ที่มา | ข่าวสดออนไลน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
รายงานข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพากรทำประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing) เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี ด้วยการถ่ายโอนกำไรในระหว่างกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน โดยการกำหนดราคาโอนภายในกลุ่มซึ่งไม่อยู่ภายใต้กลไกของตลาด ทำให้ประเทศได้รับความเสียหาย คาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายใน 1-2 เดือนนี้
“ปัจจุบันมีกลุ่มบริษัททำ Transfer Pricing เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนส่งผลกระทบอย่างมากกับการเก็บภาษีและฐานะการคลังของรัฐ จึงต้องมีการแก้กฎหมายสรรพากรเพื่อป้องกันเรื่องนี้”
สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. Transfer Pricing ประกอบด้วย หากเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่า มีกลุ่มบริษัททำการ Transfer Pricing เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้และรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของกลุ่มบริษัทดังกล่าวใหม่
2. ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมไม่น้อยกว่า 50% ของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมไม่น้อยกว่า 50% ของทุนทั้งหมด และ 3. นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุมในลักษณะที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการโดยอิสระจากอีกนิติบุคคหนึ่งตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
รายงานข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษี โดนการอุดช่องรั่วไหลเพื่อให้การเก็บภาษีมากขึ้น โดยที่จะได้ไม่ต้องเพิ่มอัตราภาษี โดยเฉพาะการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ซึ่งนอกจากการแก้กฎหมายป้องกันการ Transfer Pricing แล้ว ในเดือนนี้กรมสรรพากรจะเสนอให้ ครม. เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. จัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) เพื่อเก็บภาษีจาก กูเกิ้ล เฟซบุ๊ก ยูทูบ ไลน์ อูเบอร์ เป็นต้น ซึ่งเข้ามำทำธุรกิจหารายได้ในประเทศไทยแต่ไม่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งหลังแก้กฎหมายแล้วคาดว่าจะทำให้กรมสรรพากรเก็บภาษีจากส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก