สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ปรับมาตรการให้บริการลูกค้า หลัง ศบค.คุมเข้มโควิด

สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ปรับมาตรการให้บริการลูกค้า หลัง ศบค.คุมเข้มโควิด
สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ปรับมาตรการให้บริการลูกค้า หลัง ศบค.คุมเข้มโควิด

สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ปรับมาตรการให้บริการลูกค้า หลัง ศบค.คุมเข้มโควิด

วันที่ 10 ก.ค. 2564 ตามที่การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติ เห็นชอบให้ยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับ 10 จังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา โดยจำกัดการเคลื่อนย้ายและการรวมกลุ่มของบุคคลขั้นสูงสุด รวมถึงกำหนดเวลาการออกนอกเคหสถาน เพื่อให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้เท่าทันต่อสถานการณ์นั้น

สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) และธนาคารสมาชิกทุกแห่ง ประกอบด้วย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พร้อมที่จะให้บริการลูกค้าประชาชนอย่างต่อเนื่องภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในส่วนของการให้บริการ ณ ที่ทำการสาขาทุกแห่งของธนาคารนั้น ยืนยันว่า ยังให้ความสำคัญกับมาตรการรองรับการให้บริการแก่ลูกค้า ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 

  1. ธนาคารอาจพิจารณาปิดให้บริการสาขาบางแห่งตามความจำเป็น โดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดทั้ง 10 จังหวัด เป็นการชั่วคราว ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม สมุทรปราการ สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งลูกค้าสามารถตรวจสอบสาขาที่ปิดให้บริการชั่วคราวได้ตามประกาศที่ทางเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร
  2. กำหนดเวลาเปิดทำการสาขาทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 ดังนี้
  • สาขาในห้าง/สาขาที่เปิดให้บริการไม่เกิน 17.00 น. จะยังคงเปิดให้บริการเวลาไม่เกิน 17.00 น.
  • สาขาอื่นๆ เปิดให้บริการเวลาไม่เกิน 15.30 น.
  • สาขาใน 3 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย ยะลา นราธิวาส และปัตตานี เปิดให้บริการเวลาไม่เกิน 15.00 น.
  1. จำกัดช่องให้บริการและจำนวนลูกค้าในสาขา เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม และลดความแออัด
  2. กรณีสาขามีพนักงานหรือลูกค้าติดเชื้อ ให้ปฏิบัติ ดังนี้
  • ให้แต่ละธนาคารปิดบริการสาขาที่มีผู้ติดเชื้อเป็นการชั่วคราว เพื่อทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อ และกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • พนักงานที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย ให้ตรวจหาเชื้อ/และกักตัวเองในที่พักทันที ตามระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  • จัดให้มีพนักงานปฏิบัติงานทดแทน และต้องเป็นพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องหรือสัมผัสเชื้อ

ขณะเดียวกัน ลูกค้ายังสามารถใช้บริการสำคัญของธนาคารเพิ่มเติมที่ตู้อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตู้ ATM ซึ่งธนาคารทุกแห่งได้เตรียมสำรองธนบัตรไว้อย่างเพียงพอ รวมถึงการให้บริการผ่าน Application Mobile Banking ของแต่ละธนาคาร เพื่อลดการเดินทาง ลดความเสี่ยง และการสัมผัสธนบัตร