เผยแพร่ |
---|
ยุค จอมพล ป. ผัดไทย ไม่ใช่อาหารสร้างชาติ แต่เป็นวิวัฒนาการของสังคม
ผัดไทย เป็นเมนูที่ง่ายเพียงแค่น้ำซอสสามรส จาก มะขามเปียก น้ำตาล น้ำปลา เคี่ยวให้ข้นเป็นเนื้อเดียวกัน ผัดใส่เส้นจันท์ ตามด้วยไข่ กุ้ง หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ตามใจชอบ
ถึงกระนั้นหลายคนก็มองว่า ผัดไทย เป็นเมนูสร้างชาติไทยในช่วงสมัยของ จอมพล ป. เอาเข้าจริงมีหลายข้อสันนิษฐานเล่าไปต่างๆ นานาว่า อาจมีส่วนในช่วงรณรงค์บริโภคก๋วยเตี๋ยว แต่ไม่มีหลักฐานไหนเลยที่ปรากฏว่าผัดไทยเป็นเมนูสร้างชาติ แม้แต่ตัวทายาทจริงๆ ของจอมพล ป. ก็ปฏิเสธว่าเห็นมานาน
ในเรื่อง “ผัดไทย” ไม่ใช่นวัตกรรม จอมพล ป. ที่ กฤช เหลือลมัย ได้เขียนไว้อย่างละเอียดใน ศิลปวัฒนธรรม ได้บอกที่มาที่ไปของเมนูผัดไทยนี้ไว้หลายมุมมอง
สิ่งที่น่าสนใจเด่นๆ นั่นคือผัดไทยไม่ใช่ไทยแท้ ทั้งในมุมมองจากเรื่องท้องถิ่น ประวัติศาสตร์เส้นก๋วยเตี๋ยวที่มาจากจีน และจากปากของทายาทจอมพล ป.
“เมื่อได้ไถ่ถาม อาจารย์ณัฐพล ใจจริง ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ อาจารย์กรุณาเล่าว่า เคยคุยเรื่องนี้กับทายาท จอมพล ป. และได้รับคำตอบปฏิเสธ ว่าผัดไทยไม่เกี่ยวอะไรกับท่านจอมพลเลย แถมยังบอกว่าพวกเขาเคยกินก๋วยเตี๋ยวผัดแบบนี้ที่ย่านราชวงศ์มาตั้งแต่ก่อนคุณพ่อจะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ”
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของรสไทยแท้
มีคนเคยบอกว่า รสที่คนไทยชอบคือ 3 รส ได้แก่ เปรี้ยว เค็ม หวาน ซึ่งเป็นรสที่กลมกล่อมหากอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม กลับมาที่ความสมดุลของผัดไทยก็ตั้งอยู่พื้นฐานนี้เช่นกัน ซึ่งที่ต่างจากเดิมนั้นคือการนำวัตถุดิบอื่นมาเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ กุ้ง หมึก สารพัด ไม่เพียงแค่นั้นผักแนมไว้แกล้มผัดไทย ก็มีหลายชนิดผักให้เลือกกิน
ความน่าสนใจไม่มีแค่นี้ ยังมีเรื่องอุตสาหกรรมอาหาร หลายที่พยายามสร้างมาตรฐานรสชาติผัดไทยไว้ให้คงที่ด้วยรูปแบบซองหรือหีบห่อเพื่อความรวดเร็ว เหมาะกับมือใหม่ในการทำอาหารและย่นเวลา
ท้ายแล้วผัดไทย รสชาติไทยจริงๆ จะเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้ แต่ที่รู้ๆ ว่าทุกอย่างของรสอาหารย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามคนกิน
สนใจเรื่องราวอื่นๆ ในการสร้างชาติ มาพบกันที่ งานสโมสรศิลปวัฒนธรรม สเปเชียล “๒๔ มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์” เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 23 – วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน เวลา 10.00-20.00 น. ที่มติชนอคาเดมี
🎪เข้าฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย เดินทางสะดวกด้วยรถโดยสารสาธารณะ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง สถานีวัดเสมียนนารี 🚗💨
⚡️ลงทะเบียนร่วมงานก่อนใครได้เลยที่ http://www.matichonevent.com/24june/
ขอบคุณข้อมูลจาก ศิลปวัฒนธรรม