สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’

สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’
สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’

สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’

ข้อมูลเครดิต

เครดิตบูโร (Credit Bureau) ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมหนี้สินในระบบที่ใหญ่ที่สุดของระบบการเงินไทย เป็นสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจ โดยข้อมูลเหล่านี้จะได้มาจากธนาคาร สถาบันการเงิน และ Non-Bank ที่เป็นสมาชิกขององค์กรกลาง ทำให้สถาบันการเงินรู้ว่าการใช้บัตรเครดิตของแต่ละคนเป็นอย่างไร มีประวัติหนี้ดีหนี้เสียอย่างไร จ่ายครบ จ่ายตรงหรือไม่ และมีภาระหนี้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในบ้านเราเรียกองค์กรกลางนี้ว่า บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด นั่นเอง

สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’
สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’

‘เครดิตบูโร’ สำคัญยังไง ทำไมต้องตรวจ?

เพื่อตรวจเช็กข้อมูลตัวเองในเรื่องประวัติการชำระสินเชื่อทั้งหมดที่เรามีว่าเป็นอย่างไร สะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเจ้าของข้อมูล รวมถึงแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการตรวจสอบให้กับตัวเองอีกด้วยว่าเอกสารสำคัญส่วนตัวของเรา มีใครนำไปแอบอ้างทำอะไรหรือไม่

เหตุผลที่ต้องตรวจเครดิตบูโร

  1. เตรียมตัวก่อนไปขอสินเชื่อ-กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ ขอบัตรเครดิต ดังคำว่า “รู้เราก่อนไปหาเขา”
  2. ตรวจว่ามี “หนี้งอก” หรือหนี้ที่ไม่ใช่ของเรา หรือไม่
  3. ตรวจว่า “มีประวัติค้างชำระหรือไม่” ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้อง ขอแก้ไขได้
  4. ตรวจว่า “เมื่อชำระหนี้ที่ค้างหมดไปแล้ว” มีสถานะปิดบัญชี ยอดหนี้เป็นศูนย์ หรือไม่
  5. ตรวจว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ถูกต้องหรือไม่

การตรวจเครดิตบูโรเป็นเหมือนการตรวจสุขภาพทางการเงินประจำปี อย่างน้อยก็ช่วยให้รู้ว่าปีนี้ยังมีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงหรือเปล่า ต้องปรับปรุงอะไรบ้าง เพื่อจะได้วางแผนการเงินเผื่ออนาคต

แต่? เช็กเครดิตบูโรบ่อยๆ ทำไมเสี่ยงขอสินเชื่อไม่ผ่าน

เนื่องจากแต่ละธนาคารจะมีเกณฑ์ หรือเงื่อนไขในการให้สินเชื่อแตกต่างกัน ซึ่งในกรณีที่คุณมีประวัติการเดินบัญชีที่หมิ่นเหม่เมื่อเทียบกับรายได้ การที่คุณเช็กบูโรบ่อยๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่ผ่านการขอสินเชื่อ เนื่องจากธนาคารคิดว่าคุณอาจจะขอสินเชื่อจากที่อื่นไม่ผ่านจึงต้องมาขอสินเชื่อกับที่นี่ ซึ่งสาเหตุที่ไม่ผ่านอาจจะเป็นเพราะคุณสมบัติอะไรบางอย่างก็เป็นได้

สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’
สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’

ต้องทำอย่างไร ให้การขอสินเชื่อง่ายขึ้น

ทำประวัติเราให้ดีก่อนทำการกู้เงิน

เมื่อเรายื่นขอสินเชื่อ ธนาคารจะส่งข้อมูลของเราไปยังบริษัทที่ชื่อว่าเครดิตบูโร เพื่อตรวจดูประวัติการชำระสินเชื่อต่างๆ ว่าเรามีประวัติเป็นยังไง มีประวัติจ่ายเงินตรงเวลาแค่ไหน หรือมีปัญหาอะไรหรือเปล่า หากชื่อของเราขึ้นในเครดิตบูโรว่ามีการค้างชำระ หรือมีประวัติเสีย ธนาคารอาจจะเลื่อนการอนุมัติสินเชื่อหรือปฏิเสธการขอสินเชื่อของเราได้เลย

สมัครทีละสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินจะรู้ว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้สมัครกู้ได้ทำการยื่นขอสมัครสินเชื่อไปกี่ครั้งจากเครดิตบูโร ซึ่งถ้ามีการยื่นขอสมัครเป็นจำนวนมาก สถาบันการเงินจะระมัดระวังในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เนื่องจากคิดว่าผู้กู้ที่มีความต้องการสินเชื่อมากมักจะมีความเสี่ยงสูง

สร้างหนี้

ข้อนี้คงสร้างความแปลกใจให้กับใครหลายๆ คน เพราะการที่เราจะขอสินเชื่อนั้นเครดิตต้องดีไม่ใช่เหรอ มีหนี้สินแบบนี้จะขอสินเชื่อผ่านได้ยังไง สาเหตุก็เพราะทุกครั้งที่คุณมีหนี้ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ประวัติหนี้สิน-การชำระหนี้ต่างๆ จะถูกส่งไปรวบรวมที่เครดิตบูโร ทำให้สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ ดังนั้น ผู้ที่ไม่เคยมีประวัติหนี้สินใดๆ จะทำเรื่องขอสินเชื่อให้ผ่านได้ยาก

เอกสารถูกต้องและพร้อม

สิ่งที่มีปัญหากันมากที่สุดของคนไปขอสินเชื่อกับทางธนาคาร ก็คือเอกสารไม่สมบูรณ์ ทางที่ดีที่สุดควรสอบถามกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร ว่าถ้าต้องการขอสินเชื่อนั้นต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง แล้วมาเตรียมให้ครบ

การเดินบัญชีเรื่องสำคัญ

การเดินบัญชีหรือจะเรียกว่า “หมุนเวียนเงินในบัญชี” สำหรับมนุษย์เงินเดือนเป็นเรื่องที่ปกติ เพราะมนุษย์เงินเดือนจะมีเงินเดือนโอนเข้ามาทุกเดือนเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับคนที่ประกอบอาชีพอิสระนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ยากกว่า สำหรับการเดินบัญชีที่ดีคือต้องมีเงินฝากเหลือทิ้งไว้ในบัญชี เหมือนว่าเรามีเงินเก็บอยู่ในนั้น สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธนาคารได้เป็นอย่างดี ถ้ามีเงินเข้าและออกเท่ากันไม่มีเงินคงเหลือในบัญชีเลย ธนาคารก็จะลดความน่าเชื่อถือลงไป

สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’
สำคัญอย่างไร? ทำไมเราต้องตรวจ ‘เครดิตบูโร’

NPL มีผลต่อการขอสินเชื่อ

ในกรณีที่เป็นหนี้ NPL (Non-Performing Loan) หรือเงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นเกิน 90 วัน ซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินได้ตามกำหนดจนทำให้เกิดเป็นหนี้เสีย ย่อมส่งผลให้สถาบันการเงินหรือธนาคารมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และทำให้โอกาสในการขอสินเชื่อใหม่มีโอกาสถูกปฏิเสธมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งสถาบันการเงินหรือธนาคารจะต้องประเมินความเสี่ยงกลุ่มลูกค้าที่ไม่ยอมจ่ายหนี้ด้วยเช่นกัน

อาชีพและรายได้

เมื่อเราจะขอสินเชื่อนั้นอาชีพก็เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอาชีพที่มั่นคงมากเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อให้คุณมากเท่านั้น เนื่องจากรายได้จะแสดงให้ธนาคารเห็นว่า เรามีความน่าเชื่อถือที่จะชำระหนี้ได้ และถ้าธนาคารอนุมัติสินเชื่อไปจะได้รับเงินคืนกลับมาแน่นอน

แหล่งอ้างอิง :

https://www.ncb.co.th/

https://www.ncb.co.th/

https://www.moneyguru.co.th/

https://www.ncb.co.th/

https://www.smartsme.co.th/

https://moneyhub.in.th/

https://www.set.or.th/

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ
คลิก หรือสายด่วน 1333