้ตลอดเวลา

สำหรับสายพันธุ์เมล่อนที่อดีตพยาบาลสาวปลูก เธอบอกว่า เน้นที่ความหลากหลาย มีประมาณ 10 สายพันธุ์ อาทิ พันธุ์แสนหวาน (เนื้อจะสีส้ม รสชาติหวานกรอบ) ภูไท (เนื้อเหมือนฝักทอง) ฮิเดโกะ (เนื้อและรสชาติเหมือนเมล่อนญี่ปุ่น) นอกจากนั้นยังมี จันทร์ฉาย ไข่ทองคำ  ฮามิกัว หรือแตงทิเบต ปลูกสลับหมุนเวียนไป โดยเมล่อนทุกลูกจะถูกตรวจโดยเครื่องมือวัดความหวาน โดยเฉลี่ยลูกละ 14 องศาบริกซ์

 

ด้านจำนวนผลผลิต  เจ้าของไร่ บอกว่า ปัจจุบันปลูกเมล่อนทั้งหมด 16 โรงเรือน (ปลูกเมลอนฉลี่ยโรงเรือนละ 400 ต้น) ทุกๆ 3เดือนจะเก็บเมล่อนได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ 150 – 200 ลูก น้ำหนักลูกละ 1.2 – 1.5 กิโลกรัม จำหน่ายเกรด A ราคา 115 บาท/กก. ราคาเกรด B กิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งราคาต้นทุนเมล่อนกิโลกรัมละ 85 บาท

ในส่วนของผลเมล่อนที่ตกเกรด และผลอ่อนจนต้องปลิดทิ้ง จะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  อาทิ ไอศกรีมเมล่อน สาคูเมล่อนนมสด พายเมล่อน สลัดเมล่อน ซาลาเปาเมล่อน สมูทตี้เมล่อน ส้มตำเมล่อน จำหน่ายที่ร้านหน้าสวน สามารถสร้างรายได้ปีละกว่า 1 ล้านบาทเลยทีเดียว

14232384_1050923081670926_2483506009045350133_n

14699954_1506422389384861_1355992968_n

นอกจากไร่ปลูกเมล่อนแล้ว อดีตพยาบาลสาวยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น เธอมองการณ์ไกล นำพื้นที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายก

“โรงเรือนของไหมวิวดี ล้อมรอบด้วยภูเขา ใกล้ทุ่งนาเขียวขจีสวยงามมาก เลยเปิดให้คนภายนอกเข้ามาชม รวมถึงจำหน่ายเมล่อนและขายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเมล่อน ลูกค้าสามารถเข้ามาตัดผลได้เอง ขายแบบไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง”