“อาหารคลีน” เทรนด์ยอดฮิต รับไลฟ์สไตล์ “คนจีน” ยุคใหม่

In this photograph taken on October 11, 2017 staff members of Ultraviolet restaurant work inside the kitchen as they prepare for their guests in Shanghai. A van spirits Ultraviolet restaurant's ten nightly diners to its secret Shanghai location where they enter a minimalist dining room to Wagner's theme from "2001: A Space Odyssey". French chef Paul Pairet immerses guests in a 360-degree parade of sights, sounds and smells tailored to evoke a matching sense of "place" for each dish in one of the most unique -- and expensive -- dining experiences on the planet. / AFP PHOTO / CHANDAN KHANNA / TO GO WITH STORY Gastronomy-food-drink-China-lifestyle, FEATURE by Matthew KNIGHT

หากใครเคยได้ไปเที่ยวประเทศจีน จะพบว่า อาหารจีนนั้น เต็มไปด้วยน้ำมัน และมีรสชาติเค็มหรือหวานเกินไปในบางพื้นที่ เป็นอาหารประเภทที่ตรงกันข้ามกับนิยามคำว่า “เฮลตี้” หรืออาหารที่ดีต่อสุขภาพโดยสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ต้องยอมรับว่าจีนเปลี่ยนไปมาก ไม่ใช่แค่ในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงด้านไลฟ์สไตล์ด้วย นอกจากคนรุ่นใหม่ที่พยายามปรับตัวเข้ากับมารยาทสากลโลก อีกอย่างที่เห็นได้ชัดคือ “เทรนด์เพื่อสุขภาพ” เพราะคนจีนหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น

นิตยสารฟอร์บส รายงานโดยอ้างบีซีจีเซอร์เวย์ ว่า ในปี 2014 จีนได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีจิตสำนึกด้านการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากที่สุดในโลก

รายงานจาก สำนักวิจัย HKTDC ของจีนระบุว่า ผู้บริโภคจีนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในหัวเมือง เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว มองว่าอาหารเพื่อสุขภาพไม่ใช่อาหารหรูหราราคาแพงอีกต่อไป แต่เป็นอาหารทั่วไปที่หาซื้อหากินได้ง่าย

มีการคาดการณ์ว่า ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพจะเติบโต 10-15% ต่อปี จากในปี 2016 ที่มีมูลค่า 260,000 ล้านหยวน เป็น 400,000 ล้านหยวนในปี 2021 ถือว่าเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว และเป็นการเติบโตตามไลฟ์สไตล์กลุ่มคนชั้นกลางและคนรายได้สูงที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ในปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้หลายปีที่ผ่านมานี้ มีแบรนด์เครื่องดื่มดีท็อกซ์ น้ำผลไม้เพื่อการขับถ่าย หรือแบรนด์อาหารคลีนเพื่อสุขภาพ ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด โดยเฉพาะน้ำมะพร้าว ซึ่งเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของคนจีน มีอัตราการบริโภคเติบโตขึ้น 30% จากปีที่แล้วเนื่องจากชาวจีนมองว่าเป็นเครื่องดื่มอุดมด้วยประโยชน์

นอกจากนี้ ชาวจีนยังหันมานิยมดื่มเครื่องดื่มที่ปรุงจากพืช เช่น นมถั่วเหลืองน้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มธัญพืชกันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

“เทียน เทียน หม่ายีมิน” ซีอีโอแห่ง “วี-คลีนส์” ร้านขายอาหารและเครื่องดื่มเพื่อไลฟ์สไตล์สุขภาพแห่งแรกในจีน ระบุว่า กระแสอาหารเพื่อสุขภาพนั้นฮิตมากโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่วงแหวนชั้น 1-3 ของหัวเมืองใหญ่ ๆ กลุ่มลูกค้าหลักคือคนที่เกิดในยุค 80s เป็นต้นมา

“เทรนด์เพื่อสุขภาพในจีนตอนนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของอเมริกา แต่ก็เกี่ยวเนื่องกับการปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนตอนนี้ด้วยในอีกทางหนึ่ง สมัยเด็ก ๆ ย่าฉันเลี้ยงฉันด้วยน้ำตาล เพราะเธอมองว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ คนในรุ่น ๆ ของฉันก็น่าจะได้รับประสบการณ์คล้าย ๆ กัน แต่ปัจจุบันนี้เทรนด์คำว่าสุขภาพมันเปลี่ยนไป คนจีนประเมินพฤติกรรมการรับประทานมากขึ้น พวกเขากินเพื่อจุดประสงค์มากขึ้น” หม่ายีมินบอก

วี-คลีนส์ เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2013 และเติบโตทางกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยมีลูกค้าประจำจำนวนมาก พวกเขาขายน้ำชงสมุนไพรร้อน หรือซุปร้อนเพื่อสุขภาพที่ออกแบบสำหรับชาวจีน ผลิตภัณฑ์ของวี-คลีนส์ได้รับความนิยมมากในประเทศที่ชาถือเป็นเครื่องดื่มประจำชาติ เนื่องจากนิสัยบริโภคของชาวจีนก็ยังชื่นชอบเครื่องดื่มร้อน ๆ

หนึ่งเซตของเครื่องดื่มคลีนวี-คลีนส์ ราคาประมาณ 1,000 หยวน ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 20-40 ปี ซึ่งเป็นแม่บ้าน หรือทำงานเต็มเวลาอีกเทรนด์หนึ่งที่เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นผู้รักสุขภาพ คือ การดื่มเครื่องดื่มเพื่อการดีท็อกซ์ โดยมี “โทท็อกซ์” เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มดีท็อกซ์รายใหญ่สำหรับคนรุ่นใหม่อายุช่วง 20 กว่า กระแสแบรนด์โทท็อกซ์เป็นที่นิยมจากการที่หนึ่งในผู้ลงทุนในแบรนด์นี้ คือดาราดังอย่าง “แองเจล่าเบบี้” และการขายและการทำการตลาดในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเข้าถึงวัยรุ่นได้ง่าย เครื่องดื่มดีท็อกซ์นั้นมีราคาอยู่ที่ราว 158 หยวนต่อเครื่องดื่มชุด 7 วัน และ 398 หยวน สำหรับ 28 วัน

ขณะเดียวกัน อาหารคลีนก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน หลายร้านอาหารเปิดขายอาหารเพื่อสุขภาพเต็มรูปแบบ เช่น “แฟกตอรี่ เฟรช” ในปักกิ่ง ที่มีบริการส่งดีลิเวอรี่ถึงประตูหน้าบ้าน ทั้งแต่เช้ายันดึก โดยขายเป็นคอร์สเช่น 20 วัน หรือ 1 เดือน หรือร้านอาหาร “ฮันเตอร์ เกเตอเรอร์” ในเซี่ยงไฮ้ ที่ปรุงอาหารแบบไร้สารเคมี ใช้วัตถุดิบจากฟาร์มส่วนตัว และซัพพลายเออร์ที่คัดสรรอย่างดีเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เพราะกระแสธุรกิจเพื่อสุขภาพในจีนจะมีแนวโน้มเติบโตโดยไม่ชะลอตัว ทำให้มีผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่โหนกระแสโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ หม่ายีมิน เจ้าของวี-คลีนส์ ระบุว่า ถ้าอยากจะอยู่ในธุรกิจนี้ไปนาน ๆ คุณภาพเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในจีนมีเรื่องอื้อฉาวมากมายเกี่ยวกับคุณภาพอาหาร ขณะที่ผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีคุณภาพดีชนิดรอบด้าน ดังนั้นตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพก็มีความท้าทายในรูปแบบของมันเอง ในจีนอาจจะมีการแข่งขันสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาด้วยซ้ำ