เหนือ-อีสาน-ใต้ ฝนตกหนักมาก! เขื่อนแก่งกระจานล้นแล้วล้นอีก 103%

วันที่ 9 สิงหาคม แบบจำลองสภาพอากาศ (วาฟ-รอม) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) แจ้งว่า ประเทศไทยอาจมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ รวมทั้งชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ เขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนน้ำอูน มีระดับน้ำเต็มความจุเก็บกักแล้ว และยังคงมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มขึ้น

วาฟ ระบุด้วยว่า ประเทศไทยมีฝนตกปานกลางถึงตกหนักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นหลายแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี 138 มิลลิเมตร พังงา 128 มิลลิเมตร มุกดาหาร 88.2 มิลลิเมตร ตราด 85 มิลลิเมตร ระนอง 82 มิลลิเมตร ชุมพร 82 มิลลิเมตร ลำปาง 54 มิลลิเมตร เชียงราย 50 มิลลิเมตร ปราจีนบุรี 36 มิลลิเมตร

ลำน้ำสายหลักในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากฝนที่ตกหนักในช่วงที่ผ่านมาบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่ยังคงมีปริมาณฝนน้อยต่อเนื่องโดยเฉพาะแม่น้ำมูลตอนบนมีระดับน้ำน้อย สำหรับภาคกลางมีระดับปานกลางถึงน้ำมาก และภาคใต้มีระดับปานกลาง

สำหรับแม่น้ำเพชรบุรี ปริมาณน้ำที่ล้นออกทางระบายน้ำล้น ทำให้แม่น้ำเพชรบุรีมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แม่น้ำเพชรบุรี ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ระดับน้ำล้นตลิ่ง แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น

แม่น้ำเพชรบุรี ตำบลต้นมะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.54 เมตร แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว

สำหรับสถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทย วันที่ 9 สิงหาคม ปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศอยู่ร้อยละ 70 โดยน้ำไหลลงเขื่อนมากกว่าค่าเฉลี่ย และอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง

ซึ่ง เขื่อนแก่งกระจาน มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 103 เป็นน้ำใช้การได้จริง 669 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำมีน้ำเกินความจุเก็บกัก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 24.45 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 16.85 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนวชิราลงกรณ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 85 เป็นน้ำใช้การได้จริง 4,525 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 61.24 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 42.74 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 1,323 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนน้ำอูน มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 103 เป็นน้ำใช้การได้จริง 489 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำมีน้ำเกินความจุเก็บกัก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 4.84 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 4.84 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 87 เป็นน้ำใช้การได้จริง 5,196 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 40.06 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 19.90 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 2,284 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนปราณบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 82 เป็นน้ำใช้การได้จริง 302 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 14.95 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 9.48 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 72 ล้านลบ.ม.เขื่อนรัชประภา มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 80 เป็นน้ำใช้การได้จริง 3,192 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 72.70 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 8.98 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 1,105 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำกักเก็บร้อยละ 67 เป็นน้ำใช้การได้จริง 3,515 ล้านลูกบาศก์เมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำปานกลาง

เมื่อวานนี้มีน้ำไหลลงอ่างฯ 30.43 ล้านลูกบาศก์เมตร และระบายน้ำ 34.05 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีก 3,145 ล้าน ลบ.ม.

วาฟ ระบุว่า สำหรับสถานการณ์ฝน ช่วงวันที่ 9-11 สิงหาคม นั่นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้และจะเคลื่อนตัวขึ้นปกคุลมเกาะไหหลำ ทำให้ร่องมรสุมยังคงพาดภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักจากอิทธิพลของร่องมรสุมในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวมทั้งแนวปะทะของลมมรสุมในด้านตะวันตกของประเทศ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ รวมทั้งชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ช่วงวันที่ 12-15 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคุลมเกาะไหหลำอาจทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศพม่าตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จะมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องได้บางแห่ง ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีกำลังแรง ส่งผลให้แนวปะทะของลมมรสุมในด้านตะวันตกของประเทศ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง