เผยวิธีกินสับปะรดยังไงไม่ให้แสบลิ้น ด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ

เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเวลาเรากินสับปะรดถึงแสบลิ้น แล้ววิธีการแก้ไขล่ะ ทำอย่างไร โดยเพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว เผยข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจว่า

หลายคนน่าจะเคยมีประสบการณ์กินสับปะรดแล้วลิ้นมีอาการเจ็บแสบแปลบปลาบรับรสแล้วผิดไปจากปกติ จนรู้สึกไม่อยากกินสับปะรดกัน
ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก และมีคนเสนอวิธีกันหลายอย่างมากมาย

เจ็บแสบขึ้นมาเพราะอะไร ลิ้นรับรสเปลี่ยนเป็นเพราะอะไร
ในสับปะรดมี 2 สิ่งที่ทำให้เราเกิดอาการนี้ได้ก็คือความเป็นกรด และเอนไซม์ Bromelain ซึ่งเจ้าเอนไซม์นี้สามารถย่อยโปรตีนได้ พออยู่ในปากก็จะช่วยทำหน้าที่ย่อยเนื้อเยื่อในช่องปากของเราจนแสบๆ เจ็บๆ ได้ และหากมันไปย่อยถึงบริเวณที่ทำหน้าที่รับรส เราก็จะรับรสเปลี่ยนไปได้

แล้วแก้ไขยังไง 
การแก้ไขก็ตั้งอยู่บนการจัดการกับเอนไซม์ Bromelain และความเป็นกรด ได้แก่

1. แช่น้ำเกลือ : มีผลต่อรสชาติได้หลายปัจจัย ได้แก่
– จากงานวิจัยของนักวิจัยไทยเมื่อปี 2011 พบว่า w/v ในสับปะรดภูแลจะมีการทำงานลดน้อยลงเมื่อเจอเกลือ
– นอกจากนี้แล้ว : การแช่ในน้ำเกลือยังทำให้ความเป็นกรดของสับปะรดลดลงเล็กน้อย คือปกติแล้วความเป็นกรดของสับปะรดอยู่ที่ pH 3.5-4 ซึ่งแม้ในภาวะปกติจะไม่ก่อเรื่องอะไร แต่พอปากเราเจอ Bromelain กัดอยู่ก่อนแล้วก็จะแสบได้ การลดความเป็นกรดลงสักนิดก็จะพอช่วยได้บ้าง
– เกลือช่วยเพิ่มความรู้สึกหวาน : การใส่รสเค็มลงไปในอาหารจะขับรสชาติหวานให้เด่นชัดขึ้น

2. ตัดแกนทิ้ง 
Bromelain ของสับปะรดพบในแกนมากกว่าในเนื้อ การตัดแกนทิ้งไปจะลดความแสบลงได้

3. แช่เย็น 
เอนไซม์ Bromelain ทำงานได้ดีที่สุดในอุณหภูมิประมาณ 60C โดยจะทำงานลดลงเล็กน้อยหากอุณหภูมิต่ำ

4. เอาไปผ่านความร้อน 
ถ้าอุณหภูมิสูงเข้าใกล้ 80C เอนไซม์ Bromelain จะสูญเสียความสามารถในการทำงาน ดังนั้นหากเอาสับปะรดไปทำพิซซ่า/ข้าวผัด/ย่าง เอนไซม์นี้ก็จะทำอะไรเราไม่ได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
1. Asian Journal of Chemistry; Vol. 24, No. 4 (2012), 1429-1431
2. Food Sci. Biotechnol. 20(5): 1219-1226 (2011)

ภาพ https://pixabay.com/…/pineapple-yellow-market-bazaar-22207…/

เรื่องนี้เริ่มมาจากไปอ่านเจอสเตตัสของคุณ @youdunnowho ที่พูดถึงการแช่น้ำเกลือที่ได้จากคุณ @Tumtuiwa มาอีกที

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว