โซลาร์เซลล์ ตัวช่วยในการเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าในครัวเรือน

โซลาร์เซลล์ ตัวช่วยในการเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าในครัวเรือน

หลายคนอาจจะกำลังมองหาตัวช่วยในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่มีความผันผวนของราคาสูง แต่ก็จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น หลายคนจึงหันมาเลือกใช้โซลาร์เซลล์ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ในการติดตั้งก็มีความละเอียด ซับซ้อน ต้องประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ ดังนั้น เราควรติดต่อบริษัท ผู้ความเชี่ยวชาญ เพื่อให้คำปรึกษา ช่วยดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์อย่างถูกต้อง

อย่างบริษัท Personet ให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ คำนวณความเข้มของแสงแดดด้วยโปรแกรมมาตรฐานระดับโลก ประเมินค่าใช้จ่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจ ตลอดจนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในหลากหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน ด้วยทีมงานวิศวกรไฟฟ้ามืออาชีพ มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ผ่านการอบรมจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียบร้อยแล้ว พร้อมด้วยอุปกรณ์ผ่านมาตรฐานที่เราสามารถมั่นใจในคุณภาพได้อย่างเต็มที่

โซลาร์เซลล์ คืออะไร

โซลาร์เซลล์ (Solar cell) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ เซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ เป็นการสร้างกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าด้วยแผงโซลาร์เซล เมื่อแผงนี้ มีการสัมผัสกับแสงอาทิตย์ โดยโซลาร์เซลล์เป็นส่วนประกอบสำคัญในการจับแสงแดดและแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานได้

โดยทั่วไปแล้ว โซลาร์เซลล์ทำจากวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ เช่น ซิลิคอน ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะช่วยให้สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อโฟตอน (อนุภาคของแสง) กระทบกับพื้นผิวของโซลาร์เซลล์ โฟตอนสามารถขับอิเล็กตรอนออกจากวงโคจรของอะตอม ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟนี้ สามารถใช้จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเก็บไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อใช้งานในภายหลัง

โซลาร์เซลล์มีหลากหลายประเภท ได้แก่ เซลล์โมโนคริสตัลไลน์ โพลีคริสตัลไลน์ ฟิล์มบาง และเซลล์หลายทางแยก ซึ่งแต่ละชนิดก็มีประสิทธิภาพ ต้นทุน ลักษณะการทำงานแตกต่างกัน ทำให้มีชนิดแผงโซลาร์เซลล์หลากหลายด้วยเช่นกัน ดังนั้น ก่อนติดตั้ง เราจึงควรทำการศึกษาและเลือกใช้อย่างเหมาะสม

ติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างถูกวิธี ช่วยลดปัญหาที่จะตามมา

ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย เราจำเป็นต้องดำเนินการขออนุญาตจากภาครัฐก่อน จึงจะดำเนินการได้ ด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นการลงทุนในระยะยาว ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาขั้นตอนการติดตั้งให้ดี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด ลดปัญหาในภายหลังได้

1. ประเมินความต้องการพลังงานไฟฟ้า เพื่อกำหนดขนาดโซลาร์เซลล์หรือแผงโซลาร์เซลล์จากหลายๆ ปัจจัย เช่น แสงอาทิตย์ ร่มเงา การวางแนวหลังคา มุมองศา เป็นต้น

2. เลือกประเภทและยี่ห้อของแผงโซลาร์เซลล์เหมาะกับความต้องการรวมถึงงบประมาณที่มีอยู่ ด้วยชนิดแผงโซลาร์เซลล์ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย พร้อมทั้งเลือกเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์เหมาะสมตามการออกแบบการจัดวางแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา

3. ซื้อแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ อุปกรณ์ติดตั้ง สายไฟ รวมทั้งอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ พร้อมทั้งตรวจสอบโครงสร้างของหลังคาว่ามีความแข็งแรงมากพอจะรองรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้

4. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา เชื่อมต่อแผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ตามรหัสไฟฟ้าตามคำแนะนำของผู้ผลิต โดยคำนึงถึงการระบายอากาศร่วมด้วย

5. ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า อุปกรณ์ทั้งหมดสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง

6. หมั่นดูแล ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์เป็นระยะ ตรวจสอบความเสียหาย การทำงานให้เป็นปกติอยู่เสมอ

การติดตั้งโซลาร์เซลล์อาจจะมีความซับซ้อน ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ดังนั้น เราจึงขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รับติดตั้ง โดยได้รับใบอนุญาต เพื่อให้แน่ใจว่า เราจะได้รับการติดตั้งอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพเป็นไปตามกฎระเบียบ

การติดตั้งโซลาร์เซลล์มีข้อดีอย่างไร

การติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือแผ่นโซลาร์เซลล์มีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะทั้งต่อตัวบุคคลและต่อสังคมโดยรวม ดังนี้

1. ลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน

ด้วยรูปแผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด ทำให้บ้านหรือธุรกิจของเราสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้จากการผลิตของตัวเอง ทำให้ลดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งโซล่าเซลล์ต้องการการบำรุงรักษาเล็กน้อย เช่น การทำความสะอาด การตรวจสอบเป็นครั้งคราว จึงนับว่า ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้เป็นอย่างมาก

