เปิดสถิติ ! คน ‘ขับรถไม่มีใบขับขี่’ เผยจำนวนสุดช็อก หรือสมควรแล้วเจอโทษแรง

เปิดสถิติ ! คน ‘ขับรถไม่มีใบขับขี่’ เผยจำนวนสุดช็อก หรือสมควรแล้วเจอโทษแรง

เปิดสถิติ / วันที่ 24 ส.ค. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) รศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือเอไอที นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ จากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนมูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย ร่วมกันแถลงกรณีการปรับแก้กฎกมายจราจร โดยมีการปรับพ.ร.บ.รถยนต์ 2522 และพ.ร.บ.การขนส่งทางบก 2522 ออกเป็นร่างกฎหมายฉบับเดียวกัน

โดยมีการเพิ่มโทษในความผิดเกี่ยวกับการพกพาใบอนุญาตขับขี่ โดยโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม

นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า ข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 15-19 ปี เป็นกลุ่มอายุที่มีการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนสูงสุดเฉลี่ยปีละ 1,688 คน ทั้งนี้จากการศึกษาจากต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

พบว่ากรณีความผิดเกี่ยวกับการขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาตขับรถในประเทศญี่ปุ่น มีโทษปรับไม่เกิน 300,000 เยน (88,000 บาท) หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี และถูกตัดแต้ม 12 คะแนน ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา มีโทษปรับไม่เกิน 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ (800,000บาท) หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี และถูกบันทึกประวัติตลอดชีวิตด้วย

ตนเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนปรับแก้กฎหมายนี้เพราะมองว่าใบขับขี้เป็นหัวใจสำคัญในการขับขี่อย่างปลอดภัย เพราะการที่บุคคลได้รับใบขับขี่แสดงความผ่านการอบรมทักษะการขับขี่อย่างปลอดภัยมาแล้ว

ข้อมูลยืนยันจากการศึกษาพบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยายนต์ในประเทศไทย อายุต่ำสุดคือ 9 ขวบเท่านั้น และส่วนใหญ่ของเด็กเยาวชนที่ขี่จักรยายนต์ได้ เรียนรู้จากคนในครอบครัว คนรอบข้างไม่ได้ผ่านการฝึก อบรม ให้ขับขี้บนท้องถนนร่วมกับผู้อื่นอย่างถูกวิธี

นี่คือต้นเหตุหนึ่งของอุบัติเหตุ ผมเชื่อว่าหากบังคับใช้กฎหมายเรื่องใบขับขี้อย่างเคร่งครัด อย่างน้อยก็ลดจำนวนความสูญเสียจากอุบัติเหตุของกลุ่มเด็ก ที่ขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาตได้

ด้านรศ.ดร.กัณวีร์ กล่าวว่า จากสถิติ พบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยนยนต์กว่าร้อยละ 60 ไม่มีใบขับขี่ และมีโอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่มีใบขับขี่ 2 เท่า ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 24 ปี แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ไม่มีใบขับขี่ แต่มาขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูงขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องปรับแก้กฎหมายเรื่องใบขับขี่ให้เหมาะสม ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เสริมสร้างวินัยจราจร โดยยึดหลักเกณฑ์ “ออกยาก ยึดง่าย”