ปันโปร จับมือ SEA Bridge เปิดเพจ “เหงียนไทย” แพลตฟอร์มผลักดันธุรกิจ-สินค้าไทยบุกตลาดเวียดนาม

ปันโปร จับมือ SEA Bridge เปิดเพจ “เหงียนไทย”
ปันโปร จับมือ SEA Bridge เปิดเพจ “เหงียนไทย”

บริษัท ปันโปรโมชั่น จำกัด (ปันโปร) แพลตฟอร์มโปรโมชั่นและไลฟ์สไตล์ออนไลน์ที่มีผู้ติดตามในเครือรวมกว่า 15 ล้านผู้ติดตาม ร่วมกับ บริษัท เรียลลี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (SEA Bridge) ผู้ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้ประกอบการขยายตลาดต่างประเทศ เปิดเพจ “เหงียนไทย” แพลตฟอร์มผลักดันธุรกิจ-สินค้าไทยบุกตลาดเวียดนาม

โดยมี คุณกฤษฎา ตั้งกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ปันโปร, คุณอรวรรณ กิตติธนนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด ปันโปร และ นายแคสเปอร์ เสริมสุขสัน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SEA Bridge ร่วมพูดคุย

ปันโปร จับมือ SEA Bridge เปิดเพจ “เหงียนไทย”
ปันโปร จับมือ SEA Bridge เปิดเพจ “เหงียนไทย”

ความน่าสนใจของตลาดเวียดนาม คือมีจำนวนประชากรมากกว่า 100 ล้านคน มีแนวโน้มกำลังซื้อ อัตราการบริโภคและการขยายของสังคมเพิ่มขึ้น และประเทศไทยถือเป็นหมุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ที่คนเวียดนามเลือกมาเที่ยว

อีกทั้ง คนเวียดนามมีความเชื่อมั่นในสินค้าไทย จะยอมจ่ายในราคาพรีเมียมเพื่อซื้อสินค้าที่เขียนว่า Made in Thailand แม้ราคาจะสูงแต่มีคุณภาพ โดยสินค้าที่นิยมซื้อกลับไปคือหม้อหุงข้าว และพัดลม ด้วยเพราะดีไซน์ที่ทันสมัย

นอกจากนี้ยังพบว่า คนเวียดนาม ชอบกินส้มตำ ข้าวเหนียวมะม่วง หมูปิ้ง และ ตึก GMM Grammy คือหมุดหมายปลายทางที่อยากแวะมา จากการติดตามละคร เพลง และซีรีส์ไทย

ปันโปรและ SEA Bridge จึงมองว่าเป็นโอกาสและสัญญาณที่ดีในการทำให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสนำสินค้าและบริการเข้าไปแข่งขันในตลาดเวียดนามได้ จึงได้ร่วมมือเปิดเพจ “เหงียนไทย (Nghien Thai)หมายถึงเสพติดประเทศไทยหรือหลงรักความเป็นไทย เพื่อเป็นพื้นที่และช่องทางผลักดันให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในเวียดนาม

โดยเฟซบุ๊ก คือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่คนเวียดนามนิยมใช้ รองลงมาคือ TikTok ซึ่งจะขยายแพลตฟอร์มเหงียนไทยสู่ TikTok ต่อไป โดยมีพาร์ตเนอร์โลคอลทีมจากเวียดนามมาร่วมทำคอนเทนต์ใน TikTok พาคนเวียดนามเที่ยวไทย พูดภาษาไทย

ปันโปร จับมือ SEA Bridge เปิดเพจ “เหงียนไทย”
ปันโปร จับมือ SEA Bridge เปิดเพจ “เหงียนไทย”

เพจเหงียนไทย เปิดตัวประมาณเดือนสิงหาคม 2566 มีการนำเสนอคอนเทนต์ เล่าสตอรี่เกี่ยวกับวัฒนธรรม สินค้า บริการ การท่องเที่ยวของไทยเป็นภาษาเวียด เหมือนเพื่อนคนไทยเล่าให้ฟัง ซึ่งจะได้อินไซต์ที่ครบทุกมุม ใหม่กว่า สดกว่า รวมไปถึงการทำมาร์เก็ตรีเสิร์ช เป็นข้อมูลให้ผู้ประกอบการไทย

นอกจากนี้ ได้ลงนามความร่วมมือด้านการตลาดกับ Coc Coc Company Limited (Cốc Cốc) ผู้ให้บริการ Search Engine รายใหญ่ของเวียดนาม มีผู้ใช้บริการกว่า 30 ล้านคน เพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจไทยมีช่องทางประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการที่ประเทศเวียดนามมากขึ้น

ปัจจุบันมีคนเวียดนามติดตามเพจเหงียนไทย 100,000 ผู้ติดตาม โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง กลุ่มวัยรุ่น อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ อย่าง โฮจิมินห์ ฮานอย และดานัง โดยตั้งเป้า 1,000,000 ผู้ติดตามภายในปี 2567

อย่างไรก็ตาม อีกเป้าหมายของเหงียนไทย คือการผลักดันให้เกิด Success Case ช่วยผู้ประกอบการไทยบุกตลาดเวียดนาม และมีแผนขยายแพลตฟอร์มไปประเทศต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย จีน เกาหลี และซาอุดีอาระเบีย