จีนไม่ได้มีแค่ ตรุษจีน! 6 เหตุการณ์สำคัญของคนจีน ต้นกำเนิด ความหมายที่น่าสนใจ

จีนไม่ได้มีแค่ ตรุษจีน! 6 เหตุการณ์ของคนจีน ต้นกำเนิด ความหมายที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มติชน x ซีเจ มอร์ จัดงานเสวนา “Bao Book : เม้าท์เรื่องมู ปีมังกรทอง” โดยมีอาจารย์สมชาย แซ่จิว นักวิชาการอิสระ กูรูเรื่องมูจีน เจ้าของเพจ “เกร็ดก็เก่าเกย์ที่เล่าก็แก่” มาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตรุษจีน

เสียงกลองดังกึกก้อง บ่งบอกถึงการเริ่มต้นของปีใหม่ ซึ่งวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ตรงกับวันจ่ายของคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งจะตรงกับวันสิ้นปีของปฏิทินจีน เป็นวันที่ผู้คนจะออกไปจับจ่ายซื้อของ เตรียมอาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้ และของแต่งบ้าน

วันจ่ายมีความหมายถึงการเตรียมตัวต้อนรับปีใหม่ เป็นการเริ่มต้นใหม่ด้วยความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ และความโชคดี

ซึ่งในบทความนี้จะเล่าถึงเทศกาลสำคัญของคนจีน มีวันอะไรบ้าง แล้วทำไมต้องตรุษจีน พร้อมบอกเคล็ดลับการไหว้เจ้า

เทศกาลสำคัญของคนจีน 

การนับวันตรุษจีนประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว แต่แท้จริงแล้วถ้านับตามแบบจีน จะแบ่งเป็น 6 เหตุการณ์ ได้แก่ วันส่งเทพเจ้าเตาไฟขึ้นสวรรค์, วันลี่ชุน, วันไหว้, วันตรุษจีน, วันรับเทพเจ้าเตาไฟกลับจากสวรรค์ และวันหยวนเซียว

1. ตรุษจีน สำคัญที่สุด เพราะจีนเป็นชนชาติที่ทำเกษตร ทุกอย่างขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ พอเข้าฤดูใบไม้ผลิ ชีวิตที่เคยเหน็บหนาว เหมือนผลิบานมาใหม่ 

คนจีนมีปีใหม่ 2 ครั้งคือ 1 มกราคม กับ ตรุษจีน

วันสำคัญในเทศกาลตรุษจีน 2567

3 ก.พ. ไหว้เทพเจ้าเตาไฟขึ้นสวรรค์

4 ก.พ. วันลี่ชุน เริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ

8 ก.พ. วันจ่าย คนไทยเชื้อสายจีนออกมาจับจ่ายซื้อของสำหรับไหว้เจ้า

9 ก.พ. วันไหว้ ไหว้รับไฉเซิน

ของไหว้วันที่ 9

ของเจ 5 อย่าง (แล้วแต่ความสะดวก)

วุ้นเส้น ดอกไม้จีน ขนมอี๋ 5 ถ้วย ธูป 5 ดอก เทียน

ซึ่งตอนกลางคืน ไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย เวลา 23.00-01.00 น. ปีนี้ตั้งโต๊ะหันไปตะวันออกเฉียงใต้ เคล็ดลับการไหว้คือ เอากระเป๋าตังค์เปล่าๆ แบงก์ใหม่ ไปวาง เพื่อรับทรัพย์

10 ก.พ. วันตรุษจีน เป็นวันมงคล เยี่ยมญาติ เอาแต๊ะเอียให้ลูกหลาน

13 ก.พ. วันรับเทพเจ้าเตาไฟกลับจากสวรรค์ ซึ่งจะไหว้อีกที

สิ้นสุดเทศกาลตรุษจีน วันเดือนเพ็ญแรกของวันที่ 1 คนจีนเรียกเทศกาลโคมไฟ

24 ก.พ. วันหยวนเซียว คือจบตรุษจีน

2. เชงเม้ง

3. จงหยวนเจี๋ย / สารทจีน

4. วันไหว้พระจันทร์

ทำไมต้องตรุษจีน?

เมื่อสิ่งเก่ายังไม่จากไป สิ่งใหม่ยังไม่บังเกิดจะมีปีศาจ ตามตำนานของจีนเชื่อว่า “ตัวเหนียน” (ปีศาจของกาลเวลา) จะออกมาช่วงเปลี่ยนผ่านจีน วันส่งท้ายปีเก่าจะขึ้นมากินพืชผลจีน ตามตำนานเชื่อว่าตัวเหนียน กลัว 3 อย่าง ได้แก่ สีแดง แสงไฟ และเสียงดัง โดยของเหล่านี้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ในวันตรุษจีน

อาหารมงคล 7 อย่าง ประกอบด้วย

ปลา : ความเชื่อเรื่องเหลือกินเหลือใช้

เกี๊ยว : ลักษณะของเกี๊ยวที่เหมือนกับก้อนทอง เน้นความร่ำรวย

เปาะเปี๊ยะ : ความเชื่อเรื่องร่ำรวย 

บัวลอยหวาน : นิยมกินร่วมกันภายในครอบครัว 

ผลไม้มงคล : “ส้ม” เพราะความเชื่อว่าการไหว้นั้นจะร่ำรวย มีความสุขตลอดทั้งปี ไม่แนะนำการไหว้ด้วย “แอปเปิ้ล” เนื่องจากมีการพ้องเสียงกับคำภาษาจีนที่มีความหมายถึง ความยากจน

เหนียนเกา (ขนมที่มีความเหนียวนุ่ม) : ความเจริญก้าวหน้า การเลื่อนขั้น และการเลื่อนตำแหน่ง

เส้นหมี่ : ตามคติความเชื่อว่าจะทำให้อายุยืนยาว เหมือนความยาวของเส้นหมี่

อัปเดตราคาของไหว้ปี 2567 

สำหรับราคาของไหว้ปีนี้ ทางเพจเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ได้เช็กราคาสินค้า จากเว็บไซต์ออนไลน์ตลาดไท ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งค้าปลีกใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ราคาจะอยู่ที่เท่าไหร่บ้าง มาดูกันเลย

เป็ดพะโล้ต้ม : 380 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาด)

ไก่ต้ม : 250-280 บาท

ปลาทับทิม : เฉลี่ย 60-95 บาท 

ปลากะพงขาว : 120-200 บาท

หัวหมู : 300-350 บาท

องุ่นแดงนอก : 400-1,000 บาท (ต่อตะกร้า)

ส้มจีน : 410-480 บาท (กล่อง 10 กก.)

ขนมเทียน : ร้านค้าออนไลน์ เฉลี่ย 10-13 บาทต่อชิ้น

หมายเหตุ ราคา ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567

🪭รู้หรือไม่? 

เทพเจ้าองค์ที่สนิทกับคนจีน คือเทพเจ้าแห่งเตาไฟ โดยเชื่อว่า เทพเจ้าจะรู้เรื่องในบ้านเรามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำกับข้าว ตามตำนานวันที่ 3 ก.พ. เทพเจ้าเตาไฟต้องรายงานเง็กเซียนฮ่องเต้ว่า บ้านนี้ทำอะไรไว้ ดังนั้น ของที่ใช้ไหว้จึงต้องมีลักษณะที่เหนียว เช่น ขนมเข่ง เพราะจะได้ปิดปากเทพเจ้าเตาไฟหรือให้พูดอะไรหวานๆ ให้กับเง็กเซียนฮ่องเต้