โควิดรอบใหม่ทำป่วน! ร้านอาหาร วูบ 90% สูญรายได้ 3 แสนต่อวัน 

โควิดรอบใหม่ทำป่วน! ร้านอาหาร วูบ 90% สูญรายได้ 3 แสนต่อวัน 
โควิดรอบใหม่ทำป่วน! ร้านอาหาร วูบ 90% สูญรายได้ 3 แสนต่อวัน 

โควิดรอบใหม่ทำป่วน! ร้านอาหาร วูบ 90% สูญรายได้ 3 แสนต่อวัน 

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม เว็บไซต์ มติชนออนไลน์ รายงานข่าวระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศระลอก 2 ใน 40 กว่าจังหวัดทั่วประเทศ เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่ถูกคุมเข้มลดการแพร่ระบาด คุณฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ว่า ภาพรวมการจองร้านอาหาร หรือจองอาหารเพื่อจัดเลี้ยง ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ย้อนกลับไปในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนพบการระบาดโควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร ยอดจองเข้ามาดีมาก อยู่ในระดับที่สูงกว่าการประกอบธุรกิจมาทั้งปี 2563 แต่พอเจอการระบาด พบว่า ยอดยกเลิกสูงมาก เทียบการยกเลิกไปกว่า 90% โดยในจำนวนร้านอาหารภายใต้สมาคมกว่า 200-300 ราย ถูกยกเลิกการจองจัดงานแทบทั้งหมด ซึ่งในวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา มีร้านค้าภายใต้สมาคม เปิดเผยยอดขายหายไปกว่า 3 แสนบาทต่อวัน

คุณฐนิวรรณ กล่าวว่า ความน่ากลัวในตอนนี้ คือยังไม่สามารถรู้ได้ว่าบุคคลใดรับเชื้อโควิด-19 เข้ามาบ้าง ทำให้การใช้ชีวิตในขณะนี้ มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะหากมีการรวมตัวกันในจำนวนมาก และไม่มีมาตรการรองรับที่เคร่งครัดมากพอ อาทิ การเว้นระยะห่างระหว่างกัน การล้างมือบ่อยๆ การทำความสะอาดสิ่งของสาธารณะที่ต้องใช้ร่วมกัน อาทิ ห้องน้ำ เก้าอี้ โต๊ะ โดยขณะนี้ในบางร้านอาหาร หรือภัตตาคารขนาดใหญ่ เริ่มมีการกำหนดการทำความสะอาดที่รัดกุมมากขึ้น อาทิ หากมีเมนูอาหาร 9 รายการ รับประทานเสร็จแล้ว 1 รายการ จะต้องเก็บภาชนะทุกอย่างและทำความสะอาดทั้งหมด ก่อนจะนำเมนูอื่นๆ มาให้บริการเพิ่ม

“ขณะนี้หากประเมินตัวเลขการจองร้านอาหาร ถือว่ายังมีอยู่บ้าง ในส่วนของงานเลี้ยงขนาดเล็ก จำนวนไม่เกิน 20 คน ส่วนยอดจองสำหรับ 50 คนขึ้นไป ถูกยกเลิกหมดแล้ว เพราะความกังวลในการรวมตัวกันจำนวนมากเกินไป” คุณฐนิวรรณ กล่าว

คุณฐนิวรรณ กล่าวว่า ความกังวลในตอนนี้มีเรื่องเดียวคือ กลัวการกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง เพราะผู้ประกอบการบางรายต้องแบกรับต้นทุนพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ บางรายสูงถึง 1 ล้านบาทต่อเดือน หากมองในส่วนของกำไรของร้านอาหารจะอยู่ที่เครื่องดื่ม ไม่ใช่อาหาร ส่วนการย้ายไปสู่ออนไลน์ หรือการส่งดีลิเวอรี่ จะตัดกำไรในส่วนนี้ออก และมีการแข่งขันสูง ทำให้การล็อกดาวน์อีกรอบจึงถือเป็นการเร่งให้ผู้ประกอบการปิดตัวลงเร็วขึ้น ซึ่งหากมีการปิดตัวลง จะทำให้ลูกจ้างตกงาน และภาระจะอยู่ที่รัฐบาลว่ามีเงินสมทบในประกันสังคมมากเพียงพอหรือไม่