การตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้สูงอายุ

การตรวจสุขภาพประจำปีนั้นเปรียบเสมือนการตรวจสอบว่าปัจจุบันสุขภาพของเรายังดีอยู่หรือไม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคใด้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ป้องกันหรือรักษาได้อย่างถูกต้อง

ทนพ.ญ. กัญจนา  สาเอี่ยม ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ หรือ N Health เผยว่า การตรวจสุขภาพเป็นประจำ มีความจำเป็นเพราะเป็นการตรวจค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ช่วยปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพที่มีประโยชน์จะต้องเป็นการตรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน และควรเลือกการตรวจเฉพาะที่มีประโยชน์ เหมาะกับเพศและวัย ในปัจจุบันสถานพยาบาลหลายแห่งจะมีชุดการตรวจสุขภาพหลายแบบ และใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่นำเข้าจากต่างประเทศ ถ้าตรวจหลายอย่างค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้น แท้จริงแล้วการตรวจสุขภาพขึ้นอยู่กับอายุ และเพศ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงมีคำถามว่า “ควรตรวจอะไรบ้างในการตรวจสุขภาพประจำปี” เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เสนอแนวทางการตรวจสุขภาพสำหรับผู้ใหญ่ไทย ซึ่งระบุว่าการตรวจสุขภาพจะต้องครอบคลุม 3 ประเด็น คือ การสัมภาษณ์ประวัติและการตรวจร่างกาย โดยผู้ตรวจจะต้องให้ข้อมูลประวัติทั่วไป ลักษณะการทำงาน โรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค ประวัติการใช้ยาและสารเสพติด พร้อมทั้งตรวจร่างกาย ด้วยการ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดสะโพก ตรวจชีพจร ความดันโลหิต  และการคลำเต้านมเพื่อค้นหาก้อนเนื้อที่อาจเป็นมะเร็งเต้านม สำหรับผู้ที่ที่อายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจทวารหนัก ทุก 3-5 ปี และควรตรวจสายตา สำหรับเพศหญิง ควรตรวจเต้านม ปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอื่นๆ ที่อาจเกิดเนื่องมาจากภาวะเสื่อมของร่างกาย ได้แก่ การตรวจการได้ยินหรือการตรวจหู การตรวจตาเพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อโดยเฉพาะต้อหินและต้อกระจกที่พบมากในผู้สูงอายุ และ การตรวจเหงือกและฟัน

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี จะมีการตรวจเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว การตรวจปัสสาวะ การตรวจอุจจาระ การตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง การตรวจระดับไขมันในเลือด การเอ็กซเรย์ปอด และ อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่อายุ อายุ 40 ปีขึ้นไป จะตรวจเหมือนกับผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี และมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่ม ดังนั้น การตรวจน้ำตาลในเลือด เป็นการประเมินว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงเกินหรือไม่ซึ่งแสดงถึงภาวการณ์เป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน การตรวจความหนาแน่นของกระดูก ควรตรวจในหญิงที่หมดประจำเดือนแล้วเพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mammogram การตรวจมะเร็งลำไส้โดยตรวจเลือดในอุจจาระ การตรวจความบกพร่องของต่อมธัยรอยด์ การตรวจคลื่นหัวใจ เพื่อดูการทำงานของหัวใจและภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การตรวจระดับครีอะตินีนในซีรัม เพื่อดูภาวะไตวายเรื้อรัง สำหรับการตรวจที่ไม่แนะนำให้ทำคือ การตรวจอัลตราซาวนด์ท้อง และการตรวจหาเซลมะเร็ง ซึ่งการตรวจเหล่านี้จะทำก็ต่อเมื่อการตรวจสุขภาพในเบื้องต้นพบว่ามีภาวะเสี่ยง ซึ่งแพทย์จะสั่งให้ตรวจเพิ่มภายหลังจากที่ทราบผลการตรวจสุขภาพตามรายการข้างต้นก่อน

การให้คำปรึกษาแนะนำ โดยทั่วไปในการให้คำปรึกษาแนะนำสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีนั้นจะเป็นการให้คำแนะนำตามปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบจากการสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้วพบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ซึ่งการให้คำแนะนำจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ประกอบด้วยคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประ ทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การงดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา ตลอดจนวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (สำหรับผู้หญิง)

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุรวมถึงผู้ที่อยู่ในวัยใกล้เข้าสู่วัยสูงอายุ  ควรหมั่นพบแพทย์อยู่เสมอ และควรตรวจสุขภาพประจำปี และควรดูแลสุขภาพในแบบเบื้องต้น เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาวโดยห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น

สำหรับ N Health จัดโปรแกรมตรวจสุขภาพ รุ่นใหญ่ อุ่นใจ สบายกระเป๋า สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ในโปรแกรมรายการตรวจพื้นฐาน 12 รายการ  ตรวจหาสารบ่งชี้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ สำหรับโปรแกรมโรคกระดูก โดยจะตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจระดับไขมัน ตรวจการทำงานของตับ ไต ตรวจปัสสาวะ และตรวจความเสี่ยงมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้และมะเร็งต่อมลูกหมาก พร้อมรับคำปรึกษาจากนักเทคนิคการแพทย์ เริ่มตั้งแต่วันนี้ถึง 30 มิถุนายนนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 02-762-4000 หรือ Email : [email protected]