กรณีศึกษา จองตั๋วรถไฟ ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายอย่างไร ให้มีคุณสมบัตินักสื่อสารที่ดี

กรณีศึกษา จองตั๋วรถไฟ ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายอย่างไร ให้มีคุณสมบัตินักสื่อสารที่ดี

ล่าสุด หลายคนคงสงสัยกับเหตุการณ์ภาพกราฟิกการจองตั๋วโดยสารของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เท่าเอาหลายคนตื่นตะลึงพรึงเพริดกับใจความที่สื่อสารออกมานั้นชวนสับสนงุนงง บวกลบคูณหารเลขกันแทบไม่ทัน

วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักการเป็นนักสื่อสารที่ดี

1. เข้าใจเนื้อหาที่อยากจะสื่อสาร

ไม่ว่าข้อมูลจะเยอะมากแค่ไหน แต่สิ่งที่สำคัญสุดๆ ของการที่จะสื่อสารออกไปให้คนอื่นเข้าใจหรือรับรู้ในสิ่งที่เราต้องการเสนอคือ เราต้องเข้าใจในเนื้อหาที่อยากสื่อสารก่อน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ตัวเลข สถิติ เปอร์เซ็นต์ หรือเรื่องราวอะไรต่างๆ ผู้รังสรรค์เนื้อหาต้องเข้าใจให้เห็นภาพอย่างชัดเจน

2. วางแผนก่อนเรียบเรียงข้อมูล

เมื่อเข้าใจเนื้อหาอย่างรากลึก และเห็นภาพในสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร จำเป็นต้องวางแผนการเรียบเรียงโดยคำนึงถึงใจความสำคัญที่อยากจะสื่อสา่ร เช่น หากเราต้องการจะอธิบายขั้นตอนการจองตั๋ว สิ่งที่ต้องมีคืออะไร เตรียมข้อมูลส่วนไหน มีวิธีการจัดการอย่างไร บนแพลตฟอร์มไหน เป็นต้น

3. กลุ่มคนรับสารคือใคร

เราต้องชัดเจนก่อนว่าจะสื่อสารเรื่องอะไรและเข้าใจว่าจะสื่อสารกับใคร ไม่ว่าจะเป็น เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ประชาชนคนไทย ประชาชนประเทศไหน สิ่งนี้ต้องชัดเจนด้วยเช่นกัน 

เพื่อจะนำไปสู่วิธีการสื่อสาร ซึ่งคนในปัจจุบันล้วนต้องการเสพข้อมูล สั้น กระชับ ได้ใจความ นั่นอาจเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงก่อนลงมือสร้างเนื้อหา

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้นที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อการสื่อสารที่ดีได้ 

และจากกรณีการจองตั๋วรถไฟ มีลักษณะการอธิบายที่เข้าใจยาก แม้จะเป็นวิธีที่ต้องการจะสื่อสารให้กับประชาชนคนไทยเข้าใจถึงกฎที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังชวนสับสนพอสมควร

ทั้งนี้ ในเวลาต่อมาไม่เกิน 24 ชม. ทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ออกมาขอโทษจากกรณีสร้างความสับสนให้กับประชาชนในเรื่องข้อมูลดังกล่าว โดยยืนยันว่าการจองตั๋วรถไฟนั้นไม่มีความซับซ้อนอย่างที่คิด