ผู้เขียน | เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เปิดเผยว่า ภาคเกษตรกรรม ถือว่าเป็นสินค้าที่สร้างรายได้เข้าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ได้มหาศาลต่อปี มีมูลค่าประมาณ30,000 ล้านบาท จากผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดทั้งหมด 70,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น60% ของรายได้ของจังหวัด พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มะม่วง ส้มเขียวหวาน ละมุด ทุเรียน ลางสาด ลองกอง มะยงชิด โดยเฉพาะมะม่วง พันธุ์โชคอนันต์ ที่มีพื้นที่ปลูกกว่า 70,000 ไร่ มีมูลค่าตลาดกว่า100ล้านบาท/ปี สามารถผลิตผลผลิต ออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี จึงทำให้ได้ราคาดี
นอกจากนี้ยังจะเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรปลูกละมุด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ใหม่ ที่กำลังมีอนาคต เพราะ จ.สุโขทัย เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกละมุดมากที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมากถึง 5,000 ไร่ เป็นการปลูกละมุดอินทรีย์ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดยุโรป เช่น เยอรมันนี ขณะเดียวกันเกษตรกร ยังหันมาปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า มากขึ้น โดยปีนี้คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากถึง5,000 ตัน กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด แนวโน้มจะมีเกษตกรปลูกเพิ่มมากขึ้น และล่าสุด มีเกษตรกรหันมาปลูกดอก อัญชัน ป้อนให้ตลาดอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น
นางสาวณัฐธิศา พิชยานนท์ พาณิชย์จังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า จากนี้ไปจะเดินหน้าทำการตลาดสินค้าเกษตรอย่างเข้มข้น เช่นการจัดงาน 2 งาน ที่กำลังจัดงานจัดงาน “สุโข Innovation” โชว์สินค้านวัตกรรม และจัดงานโรดโชว์ “สุขโข แลนด์ แดนเกษตร”จัดขึ้นในวันระหว่างที่ 19-23 กันยายน 2561 ที่ MCC Hall ชั้น 4 The Mall บางกะปิ กรุงเทพมหานคร เป็นนำสินค้าเกษตรออกจำหน่ายในประเทศ มากขึ้น ดึงผู้ประกอบการ ให้ออกงานแสดงสินค้าใหญ่ เช่น งาน “ไทยเฟกซ์” เจราจรซื้อของกับบริษัทชั้นนำต่างประเทศ ขยายช่องทางการตลาด และยังจะให้ความรู้กับผู้ประกอบการ และเกษตรกร เรื่องของการนำนวัตกรรมใหม่ มาปรับใช้ในวงการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ลงทุนซื้อห้องเย็น เพื่อใช้เก็บสินค้าเกษตร ออกจำหน่าย สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ ส่วนแผนในอนาคตเตรียมของบประมาณวงเงิน10 ล้านบาท เป็นงบของกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง
“แผนงานงานนี้ เป็นการส่งเสริมการตลาดและเชื่อมโยงขยายมูลค่าการค้า การลงทุนของผู้ประกอบการ รวมทั้งเป็นการขยายโอกาสในการเผยแพร่สินค้าการเกษตรและผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูป ในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่นการแสดงและจำหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป รวมทั้งสินค้าผลิตภัณฑ์ของดีชุมชนจากผู้ประกอบการจำนวน 50 ราย การเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการสินค้าเกษตรจังหวัดสุโขทัยกับผู้ซื้อ และผู้ส่งออก อีกทั้งยังเป็นยกระดับขึ้นด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์”นางสาวณัฐธิศา กล่าว