รางจืด สมุนไพรทางเลือก มีดีกว่าลดน้ำตาล ตัวช่วยรับมือ ฝุ่น PM2.5

รางจืด สมุนไพรทางเลือก มีดีกว่าลดน้ำตาล ตัวช่วยรับมือ ฝุ่น PM2.5

ปัญหาฝุ่น PM2.5 กลับมาสร้างความรำคาญใจให้เหล่าคนที่อาศัยในเมืองกันอีกแล้ว ซึ่งในฝุ่น PM2.5 มักพบธาตุทางเคมีที่เป็นโลหะหนักที่ก่อมะเร็งปะปนอยู่ ได้แก่ สารหนู ซีลีเนียม แคดเมียม โดยกลุ่มธาตุพวกนี้มักเกิดจากการเผาไหม้ของอุตสาหกรรมและยานพาหนะ นั่นเอง

รูปภาพ จาก เว็บไซต์ เทคโนโลยีชาวบ้าน

เพจ สมุนไพรอภัยภูเบศร เผยว่า มีงานวิจัยในหนูทดลองยืนยันว่า รางจืด สามารถปกป้องตับและไตจากแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนัก ที่พบได้ใน PM2.5 ได้ โดยงานวิจัยรายงานว่า สารสกัดรางจืดสามารถป้องกันความเป็นพิษต่อตับและไตจากแคดเมียมได้

รวมถึงลดพิษของตะกั่ว ซึ่งมีผลต่อความจำและการเรียนรู้ของหนู โดยรางจืดมีผลทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลง ด้วยกลไกการต้านออกซิเดชันโดยตัวของรางจืดเอง และการไปช่วยรักษาระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ

ในตำรายาไทยและตำรายาพื้นบ้าน มีการใช้รากและเถารางจืด กินเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและรากใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ผดผื่นคัน เริม สุกใส ทำลายพิษยาฆ่าแมลง หรือยาเบื่อ พิษจากการดื่มสุรามากเกินไป

นอกจากนี้ หมอยาพื้นบ้าน ยังมีการใช้รางจืดเป็นยาลดความดันโลหิต รักษาอาการแพ้ ผดผื่นคันตามผิวหนัง ใช้แก้พิษ ไม่ว่าจะเป็นพิษยาเบื่อ ยาสั่ง ยาฆ่าแมลง พืชพิษ เห็ดพิษ สัตว์มีพิษไม่ว่าจะเป็นพิษงู แมงป่อง หรือตะขาบ รวมไปถึงพิษสุราและยาเสพติด

จากข้อมูลการใช้พื้นบ้าน และงานวิจัยที่พบ อาจเป็นประโยชน์ในการนำรางจืดไปประยุกต์ใช้ลดความเป็นพิษของโลหะหนักจากมลภาวะ PM2.5 ที่เกิดขึ้นได้

โดยวิธีใช้รางจืด มีหลากหลายวิธีที่นำมา 

สามารถใช้ในขนาดที่ระบุในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อหวังผลล้างสารพิษในร่างกายตามภูมิปัญญาเดิม และใช้ดูแลสุขภาพ ป้องกันความเป็นพิษจากโลหะที่อยู่ในมลภาวะ

รูปภาพ จาก เว็บไซต์ เทคโนโลยีชาวบ้าน

แคปซูลรางจืด

ขนาดการใช้ : ครั้งละ 500-1,000 มิลลิกรัม (แนะนำครั้งละ 2 แคปซูล) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ชาชงรางจืด

ขนาดการใช้ : รับประทานครั้งละ 2-3 กรัม (1-2 ซอง) ชงน้ำร้อน 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ

สเปรย์รางจืด

นอกจากการใช้รางจืดในรูปแบบรับประทานแล้ว การใช้ภายนอกกับผิวหนังก็ให้ผลดีในด้านต้านการแพ้ และมลภาวะได้เช่นกัน โดยสามารถใช้รางจืดในรูปแบบสเปรย์ ฉีดพ่นผิวหนังที่มีอาการแพ้คันได้บ่อยๆ ตามต้องการ

ข้อควรระวัง :

– ระวังการใช้ในผู้ป่วยตับไต และไม่ควรกินติดต่อเกิน 1 เดือน เนื่องจากเป็นยาฤทธิ์เย็น

– ยังไม่มีรายงานความปลอดภัยการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้

รูปภาพ จาก เว็บไซต์ เทคโนโลยีชาวบ้าน

อันตรกิริยาระหว่างยา :

– ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอื่นอย่างต่อเนื่องเพราะยารางจืด อาจเร่งการขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกาย ทำให้ประสิทธิผลของยาลดลง (ควรทานห่างจากยาโรคประจำตัว หรือยาตามปกติอย่างน้อย 2 ชั่วโมง)

– รางจืดอาจเสริมฤทธิ์ยาลดน้ำตาลในเลือด

แหล่งอ้างอิง

  1. Ruangyuttikarna W, et al. Thunbergia laurifolia leaf extract mitigates cadmium toxicity in rats. ScienceAsia 39 (2013): 19–25.
  2. พลอยไพลิน ฉัตตะวิริยะ และคณะ. การดื่มน้ำสกัดใบรางจืดช่วยป้องกันการเกิดพิษของแคดเมียมต่อไตหนูขาว. วารสารพิษวิทยาไทย 2553; 25(2)
  3. Junsi M, et al. Phenolic and flavonoid compounds in aqueous extracts of Thunbergia laurifolia leaves and their effect on the toxicity of the carbamate insecticide methomyl to murine macrophage cells. Functional Foods in Health and Disease 2017; 7(7): 529-544
  4. Phyu, M. P. and Tangpong, J. Protective effect of Thunbergia laurifolia (Linn.) on Lead induced acetylcholinesterase dysfunction and cognitive impairment in mice. Journal of Biomedicine and Biotechnology 2013: 186098.
  5. คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2561
  6. Toemmongkonchai S and Chalermchai T. A Comparative Study Among Thunbergia Laurifolia Lindl. Extract Cream, 0.02%TriamCinolone Cream and Cream base for the Treatment of Plaque Type Psoriasis. The 4th International Graduate Research Conference Assumption University of Thailand[online][cited 2018 Jan 26]: 276-278. Available from: http://www.39ngrconference.au.edu/06Proceedings%20Health…