จากชีวิตชาวนาสู่หัวหน้าทีมสำรวจขั้วโลกใต้ สุดยิ่งใหญ่ของจีน

ชาวนาสู่หัวหน้าทีมสำรวจขั้วโลกใต้ ภารกิจสุดยิ่งใหญ่ของจีน

ชาวนาสู่หัวหน้าทีมสำรวจขั้วโลกใต้ – เว็บไซต์ เซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพส์  เผยแพร่รายงานพิเศษ ถึงชีวิตของ ดร.เฉิน ต้าเคอ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชาวจีน ที่เคยตรากตรำในท้องทุ่งนาในชนบทห่างไกลในมณฑลหูหนาน ภาคใต้ของจีน ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม จนกลายเป็นหัวหน้าในภารกิจระดับชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน คือการสำรวจทวีปแอนตาร์กติก ขั้วโลกใต้

ดร.เฉินเป็นหนึ่งในชาวจีนหลายล้านคนที่ชีวิตถูกเปลี่ยนรูปแปลงร่างจากปัจจัยสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรมและการตัดสินใจเปิดมหาวิทยาลัยหลายแห่งของประเทศ

เส้นทางชีวิตที่ต่างออกไปอย่างมาก ต้องออกจากโรงเรียนมัธยมปลายในเมืองเฉิงชา เมืองเอกของมณฑลหูหนาน กลางทศวรรษ 1970 ถูกบังคับให้ทำงานในนา 3 ปี เพราะพ่อแม่เป็นปัญญาชน กลุ่มปัญญาชนเป็นเป้าหมายการโจมตีระหว่างปฏิวัติวัฒนธรรม และด้วยภูมิหลังเป็นชนชั้นกลางจึงถูกบีบไม่ให้เรียนมหาวิทยาลัย

ดร.เฉิน ต้าเคอ (สองจากซ้าย) สมัยหนุ่มๆ

 ชีวิตเปลี่ยนแปลงหลังพรรคคอมมิวนิสต์ยกเลิกคำสั่งห้ามคนชนชั้นกลางเรียนหนังสือในปี 2520 เป็นสิบปีหลังมหาวิทยาลัยหลายแห่งถูกปิดช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมโหมหนัก  

ผมแทบจะไม่มีเวลาและพลังที่จะเตรียมสอบเอ็นทรานซ์ แต่ผมคิดว่าคนอื่นๆ ที่เข้าสอบอาจเหนื่อยเหมือนกัน และว่า ผมจำได้ว่าคนหนุ่มสาวเกือบทุกคนในชนบทที่ผมทำงานต่างเข้าสอบ” ดร.เฉิน กล่าว
ถึงการที่ตนเองเป็นหนึ่งในนักเรียนราว 5.7 ล้านคนที่รีบสอบเอ็นทรานซ์เข้าเรียนวิทยาลัยในช่วงฤดูหนาวปี 2520 

ชาวนาสู่หัวหน้าทีมสำรวจขั้วโลกใต้ 
ดร.เฉิน ต้าเคอ นำทีม 350 ชีวิต สำรวจแอนตาร์กติกา Photo : Handout

ฤดูใบไม้ผลิต่อมาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยหูหนาน นอร์มอล เพื่อเรียนฟิสิกส์ แต่แม้กระทั่งการเลือกเรียนสายวิทย์ยังถูกป้ายสีโดยบรรยากาศการเมืองแห่งยุคสมัย

ดร.เฉิน เลือกเรียนวิทยาศาสตร์ ด้วยเห็นว่าปลอดภัยกว่าเรียนสายมนุษยศาสตร์

ตอนเป็นเด็ก ผมมักสนใจวรรณกรรมและประวัติศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ แม้ว่าผมทำได้ดีทุกวิชาในโรงเรียน” ดร.เฉิน กล่าว
เคยคิดหลายครั้งว่าผมอาจสร้างชื่อในฐานะนักเขียนหรือนักประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ทันทีหลังจากการปฏิวัติวัฒนธรรมก่อให้เกิดความเสียหาย ประชาชนยังคงกลัวการทำสิ่งซึ่งเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมหรือสังคมอยู่ ดังนั้นวิทยาศาสตร์ถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่ามาก” ดร.เฉิน กล่าว

จากการตัดสินใจครั้งนั้นทำให้เฉินกลายเป็นนักสมุทรศาสตร์ที่มีชื่อเสียง กำลังนำทีมนักวิจัย 350 ชีวิตขึ้นเรือฝ่าน้ำแข็ง เสวี่ยหลง หมายถึง มังกรหิมะ ในภารกิจขยายบทบาทจีนที่ขั้วโลก

ทีมสำรวจจะดูผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อมหาสมุทร / REUTERS

ทีมล่องเรือจากนครเซี่ยงไฮ้ช่วงต้นพ.ด้วยเป้าหมายทำภารกิจให้ลุล่วง รวมถึงการสร้างทางวิ่งเครื่องบินใกล้สถาบันวิจัยจงชาน ด้านตะวันออกของทวีป

ทีมจะติดตั้งอุปกรณ์วิจัยค้นคว้าที่สถานีไท่ชาน หนึ่งในสี่ศูนย์วิจัยของจีนในทวีปแอนตาร์กติก รวมถึงสำรวจและทำแผนที่เกาะอินเอ็กซ์เพรสซิเบิล หนึ่งในสถานที่ไม่เหมาะสำหรับอยู่อาศัยมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเพื่อเตรียมสร้างสถานีวิจัยแห่งที่ห้าของจีน

 สถานีแห่งที่ห้าจะอนุญาตให้จีนสะสมข้อมูลการเคลื่อนไหวของมหาสมุทรจากเซาท์เทิร์น โอเชียน ซึ่งเป็นน้ำแห่งสุดท้ายรอบทวีปแอนตาร์กติกที่ชาวจีนยังไม่ได้สำรวจ

การศึกษาพลวัต ความผันผวนของอุณหภูมิมหาสมุทร ทางทีมวิเคราะห์จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ทางทีมจีนจะช่วยสร้างเขตสงวนสำหรับเพนกวินที่อาศัยอยู่บนเกาะ

สมาชิกในทีมภารกิจจะตั้งศูนย์อนุรักษ์เพนกวิน REUTERS

นักวิทยาศาสตร์จีนยังล้าหลังกว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แต่เฉินกล่าวว่า การหลั่งไหลของงบจะช่วยให้จีนไล่ทัน

ช่องว่างระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาในการค้นคว้าด้านมหาสมุทร ไม่ได้กว้างเหมือนที่เคยเป็นในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 และเราจะยังคงตามให้ทันต่อไป ด้วยอัตราที่คล้ายกับการวิจัยวิทยาศาสตร์สาขาอื่น

หลังจบมหาวิทยาลัย และสถาบันสมุทรศาสตร์ เฉินจึงไปต่อปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกาก่อนกลับจีนในปี 2549 มีบทบาทนำศูนย์การทำลองด้านพลวัตมหาสมุทรแห่งชาติที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในนครหางโจว

ดร.เฉินระบุถึงการตัดสินใจครั้งนั้นว่า “ผมเห็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในจีนและผมมั่นใจว่าส่งผลด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ของจีนอย่างมากด้วย ผมเพียงไม่ต้องการเป็นผู้ยืนมองและพลาดกิจกรรมที่วิเศษเหล่านี้ไป”