การเกงผ้าโพลีเอสเตอร์ ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์น้อยลง

Master of Ceremonies Marc Abrahams holds up a 2016 Ig Nobel Prize while presiding over the 26th First Annual Ig Nobel Prize ceremony at Harvard University in Cambridge, Massachusetts, U.S. September 22, 2016. REUTERS/Brian Snyder

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการเกงผ้าโพลีเอสเตอร์ส่งผลต่อเพศสัมพันธ์ของหนูอย่างไร มนุษย์จะเป็นยังไงหากใช้ชีวิตแบบตัวแบดเจอร์ และมุมมองของโลกที่แตกต่างไปเมื่อมองผ่านหว่างขาได้รับรางวัลอิกโนเบล ในพิธีที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา โดยรางวัลอิกโนเบลที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสนุกสนานบันเทิงและกระตุ้นให้เกิดการคิดค้นวิจัยและสร้างนวัตกรรมใหม่ทั่วโลก มอบให้ผลงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่แปลกประหลาดแต่ใช้ได้จริงและเป็นการล้อเลียนรางวัลโนเบล จัดขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 26 แล้วโดยวารสารจดหมายเหตุแห่งการวิจัยที่ไม่น่าเป็นไปได้

อาเหม็ด ชาฟิก ชาวอียิปต์ซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่เมื่อปี 2550 ได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาการเจริญพันธุ์จากผลวิจัยเมื่อปี 2536 ที่พบว่าหนูที่ใส่กางเกงผ้าโพลีเอสเตอร์หรือกางเกงผ้าฝ้ายผสมโพลีเอสเตอร์ จะมีความต้องการทางเพศน้อยกว่าหนูที่ใส่กางเกงผ้าฝ้ายหรือผ้าขนสัตว์ หรือหนูที่ไม่ได้ใส่กางเกงเลย โดยผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ว่า “สนามไฟฟ้าสถิต” ที่เกิดจากกางเกงโพลีเอสเตอร์มีส่วนในการทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ขณะที่รางวัลสาขาชีววิทยาเป็นการครองร่วมกันของ 2 นักวิจัยชาวอังกฤษ คือชาร์ลส์ ฟอสเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่ได้รับรางวัลจากการเขียนหนังสือเรื่อง “บีอิ้ง อะ บีสต์” ที่เขาบันทึกประสบการณ์ในการทดลองใช้ชีวิตเหมือนตัวแบดเจอร์ ด้วยการขุดดินทำเป็นที่นอนและกินหนอนเป็นอาหาร และโธมัส ทเวตส์ ที่สวมใส่ขาเทียม 4 ข้างเพื่อทดลองใช้ชีวิตแบบแพะในสวิตเซอร์แลนด์

ส่วนอัตสึกิ ฮิงาชิยามา และโคเฮ อาดาจิชาวญี่ปุ่นได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาการรับรู้จากผลวิจัยที่ระบุว่า วัตถุจะดูแตกต่างไปอย่างไรหากก้มมองผ่านหว่างขา

นอกจากนี้ คณะกรรมการมอบรางวัลยังแดกดันโฟล์กสวาเกน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ด้วยการมอบรางวัลสาขาเคมีให้ สำหรับการปรับแต่งรถให้ปล่อยมลพิษได้น้อยลงในขณะที่เข้ารับการทดสอบ

ที่มา มติชนออนไลน