หอการค้าไทยเผย กินเจปีนี้เงินสะพัด 4.3 หมื่นล้าน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ จากกลุ่มตัวอย่าง 1,206 ราย สำรวจระหว่าง 19-27 กันยายน 2559 ว่า เทศกาลกินเจปีนี้จะมีเงินสะพัดประมาณ 43,981 ล้านบาท ขยายตัว 4.2% ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 64.5% ระบุว่าไม่กินเจในช่วงเทศกาล เพราะไม่มีเชื้อสายจีน อาหารเจแพง ไม่ตั้งใจจะกิน ที่บ้านไม่มีใครกิน เศรษฐกิจไม่ดี และหาซื้อลำบาก ขณะที่กลุ่มตัวอย่าง 35.5% ระบุว่าจะมีการกินเจ เพราะ กินเฉพาะเทศกาล ตั้งใจทำบุญ ลดหารกินเนื้อสัตว์ สืบทอดวัฒนธรรม อาหารเจมีคุณค่าทางอาหาร ชอบอาหารเจ กินเจทุกวันอยู่แล้ว และกินตามคนที่บ้านหรือคนรอบข้าง

“เงินสะพัดในการกินเจปีนี้ขยายตัวดีสุดในรอบ 3 ปี นั้บตั้งแต่ปี 2557 ที่ขยายตัว 2.1% ปี 2558 ขยายตัว 2.9% โดยกินเจปีนี้น่าจะคึกคัก เพราะคนนิยมทานเจมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ทานอาหารเจ ก็หันมาทานอาหารเจมากขึ้น อีกทั้งไม่ใช่กลุ่มที่มีเชื้อสายจีน ประกอบกับคนมีความตั้งใจที่จะทำบุญ มีเทรนสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะที่มูลค่าการใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น 40% ปริมาณการซื้อก็เพิ่ม 40%”

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 80.7% ระบุว่า เคยกินเจและส่วนใหญ่ 82% กินอย่างต่อเนื่องทุกปี 8.7% กินบ่อยครั้ง 9.3% กินบางครั้ง ขณะที่ 19.3% ไม่เคยกินเจ โดย 72.2% แนวโน้มในปีนี้จะยังไม่กิน แต่ 27.8%มีแนวโน้มจะกินเจปีนี้ สำหรับพฤติกรรมการกินเจปีนี้ 88% จะกินตลอดเทศกาล ตั้งแต่ 1-9 ตุลาคม ส่วน 12% จะกินบางมื้อ ประมาณ 14 มื้อ ที่ทานไม่ครบเนื่องจาก หาซื้อยาก และอาหารเจมีราคาแพง

8-19-696x522

สำหรับลักษณะการบริโภคอาหารเจในปีนี้ กลุ่มอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนใญ่จะซื้อของมาทำกินเอง และกลุ่มอายุ 16-49 ปี ส่วนใหญ่จะซื้ออาหารปรุงสำเร็จ ขณะที่รูปแบบการเลือกซื้ออาหารเจ ลำดับแรกจะซื้อที่ตลาด จากนั้นก็เป็นที่ร้านค้าทั่วไป มหกรรมสินค้าราคาถูกในช่วงเทศกาล ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ/ร้นค้าส่ง ร้านค้าปลีดสมัยใหม่ ห้างค้าส่งขนาดใหญ่ ซื้อผ่านสื่อออนไลน์ที่มีบริการจัดส่ง และซื้อผ่านcall center ที่มีการจัดส่ง ตามลำดับ ส่วนปัจจัยใจสำคัญในการเลือกซื้ออาหารเจ ลำดับแรกคือความสะอาด รองลงมาคือ รสชาติ ราคา ปลอดภัยต่อสุขภาพ ความสะดวก และชื่อเสียง

ขณะที่การเดินทางไปทำบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ส่วนใหญ่ 66.8% ระบุว่าไม่มีการเดินทาง แต่ 33.2% ระบุว่ามีแผนเดินทาง และจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ซึ่งพื้นที่ที่จะเดินทางไปมากสุด 38.4% คือ ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก เช่น ชลบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี, รองลงมา 24.2% คือภาคใต้ เช่น ตรัง สงขลา พังงา, 18.9% จะไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ อุทัยธานี ชัยภูมิ เลย, 15.2% ภาคเหนือ เช่น นครสวรรค์ เชียงใหม่ เชียงราย และ 2.3% กรุงเทพและปริมณฑล

ด้านการใช้จ่ายในช่วงกินเจปี 2559 ในส่วนของปริมาณของที่จะซื้อในช่วงกินเจ กลุ่มตัวอย่าง 40.9% บอกว่าจะซื้อในปริมาณมากกว่าปีก่อน 35.8% บอกว่าเท่าเดิม และ 23.3% บอกว่าน้อยกว่าปีก่อน ค่าใช้จ่ายรวมในเทศกาลกินเจปีนี้ จะใช้จ่ายเฉลี่ยที่คนละ 9,700 บาท แบ่งเป็น ค่าอาหาร/กับข้าว(ต่อวัน) 739 บาท ทำบุญ 1,895 บาท ค่าเดินทางไปทำบุญต่างจังหวัด 3,430 บาท ค่าที่พัก(ขณะทำบุญต่างจังหวัด) 3,530 บาท

 

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์