เฟื่องฟูในเวียดนาม! ธุรกิจจัดวิวาห์เก๊-กันตกเป็นขี้ปากชาวบ้าน มีให้เช่าเจ้าบ่าว-พร้อมญาติครอบครัว

In this picture taken on January 23, 2018, Huong (L) and Quan (R) enter the hall for their wedding party in Hanoi. Young couples are shelling out thousands of dollars to rent parents, aunts, uncles, godparents and friends to appease familial pressure to get married or avoid clashes between in-laws who disapprove of the union. / AFP PHOTO / Nhac Nguyen / TO GO WITH Vietnam-marriage-lifestyle-social-family-FEATURE by Tran Thi Minh Ha

เมื่อวันที่ 26 ก.พ. เอเอฟพีรายงานข่าวเชิงสารคดีถึงประเพณีการแต่งงานแบบ “จัดฉาก” ที่เกิดขึ้นในสังคมอนุรักษ์นิยมสุดขั้วของเวียดนาม จากกรณีตัวอย่างของสาวเวียดนามคนหนึ่งที่ท้องไม่มีพ่อ จึงเกิดจ้างวานชายเพื่อเป็นสามีเช่าชั่วคราว รวมไปถึงเช่าครอบครัวฝ่ายสามีเพื่อแต่งเป็นหน้าเป็นตา หลีกหนีข้อครหาสำหรับการเป็นซิงเกิลมัม หรือแม่เลี้ยงลูกเดี่ยว และข้อครหาจากคนในสังคม

พิธีแต่งหลอกๆ ที่กรุงฮานอย / AFP PHOTO / Nhac Nguyen

ในสังคมที่อนุรักษ์นิยมสูงของเวียดนาม การแต่งงานนับว่าเป็นหน้าตาของครอบครัว แต่สำหรับบางคนที่เจอเรื่องสุดวิสัย หรือด้วยเหตุผลต่างๆ นานา

อย่างน.ส.คา นามสมมุติ ให้เหตุผลของการจัดงานแต่งงานหลอก ว่าหากไม่จัดงานแต่งงานพ่อแม่ของตนเองจะถูกสังคมครหา จากที่ตนเองท้องไม่มีพ่อ จึงยอมว่าจ้างหนุ่มที่เป็นพ่อของลูกในท้องมาสวมบทเป็นเจ้าบ่าวถึง 1,500 ดอลลาร์ หรือเกือบ 5 หมื่นบาท แต่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันไม่ได้ เพราะฝ่ายชายแต่งงานอยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าการจัดงานแต่งงานหลอกนี้ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายแต่อย่างใด

/ AFP PHOTO / Nhac Nguyen / TO GO WITH Vietnam-marriage-lifestyle-social-family-FEATURE by Tran Thi Minh Ha

ส่วนแผนต่อไปหลังจากแต่งงานหลอก ที่น.ส.คาไม่ได้เปิดเผยให้ญาติคนอื่นๆ รู้เว้นเสียแต่พ่อแม่ที่รู้ ก็จะเป็นการเปิดเผยให้กับญาติคนอื่นๆ รู้ว่าสามีที่ตนเข้าพิธีด้วยได้หนีจากไปแล้ว เหตุผลดังกล่าวก็จะเข้ากับแผนการเป็นแม่เลี้ยงลูกเดี่ยว และครอบครัวรวมถึงตัวเธอเองที่จะต้องตกเป็นขี้ปากชาวบ้าน

ไม่ใช่แค่เพียงการจ้างเจ้าบ่าว แต่ในงานแต่งงานจริงบางครั้งยังมีการจ้างญาติเทียม ทั้งพี่ ป้า น้า อา และเพื่อนให้เข้าร่วมงานแต่ง ซึ่งจำนวนแขกเหรื่อในงานเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สื่อถึงการมีตัวตนในสังคม

การว่าจ้างดังกล่าวยังเป็นการลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากครอบครัวของอีกฝั่งที่อาจไม่พอใจอย่างมากหากรู้ว่าคู่แต่งงานของลูกสาวหรือลูกชายเป็นคนไร้หัวนอนปลายเท้า

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างอายุที่เป็นไปอย่างรวดเร็วในเวียดนาม ปัจจุบันนี้ประเทศนี้มีประชากรอายุต่ำกว่า 30 ปีถึงครึ่งหนึ่งของประชากร 93 ล้านคนทั้งประเทศ หลายคนแหกกฎวัฒนธรรมดั้งเดิมโดยการอยู่ก่อนแต่ง หรือกระทั่งแยกตัวออกมาอยู่คนเดียว

เช่นเดียวกันกับการทำแท้งที่เพิ่มขึ้น หลายเรื่องดูเหมือนว่าจะเป็นที่ยอมรับ เว้นเสียแต่เรื่องแต่งงานที่พ่อ แม่ต่างยอมไม่ได้

In this picture taken on January 23, 2018, Huong (R) and Quan enter the wedding hall in Hanoi. / AFP PHOTO

นักวิจัยด้านจิตวิทยาเวียดนาม เช่น นายเหงียบ ดุย เกือง อธิบายว่าคู่รักหลายคนเจอปัญหาความรักที่มีต้นเค้ามาจากวัฒนธรรม ประเพณีและบรรทัดฐานของสังคม

นอกจากการแต่งงานหลอกเพื่อหลุดออกจากข้อครหาสังคมแล้ว ยังเป็นไปเพื่อให้ถูกโฉลกต้องชะตากับดวงอีกด้วย อย่างกรณีของน.ส.เฮืองและนายกวน ซึ่งฝ่ายหญิงบอกว่าครอบครัวของฝ่ายชายไม่ชอบตนเพราะมีพื้นเพมาจากจังหวัดที่ยากจน แต่ครอบครัวของฝ่ายหญิงต่างยืนยันว่ายังไงก็ต้องแต่งงานในปีไก่ ที่ผ่านมาตามคำบอกเล่าของหมอดู ซึ่งทางเดียวที่จะให้งานแต่งเกิดขึ้นได้คือการจ้างญาติพี่น้อง พ่อแม่ให้กับฝ่ายชาย เพื่อให้งานแต่งดูสมจริง

นายเหวียน ซวน เธียน ผู้ก่อตั้งบริษัท Vinamost ผู้ให้บริการว่าจ้างจัดหาคนมาแสดงเป็นญาติ ทั้งพ่อแม่ ลุงป้าน้าอา หาให้ได้หมด  / AFP PHOTO

ทั้งนี้แนวโน้มการแต่งงานหลอกที่เพิ่มมากขึ้น โดยเว็บไซต์หาคู่อย่าง วินาโมสต์ (Vinamost)  ที่มีแพ็คเกจสำหรับคนที่ต้องการแต่งงานหลอก อย่างแพ็คเกจที่จัดทุกอย่างให้มีราคาอยู่ที่ 4,400 ดอลลาร์ หรือเกือบ 140,000 บาท

นายเหวียน ซวน เธียน ผู้ก่อตั้งบริษัทดังกล่าวระบุว่าทางบริษัทได้จัดงานแตกงงานหลอกกว่าหลายหมื่นครั้งในรอบหลายปีที่ผ่านมา และยอมรับว่าธุรกิจนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วเวียดนาม