ทำไมนะ…ดวงจันทร์จึงเป็นหลุมเป็นบ่อ ?

ขอบคุณที่มาจากหนังสือ “ทวิตภพสยบจักรวาล Tweeting the Universe” มาร์คัส โชวน์และโกเวิร์ท ชิลลิ่ง เขียน รุ่งกานต์ รุจิวรางกุล แปล จากสำนักพิมพ์มติชน สั่งซื้อหนังสือส่งตรงถึงบ้านได้ที่ www.matichonbook.com

มีเศษซากมากมายหลงเหลืออยู่ในระบบสุริยะมาตั้งแต่ครั้งที่มันเพิ่งถือกำเนิดขึ้น มีทั้งสะเก็ดดาวและดาวหางน้ำแข็ง

ตลอดช่วง 4.55 พันล้านปีของประวัติศาสตร์ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์และดาวงจันทร์ทั้งหลายต่างก็เหมือนโคจรอยู่ในสนามรบ ถูกโจมตีจากซากปรักหักพังจากอาวกาศตลอดเวลา

หลุมบ่อบนดวงจันทร์คือร่องรอยที่หลงเหลือจากการถูกโจมตี ด้วยความที่ไม่มีอากาศ/ความเคลื่อนไหวใด ๆ (เหมือนบนโลก) ร่องรอยจึงยังคงหลงเหลือไว้ให้เห็น (นอกจากจะถูกระเบิดหายไปในอนาคต)

หลุมบ่อบนดวงจันทร์คือตำราประวัติศาสตร์ที่อยู่บนฟ้า เราสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนโลกได้โดยการอ่านร่องรอยบนดวงจันทร์

การปะทะครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในยุคบอมบาร์ดใหญ่ครั้งหลัง (Last Heavy Bombardment) เมื่อ 3.8 พันล้านปีที่แล้ว การพุ่งชนครั้งนั้นรุนแรงมากจนทำให้เปลือกดวงจันทร์เป็นรู

ลาวาเอ่อขึ้นมาเต็ม “แอ่ง” นั้น ทำให้เกิดมาเรียขึ้นบนดวงจันทร์ (พหูพจน์ของคำว่ามาเร่ มาจากภาษาละติน แปลว่า “ทะเล”)

LHB เกิดขึ้นเมื่อดาวพฤหัสและดาวเสาร์ผนึกกำลังกันก่อกวนดาวเคราะห์หรือดาวหาง ส่งให้สะเก็ดดาวขนาดใหญ่เท่าลอสแอนเจลิสพุ่งมาทางเรา

หลุมบางหลุมอาจมี “รังสี” แผ่ออกมาจากเศษหินอุกกาบาตเช่นหลุมโคเปอร์นิคัสขนาด 93 กิโลเมตร ซึ่งเกิดขึ้นตอนถูกดาวเคราะห์ขนาดเท่าคีย์เวสต์ชนเมื่อประมาณ 800 ล้านปีที่แล้ว

แม้หลุมบ่อส่วนใหญ่บนโลกจะถูกลบเลือนไปแล้ว แต่บางหลุมก็ยังคงอยู่ เช่น หลุมเมทิออร์ เครเตอร์ ขนาด 1.2 กิโลเมตร ในรัฐอริโซนา ซึ่งเกิดขึ้น 50,000 ปีก่อนคริสตกาลจากการพุ่งชนของวัตถุขนาดเท่าบ้าน

ยังมีหลุมชิคซูลุบ เครเตอร์ ขนาด 180 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ใต้ทะเลบางส่วนในคาบสมุทรยูคาตัน ประเทศเม็กซิโก เชื่อว่าเกิดจากการชนของอุกกาบาตขนาด 1 กิโลเมตร ซึ่งทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว