เผยแพร่ |
---|
สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ สนับสนุน “แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี” ในการฝึกอบรมเรื่องแซลมอน พร้อมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) นำโดย ดร.อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ที่ 2 จากซ้าย) สนับสนุนจาก บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) นำโดย นางเอกธิดา เสรีรัตน์วิภาชัย ผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารสินค้าอาหารสด (ที่ 3 จากซ้าย)
พร้อมด้วยแม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี (MHA) นำโดย นางสาวณัฎฐินี ปลอดทอง ผู้จัดการอาวุโส แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี (MHA) (ที่ 4 จากซ้าย) จัดฝึกอบรม ‘EATucation – The Culinary Showcase’ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ร่วมกับ เชฟจิมมี่ ช๊ก เชฟกิตติมศักดิ์ของ Seafood from Norway (ที่ 1 จากซ้าย) ณ The Food School กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทย
การฝึกอบรม ‘EATucation – The Culinary Showcase’ เน้นให้ความรู้แก่ลูกค้ากลุ่มโฮเรก้า ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารที่แม็คโครให้ความสำคัญ เดินหน้าพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารต้นทุนธุรกิจร้านอาหาร และการเลือกสรรวัตถุดิบเพื่อนำเสนอเมนูที่น่าสนใจให้กับลูกค้า
สำหรับการฝึกอบรมในครั้งนี้ เน้นเรื่องการใช้วัตถุดิบ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แซลมอนจากนอร์เวย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงวิธีการลดขยะจากเศษอาหารเหลือทิ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจและความยั่งยืน โดยเชฟจิมมี่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาที่ไปของแซลมอนจากนอร์เวย์
เทคนิคในการดูแล ตั้งแต่ซัพพลายเออร์มายังร้านอาหาร การเตรียมอาหาร การหั่นเพื่อเพิ่มผลผลิตสูงสุด ไอเดียการปรุงอาหาร การรักษาความสดใหม่ ตั้งแต่แช่แข็ง การละลาย และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เมนูต่างๆ ให้กับลูกค้าของแม็คโคร และเครือข่ายร้านอาหารชั้นนำในประเทศไทย ที่เข้าร่วมอบรมกว่า 40 ราย พร้อมกับเพจเพื่อนแท้ร้านอาหาร และขายดีไปด้วยกัน ที่มาช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมในครั้งนี้
ในทุกๆ ปี อุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ส่งมอบอาหารทะเลเทียบเท่ากับมื้ออาหารจำนวน 40 ล้านมื้อต่อวัน เป็นปริมาณ 2.9 ล้านตัน และมูลค่ารวม 5.1 แสนล้านบาท ให้แก่ 150 ประเทศทั่วโลก การจัดการทรัพยากรทางทะเลอย่างมีความรับผิดชอบมานานกว่าศตวรรษคือหัวใจหลักของการประมงนอร์เวย์ นอร์เวย์ปรับเปลี่ยนจากการจับปลาอย่างเสรีมาสู่กฎระเบียบที่เข้มงวด และมีการกำหนดมาตรฐานการจัดการความยั่งยืนทางทะเลจากการเรียนรู้บทเรียนในอดีต และช่วยสร้างความตระหนักให้แก่อุตสาหกรรมการประมงทั่วโลก