อาหารไทย มี “พิมพ์นิยม” การหั่น การซอย การจัด แต่ละจาน จึงต่างกัน

อาหารไทย มี “พิมพ์นิยม” การหั่น การซอย การจัด แต่ละจาน จึงต่างกัน

การหั่น เป็นอีกเรื่องที่พ่อครัวไทยต้องมีความชำนาญ เพราะในองค์ประกอบอาหารไทยแต่ละจาน มีพิมพ์นิยมในการหั่นไม่เหมือนกัน เช่น หั่นแตงกวาบางๆ แบบข้าวผัดไปกินกับน้ำพริกย่อมไม่เข้ากัน ไม่น่ากิน

การซอย หั่นผัก ต้องให้เข้ากับชนิดอาหาร เช่น ขนมจีนซาวน้ำ ซอยขิงเส้นเล็กยาว กระเทียมซอยบางตามยาวกลีบ

ผักน้ำพริก แตงกวาหั่นสามเหลี่ยม หรือแว่นหนา

แตงกวาข้าวผัด หั่นแฉลบชิ้นบาง

หั่นเนื้อหมู เนื้อไก่ทำแกงต่างๆ ทั้งพะแนง ผัดพริกขิง แกงเผ็ด ฯลฯ ให้หั่นแฉลบเป็นชิ้นเล็กบาง ต้องแบมีดประมาณ 45 องศา กดชิ้นเนื้อให้แบนเอียง แล้วหั่นแฉลบ

หั่นแฉลบพริกแดงเป็นแถบสามเหลี่ยมเล็กยาว หมุนพริกแดงในการหั่นแต่ละที ส่วนการหั่นพริกแดงเป็นเส้นเล็ก หั่นเป็นแว่นเฉียงมักนิยมใส่ในอาหารจีน แต่บ้านไทยๆ หลายบ้านก็นิยมหั่นเป็นแว่นอย่างนี้ไว้ใส่แกง

สำหรับการ “จัดจาน” นั้น ก็เป็นเทคนิคของครัวไทย ไม่แพ้กัน ซึ่งมีดังนี้

การจัดจานไม่ควรจัดให้ล้นจาน ให้อยู่ภายในขอบจาน และไม่ควรจัดว่าง หรือหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง

การเสิร์ฟข้าวปริมาณ 1 คนกิน ประมาณ 1 ถ้วย ตวงไม่เต็ม

ขนาดของจาน 4-6 นิ้ว เป็นจานแบ่ง ขนาด 9-10 นิ้วเป็นจานข้าวหรืออาหารจานเดียว และขนาด 10 นิ้วขึ้นไปจัดเป็นจานเปล หรือจานอาหารกลาง