รฟท. ทุ่ม 1 แสนล้าน ผุดรถไฟไฟฟ้า 4 เส้นทางเชื่อมกทม. กับ นครสวรรค์ โคราช หัวหิน และพัทยา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยทและมอบนโยบายการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ได้เร่งรัดให้รฟท. ยกระดับคุณภาพการให้บริการ โดยเร่งรัดทำโครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า หรือรถไฟไฟฟ้า ทดแทนการเดินรถแบบระบบดีเซล เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เพิ่มความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งจากการผลการศึกษาเบื้องต้น รฟท. แจ้งว่าจะทำโครงการรถไฟไฟฟ้าในจำนวน 4 เส้นทาง เชื่อม 4 ภูมิภาค คือ 1. กทม.-นครสวรรค์ 2. กทม.-นครราชสีมา 3. กทม.-หัวหิน และ 4. กทม.-พัทยา โดยขั้นตอนหลังจากนี้ จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการออกแบบก่อสร้างประมาณ 100-200 ล้านบาท จากนนั้นจึงจะมาจัดลำดับความสำคัญว่าจะเริ่มก่อสร้างเส้นทางไหนก่อน

รายงานข่าวจากรฟท. แจ้งว่า การดำเนินโครงการรถไฟไฟฟ้า 4 เส้นทาง เป็นไปตามแผนวิสาหกิจของการรถไฟฯ ระหว่างปี 2560- 2564 ซึ่งจากผลการศึกษาระบุว่าโครงการรถไฟไฟฟ้าทั้ง 4 เส้นทาง มีความเหมาะสมในการดำเนินงาน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 100,907.57 ล้านบาท โดยมีแผนที่จะเดินรถด้วยระบบไฟฟ้ารวม 885 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 1. เส้นทาง กทม.-นครสวรรค์ เส้นทาง เริ่มจาก ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ปากน้ำโพ ระยะทางรวม 243 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 57 แห่ง

2. เส้นทางกทม.-นครราชสีมา ช่วงชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย-ชุมทางจิระ ระยะทาง 176 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 31 แห่ง 3. เส้นทางกทม.-หัวหิน ช่วง ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 148 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 46 แห่ง แห่ง และ 4. เส้นทาง กทม.-พัทยา ช่วงชุมทางบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา ระยะทาง 159 ก.ม. สถานีหยุดรถ 37แห่ง

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยทและมอบนโยบายการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ได้เร่งรัดให้รฟท. ยกระดับคุณภาพการให้บริการ โดยเร่งรัดทำโครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า หรือรถไฟไฟฟ้า ทดแทนการเดินรถแบบระบบดีเซล เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เพิ่มความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งจากการผลการศึกษาเบื้องต้น รฟท. แจ้งว่าจะทำโครงการรถไฟไฟฟ้าในจำนวน 4 เส้นทาง เชื่อม 4 ภูมิภาค คือ 1. กทม.-นครสวรรค์ 2. กทม.-นครราชสีมา 3. กทม.-หัวหิน และ 4. กทม.-พัทยา โดยขั้นตอนหลังจากนี้ จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการออกแบบก่อสร้างประมาณ 100-200 ล้านบาท จากนนั้นจึงจะมาจัดลำดับความสำคัญว่าจะเริ่มก่อสร้างเส้นทางไหนก่อน

รายงานข่าวจากรฟท. แจ้งว่า การดำเนินโครงการรถไฟไฟฟ้า 4 เส้นทาง เป็นไปตามแผนวิสาหกิจของการรถไฟฯ ระหว่างปี 2560- 2564 ซึ่งจากผลการศึกษาระบุว่าโครงการรถไฟไฟฟ้าทั้ง 4 เส้นทาง มีความเหมาะสมในการดำเนินงาน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 100,907.57 ล้านบาท โดยมีแผนที่จะเดินรถด้วยระบบไฟฟ้ารวม 885 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 1. เส้นทาง กทม.-นครสวรรค์ เส้นทาง เริ่มจาก ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี-ปากน้ำโพ ระยะทางรวม 243 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 57 แห่ง

2. เส้นทางกทม.-นครราชสีมา ช่วงชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย-ชุมทางจิระ ระยะทาง 176 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 31 แห่ง 3. เส้นทางกทม.-หัวหิน ช่วง ชุมทางบางซื่อ-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 148 ก.ม. มีสถานีหยุดรถ 46 แห่ง แห่ง และ 4. เส้นทาง กทม.-พัทยา ช่วงชุมทางบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา ระยะทาง 159 ก.ม. สถานีหยุดรถ 37แห่ง