สคบ. ย้ำสัญญาเช่าซื้อรถฉบับใหม่ ไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ย “ลดต้น ลดดอก”

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกประกาศควบคุมสัญญาประกาศควบคุมสัญญาเช่าซื้อ ฉบับใหม่ที่รัฐบาลประกาศใช้ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 61 ที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้ผู้บริโภค เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไม่ให้ถูกเอาเปรียบ ด้วยการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกเบี้ย จากเดิมที่คิดดอกเบี้ยแบบคงที่ ด้วยการนำอัตราดอกเบี้ยมาคูณกับราคารถยนต์คูณด้วยระยะเวลาแล้วหารออกมาจ่ายสุทธิเป็นรายเดือน

ภายหลังได้มีการเผยแพร่ข้อมูลในโซเชียลถึงกรณี การคิดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่มีการเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ว่าเป็นแบบอัตราดอกเบี้ย “ลดต้น ลดดอก” เหมือนกับสัญญากู้ยืมเงินเพื่อลดที่อยู่อาศัย ล่าสุด (วันที่ 15 ส.ค.) สคบ. ได้ออกมาชี้แจงว่า ข้อมูลนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

เพราะตามประกาศฉบับใหม่นี้ระบุไว้ว่า “การคิดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ยังคงใช้แบบ เงินต้นคงที่ (Flat Rate) เหมือนเดิม” ตามที่ใช้ในการคำนวณค่าเช่าซื้อในแต่ละงวด ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจ จัดทำตารางแสดงภาระหนี้สิน ตามสัญญาสำหรับผู้เช่าซื้อแต่ละราย โดยให้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) เพื่อประโยชน์กับผู้บริโภคให้ได้รับทราบภาระดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) เนื่องจากผู้บริโภคมักจะไม่ทราบว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในขณะทำสัญญาเป็นอัตราเท่าใด

ประกาศคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์-มอเตอร์ไซค์ฯ ของ สคบ.ไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ย “ลดต้น ลดดอก”

โพสต์โดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อ วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2018