เผยแพร่ |
---|
แนะวิธี Micro SME เก็บข้อมูลเพื่อทำ Big Data
จากข้อมูลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในปี 2562 กลุ่มธุรกิจที่มีมากที่สุด คือกลุ่มการค้าและการบริการ โดยหากแบ่งกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบการ จะพบว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและรายย่อยมีประมาณ 3,105,096 ราย และเป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่เรียกว่า ‘ไมโคร เอสเอ็มอี’ คือกลุ่มที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนถึงร้อยละ 84.79
ดังนั้น กล่าวได้ว่า Micro SME คือผู้ประกอบการที่เป็นกลุ่มใหญ่ของประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการ ธุรกิจก่อสร้างอาคาร การค้า การขายส่ง และภาคการผลิต
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ขณะที่โลกปัจจุบัน ‘ข้อมูล’ หรือการใช้งาน Big Data ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาธุรกิจให้สามารถ ‘Scaleup’ ได้แม้จะเต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยงมากมายในภาวะกาลปัจจุบัน แต่สำหรับ Micro SME ที่เพียงสามารถพยุงธุรกิจให้อยู่รอดและมีกำไรก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และด้วยการที่ขนาดธุรกิจยัง ‘เล็กมาก’ ทำให้การลงทุนด้านเทคโนโลยีหรือลงทุนในการเก็บข้อมูลทำ Big Data ย่อมต้องมีการประเมินอย่างรอบด้าน
เพราะเป็นที่ทราบดีว่าในการเก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์ Big Data อาจต้องใช้ต้นทุนพอสมควร อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เป็นธุรกิจของ Micro SME อาจจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลง่ายๆ ด้วยโปรแกรม Excel หรือ Google Sheet
รวมทั้งในปัจจุบัน Big Data ได้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเทคโนโลยีแบบ Open-Sourced ผู้ให้บริการอย่างเช่น Hadoop, Python ที่เปิดให้ทดลองใช้บริการซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ฟรี โดยโปรแกรมเหล่านี้ถูกใช้งานโดยบริษัทยักษ์ใหญ่หลายเจ้า เช่น Google Facebook และ Amazon
5 Vs คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับ Big Data
ขณะที่แต่เดิม ‘ข้อมูล’ จะเก็บแยกส่วนกันอยู่ในฐานข้อมูลของฝ่ายต่างๆ ดังนั้น จึงมีแนวคิดของ Data Warehouse ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ตรงกลางเสียก่อน เพื่อทำให้นำไปออกเป็นรายงานได้ง่ายขึ้น
แต่เนื่องจากการที่ข้อมูลในแต่ละส่วนถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจาย ย่อมทำให้การนำมาเก็บใน Data Warehouse เลยก็อาจจะไม่ง่าย จึงต้องมีการทำให้ง่ายขึ้น เรียกว่าการนำข้อมูลเฉพาะด้านมาใช้ เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการซื้อสินค้า และทำให้ข้อมูลอยู่ในแบบฟอร์มหรือชุดข้อมูลรูปแบบ
จากนั้นจึงใส่เข้าไปใน Data Warehouse หรือพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลขององค์กร ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้งานระบบคลาวด์ได้ แถมต้นทุนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้หรือแพ็กเกจที่เลือก
และหลังจากที่มีข้อมูลใน Data Warehouse ก็สามารถนำมาออกเป็นรายงานในส่วนต่างๆ ได้ อีกส่วนหนึ่งก็นำไปวิเคราะห์ในเชิงลึก ด้วยการใช้งาน Machine Learning และ AI เพื่อสร้างโมเดลหรือหา Insight ของข้อมูลให้ได้อีกด้วย
ที่สำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูลของ Big Data อาจจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยมืออาชีพในการวิเคราะห์โดยเฉพาะเจาะจง หรือที่เรียกว่า Data Scientists หรือ ‘นักวิเคราะห์ข้อมูล’ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลจะมีประโยชน์หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่ารู้ความหมายและนำไปใช้อย่างถูกต้อง
ด้วยเหตุนี้ สำหรับ Micro SME ที่เริ่มมีการเก็บข้อมูลทำ Big Data อย่าเพิ่งรีบร้อนจนละเลยความละเอียดรอบคอบในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล แต่ตั้งงบประมาณที่เหมาะสมในการทำ Big Data เพราะนี่จะเป็นก้าวสำคัญที่จะชี้วัดว่าธุรกิจจะสามารถสเกลอัพได้หรือไม่
สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<
Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333