2. เป็นการลงทุนในระยะยาว

บ้านหรือธุรกิจที่มีการติดตั้งแผ่นโซลาร์เซลล์มักจะมีมูลค่าทรัพย์สินสูงกว่า เนื่องจากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นส่วนเสริมของบ้านน่าสนใจ นอกจากนี้ ยังเป็นการลงทุนในระยะยาว จะนำไปสู่ผลตอบแทนคุ้มค่า เมื่อเวลาผ่านไป

3. เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้ไฟฟ้า

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้านของเราเอง ทำให้เราไม่ต้องผูกติดอยู่กับการไฟฟ้าจากส่วนกลางที่อาจจะมีการกระตุกหรือไฟดับ เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น รวมถึงความผันผวนของราคาค่าไฟ เพราะระบบโซลาร์เซลล์มีความเสถียรในการจ่ายไฟ

4. ดีต่อสภาพแวดล้อม

การติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มลพิษทางอากาศ หรือการใช้น้ำ ทำให้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นทรัพยากรนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หมายความว่า เป็นพลังงานไม่มีวันหมดสิ้นตราบเท่าที่ดวงอาทิตย์ส่องแสง ช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งนำไปสู่อนาคตด้านพลังงานยั่งยืนยิ่งขึ้น

5. ส่งเสริมสังคมในภาพรวม

เป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรมทางด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งในส่วนของการผลิต การติดตั้ง การบำรุงรักษา การวิจัย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสในการทำงานของแรงงานต่างๆ อีกทั้งการติดตั้งโซลาร์เซลล์สามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการศึกษา สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน สร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่ยั่งยืนได้อีกด้วย

พลังงานแสงอาทิตย์มีประโยชน์อย่างไร

พลังงานแสงอาทิตย์ให้ประโยชน์มากมายหลายด้าน เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่ดี มีความยั่งยืน จึงมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้

1. เป็นพลังงานหมุนเวียน

พลังงานแสงอาทิตย์ได้มาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานไม่รู้จักหมดสิ้น แทบจะไร้ขีดจำกัด ตราบใดที่ดวงอาทิตย์ยังมีอยู่ นับได้ว่า เราสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอดเวลา จึงถือว่า พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหมุนเวียน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อยู่เสมอ

2. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มลพิษทางอากาศ หรือมลพิษทางน้ำ ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เรียกได้ว่า พลังงานแสงอาทิตย์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. ทุกคนสามารถเข้าถึง

ดวงอาทิตย์สามารถส่องสว่างไปได้ทั่วโลก ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล หรือเข้าถึงลำบาก เช่น ยอดเขา บนดอย ดังนั้น การติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงสามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับพื้นที่เหล่านี้ได้ ซึ่งแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิมไม่สามารถเข้าถึงได้

4. ดีต่อสุขภาพของทุกคน

ในทางการแพทย์ แสงอาทิตย์ก็ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ เมื่อเรานำมาใช้ในการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการใช้น้ำ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศมากกว่าแบบเดิม

5. เป็นพลังงานยั่งยืน

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกนั้น มีส่วนช่วยในการลดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศผันผวนตลอดเวลาในระยะหลังมานี้ ดังนั้น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล นำไปสู่อนาคตของพลังงานสะอาด

แผงโซลาร์เซลล์มีกี่ประเภท

แล้วแผ่นโซลาร์เซลล์ หรือ โซลาร์เซลล์มีกี่แบบ ก่อนอื่น เราต้องมารู้จักก่อนว่า แผงโซลาร์เซลล์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ดังนี้

โซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์

1. โซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์

รูปแผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) เป็นโซลาร์เซลล์ที่ทำจากโครงสร้างผลึกเดี่ยว ข้อดี คือ มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพื้นที่ จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งบนหลังคาพื้นที่จำกัด มีลักษณะเป็นสีดำเงา ทำให้เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการติดตั้งในบ้านพักอาศัย เชิงพาณิชย์ มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถทำงานได้ดีในอุณหภูมิสูง สภาพแสงน้อย แต่มีข้อเสียคือ ราคาสูงกว่าแบบอื่น

2. โซลาร์เซลล์แบบโพลิคริสตัลไลน์

แผงโซลาร์เซลล์แบบ Polycrystalline คือ แผงทำจากโครงสร้างคริสตัลหลายชั้น ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพน้อยกว่าแผงโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย ทำให้มีราคาถูกกว่าแบบ Monocrystalline แต่ก็มีความทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน ส่วนข้อเสียคือ ประสิทธิภาพจะลดลงในสภาพอุณหภูมิสูง

3. โซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบาง

รูปแผงโซลาร์เซลล์แบบฟิล์มบาง (Thin-Film) ทำจากการเคลือบวัสดุเซลล์แสงอาทิตย์เป็นชั้นบางๆ ลงบนพื้นผิว เช่น แก้ว โลหะ ทำให้มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย ประสิทธิภาพจะดีขึ้นในสภาพแสงน้อย อุณหภูมิสูง แต่ข้อเสียคือ ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งมากขึ้น อายุการใช้งานสั้น

สรุป

โซลาร์เซลล์ คือ อุปกรณ์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเราสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ได้บนหลังคาที่มีแสงแดดมาตกกระทบ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะช่วยประหยัดค่าไฟ เพิ่มมูลค่าให้กับบ้านพัก เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้ไฟ อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม เพราะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานบริสุทธิ์ สามารถใช้หมุนเวียนได้ตลอดเวลา ที่สำคัญคือ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล