ปี 2561…ปีแห่งการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อย

โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 ถือเป็นโครงการที่ถูกจับตามองมากว่า จะช่วยลดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตได้จริงหรือไม่? หลังจากการคัดกรองคุณสมบัติผู้มีรายได้น้อยจาก 26 หน่วยงาน พบว่ามีผู้ผ่านคุณสมบัติจำนวน 11.4 ล้านคน ซึ่งทุกคนจะได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าจำเป็น ใช้แบ่งเบาภาระค่าเดินทางให้คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงคนต่างจังหวัด ขณะนี้มีผู้รับบัตรไปใช้แล้วกว่า 90% ของผู้ที่ผ่านคุณสมบัติทั้งหมด ถ้าดูจากยอดการใช้บัตรในแต่ละวันต้องยอมรับว่าคึกคักมาก ผมจึงเชื่อว่าบัตรจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้มากทีเดียว
แล้วในระยะต่อไปจะมีอะไรออกมาให้เห็น? เพื่อให้เห็นภาพโครงสร้างของผู้มีรายได้น้อย ผมขออนุญาตแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆ ว่า รัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างไร
กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มคนสูงอายุและพิการ มีจำนวน 4 ล้านคน แบ่งเป็นผู้สูงอายุ 3.6 ล้านคน ผู้พิการ 3.7 แสนคน และผู้สูงอายุที่พิการอีก 1.8 แสนคน กลุ่มนี้มีบางส่วนที่ยังไม่เคยอยู่ในระบบการรับเบี้ยผู้สูงอายุและเบี้ยผู้พิการ ดังนั้นหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผู้ที่ยังไม่ได้เข้าระบบการรับเบี้ยเข้าสู่ระบบ ก็จะช่วยให้คนจำนวนมากได้สวัสดิการที่พึงได้ทุกๆ เดือน
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีรายได้ทั้งปีต่ำกว่า 30,000 บาท ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าเส้นความยากจน กลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด คือ 5.1 ล้านคน แบ่งเป็น อาชีพเกษตรกร 1.8 ล้านคน อิสระค้าขาย 1.1 ล้านคน ลูกจ้าง 1.9 แสนคน พนักงานภาครัฐ 1.3 หมื่นคน นักเรียน 3.9 แสนคน และว่างงานอีก 1.5 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ภาครัฐจะต้องเข้าไปช่วยให้เขามีงานทำ ฝึกอบรม พัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจนยืนอยู่เหนือเส้นความยากจน ที่น่าสนใจคือในจำนวนคนที่ว่างงาน 1.5 ล้านคน มีคนที่ไม่มีรายได้เลย 1 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนี้สามารถไปทดแทนแรงงานต่างด้าวได้จำนวนหนึ่ง ดังนั้นหากรัฐบาลส่งคนกลุ่มนี้เข้าทำงานได้ จะช่วยให้เขามีรายได้พ้นเส้นความยากจนทันที
กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่มีรายได้ทั้งปีเกินกว่า 30,001 บาท จนถึง 100,000 บาท ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าเส้นความยากจน กลุ่มนี้มีจำนวน 2.5 ล้านคน เป็นเกษตรกร 1 ล้านคน อิสระค้าขาย 9.3 แสนคน ลูกจ้าง 3.2 แสนคน พนักงานของรัฐ 4.8 หมื่นคน นักเรียน 4.5 หมื่นคน และว่างงาน 1.6 แสนคน กลุ่มนี้ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนมากเท่ากับ 2 กลุ่มแรก แต่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือสร้างความเป็น smart farmer/smart labor เข้าไป หรือทำให้เขาเข้าถึงแหล่งทุนในการเป็นเจ้าของกิจการได้ ดังนั้นหากช่วยคนกลุ่มนี้ได้ก็รับประกันได้ระดับหนึ่งว่า เขาจะไม่กลับไปอยู่ใต้เส้นความยากจนอีก หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีความเสี่ยงที่จะจนน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าการจะยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้ผู้มีรายได้น้อย คงต้องบูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน (งานนี้จะสำเร็จหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฮีโร่ แต่ขึ้นอยู่กับทีมเวิร์ก) และต้องทำพร้อมกันหลายๆ ด้าน ได้แก่ การนำคนตกหล่นเข้าระบบ การบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ การจ้างงาน การฝึกอบรมเพิ่มทักษะ ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น เงินออม การเข้าถึงปัจจัย 4 ความสามารถในการกู้ยืมจะเพิ่มขึ้น ระดับหนี้นอกระบบจะค่อยๆ ลดลง ท้ายที่สุด คุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยจะสูงขึ้น
ดังนั้น ในปี 2561 การยกระดับผู้มีรายได้น้อยให้พ้นเส้นความยากจนจะเป็นวาระ